กฟก. ปฏิรูปองค์กรเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

พฤหัส ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๒ ๑๖:๒๘
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.)ได้มีการประชุมวางกรอบนโยบายกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อเป็นการวางเเนวทางการปฎิบัติงานในปี 2556 โดยคณะกรรมการบริหารได้ให้ความเห็นชอบแนวนโยบายดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 10/2555 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำเเหน่งเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) กล่าวว่าคณะกรรมการบริหารฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อจัดทำนโยบายกรรมการบริหาร นโยบายการเสริมสร้างประสิทธิภาพบุคลากรของกองทุนฟื้นฟูฯปรับปรุงร่างยุทธศาตร์ 4 ปี ซึ่งประกอบไปด้วยนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และผลการดำเนินงานไปยังบุคลกากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำไปปฏิบัติผ่านช่องทางการสื่อสารหลายรูปแบบ อาทิ การประชุมคณะผู้บริหาร/การประชุมคณะทำงาน สัมมนากลุ่มย่อย การประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการความรู้ที่มีความเหมาะสมตามสถานการณ์อีกทั้งคณะผู้บริหารได้เน้นความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ติดตามกำกับดูแลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติงานตามกฎหมายภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรมเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และมีการตรวจสอบการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายของคณะกรรมการบริหาร มีการประชุมกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยภายในอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ด้วยการประชุมวางแผนกลยุทธ์ประจำปีโดยนำปัจจัยภายในและภายนอกตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาทำการวิเคราะห์ SWOT ในแต่ละองค์กร ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ ท้ายที่สุดคณะกรรมการบริหารมีการประเมินผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ กฟก. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขับเคลื่อนและหนุนเสริมองค์กรให้สร้างผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

นายสมยศ กล่าวต่อว่า กรอบนโยบายกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่ง กฟก.ได้นำหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางบริหารจัดการที่จะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในและภายนอก กฟก. สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบประเมินผลการทำงาน โดยคณะกรรมการบริหาร และบุคคลภายนอกมีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะติดตามตรวจสอบ โดยมีสาระสำคัญ 6 ด้าน ประกอบด้วย

1. ด้านการปฏิรูปองค์กร จะปรับปรุง แก้ไข กฏหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้อง เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการให้บริการแก่เกษตรกรสมาชิกอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์พ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ควรปรับปรุง แก้ไข ได้เเก่ เรื่องเกี่ยวกับสำนักงาน เช่น การปรับปรุง แก้ไข ระเบียบกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ให้เกิดความเป็นธรรม โดยมีองค์ประกอบจากผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ โดยให้ใช้การประเมินจากแผนปฏิบัติงาน เป็นต้น

เรื่องเกี่ยวกับองค์กรเกษตรกร เช่น สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อประเมินศักยภาพขององค์กร อย่างรอบด้าน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาของกองทุน ต่อการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้บริการเกษตรกรสมาชิก เป็นต้น

2. ด้านการฟื้นฟูเกษตรกร เช่น การกำหนดแนวทางเพื่อสร้างจิตสำนึกในการให้บริการเกษตรกร และสร้างวัฒนธรรมองค์กร อันเป็นคุณค่าร่วมกัน ในทุกระดับองค์กร และพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคลากร จะต้องยึดหลัก ความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม โดยเฉพาะการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง การยกระดับ การโยกย้าย การประเมินและการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน ซึ่งแนวทางในการดำเนินงาน ดังกล่าวคณะทำงานจะต้องดำเนินการโดย ทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินเดิม และกำหนดกรอบการประเมินให้ชัดเจน เป็นต้น

3. ด้านการจัดการหนี้ด้านกระบวนการองค์กรเกษตรกร เช่น เสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางในการดำเนินงาน จะต้องทำควบคู่กับนโยบายด้านการปฏิรูปองค์กร และจะต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ เป็นต้น

4. ด้านบริหารจัดการบุคลากร เช่น ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้องค์กรและเกษตรกร เป็นศูนย์กลางในการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักตามความในมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.๒๕๔๒ การสร้างความเชื่อมั่นแก่สถาบันเจ้าหนี้ต่อการให้บริการสินเชื่อองค์กรเกษตรกร โดยให้รัฐบาลและกองทุนฟื้นฟูฯ ค้ำประกัน ชดเชยดอกเบี้ยส่วนต่าง ตามมาตรา 15 ( 1 ) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมทั้งสนับสนุนงบอุดหนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรอย่างเต็มที่ เป็นต้น

5. ด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ด้านการเสริมสร้างและสนับสนุน ให้เกิดภาคีความร่วมมือ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กร ให้เป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ

และด้านสุดท้าย คือ การเตรียมความพร้อมสู่อนาคต เช่น การสนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ เพื่อขยายผลให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกร เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานเป็นเครื่องมือในการต่อรอง ในเวทีประชาคมอาเซียนและเวทีโลก โดยการศึกษางานวิจัยจากหน่วยงานอื่น ๆ และนำมาพัฒนาใช้ในงานของ กฟก. และการสนับสนุนให้มีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย เพื่อสร้างหลักประกัน สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร รวมถึงการสนับสนุนให้มีการศึกษา แนวทางประกันความเสี่ยงผลผลิตเกษตรกร ฐานทรัพยากร ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน นายสมยศกล่าว.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4