มท.1 ติดตามภัยแล้ง-เรียกประชุมออกมาตรการเร่งด่วนรับมือแล้งหนัก

พฤหัส ๑๐ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๗:๕๐
มท. 1 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2554 เพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่แล้งหนัก พร้อมกำชับจังหวัดน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จฃพระเจ้าอยู่หัวด้านดิน น้ำ และป่ามาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมถึงยึดความรวดเร็ว โปร่งใส และสนองตอบความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลักในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนสร้างเครือข่ายในระดับพื้นที่และ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มั่นใจได้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ภัยแล้งมิให้ขยายวงกว้าง และประชาชนในทุกพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทั่วถึงแน่นอน

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2554 กล่าวว่า จากการติดตามคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้ง พบว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญต่างๆ มีปริมาณต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มลดน้อยลง อาจส่งผลให้หลายจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 40 จังหวัด ครอบคลุม 291 อำเภอ 1,966 ตำบล ราษฎรเดือดร้อนกว่า 1.04 ล้านครัวเรือน 3.52 ล้านคน ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง กระทรวงมหาดไทยจึงได้สั่งการให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และในวันนี้ได้เรียกประชุมคณะกรรมการฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานติดตามวางแผนบูรณาการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนให้จังหวัดดำเนินการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคม — เมษายน ดังนี้ ใช้ระบบภูมิสารสนเทศประกอบการวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งและพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคให้ประเมินและจัดหาแหล่งน้ำสำรองสำหรับ ผลิตน้ำประปาพร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำ ด้านการจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรให้ยึดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2553 — 2554 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลัก ด้านการสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้นโดยขอความร่วมมือจ้างแรงงานเพื่อสร้างรายได้และป้องกันปัญหาการอพยพเข้ามาหางานในเมือง ด้านการดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัยให้เฝ้าระวัง โรคระบาดช่วงฤดูร้อน ส่วนด้านการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้กำหนดแผนป้องกันและปราบปราม การลักขโมยในช่วงฤดูแล้ง รวมถึงกำหนดให้มีสายด่วนภัยแล้งในระดับจังหวัดและอำเภอเพื่อเป็นศูนย์กลางในการแจ้งเหตุและติดต่อความช่วยเหลือ ตลอดจนให้เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน อัคคีภัย และไฟป่า

มท.1 กล่าวต่อว่า สำหรับด้านการบริหารจัดการน้ำขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและ แหล่งน้ำดิบที่จะนำมาผลิตน้ำประปาเป็นลำดับแรก โดยวางแผนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาแหล่งน้ำสำรอง จัดทำแผน แจกจ่ายน้ำ และกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำที่สะดวกกับประชาชน เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ในส่วนของการจัดการน้ำ เพื่อการเกษตรให้ชี้แจงทำความเข้าใจให้เพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งตามแผนและไม่ทำนาปรังเกินพื้นที่เป้าหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด และสำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้จังหวัดบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยยึดความรวดเร็วโปร่งใส และสนองตอบความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ขอให้จังหวัดเร่งสร้างเครือข่ายในระดับพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“ ทั้งนี้..ผมได้เน้นย้ำให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ดิน และป่ามาวิเคราะห์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและคิดค้นวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำในลักษณะที่เกินคาดการณ์ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยของประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน สำหรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้ก็ได้สั่งกำชับให้จังหวัดวางแผนจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ตามลำดับความสำคัญ รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ กำลังคนให้พร้อมปฏิบัติงานทันที โดยให้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างครอบคลุมในทุกด้าน จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ภัยแล้งมิให้ขยายวงกว้าง ประชาชนในทุกพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งจะได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทั่วถึง และหากประชาชนประสบความเดือดร้อนจากภัยแล้ง สามารถประสานขอความช่วยเหลือได้ทาง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง” นายชวรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา