Nippon Avionics เปิดตัวเครื่องเชื่อมแบบอินเวอร์เตอร์แรงสูงรุ่น NRW-IN16K4

พฤหัส ๒๖ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๔:๒๗
- สามารถเชื่อมตัวนำไฟฟ้าแรงสูง (ทองแดง อลูมิเนียม เป็นต้น) และชิ้นส่วนเชื่อมต่อขนาดใหญ่อีกมากมาย -

เมื่อวันที่ 26 กันยายน บริษัท นิปปอน อาวิโอนิคส์ จำกัด (Nippon Avionics) (หรือ "Avio") ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ NEC Corporation ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องเชื่อมแบบอินเวอร์เตอร์แรงสูงตัวล่าสุดรุ่น NRW-IN16K4(*1) เครื่องเชื่อมกำลังสูงตัวนี้สามารถเชื่อมทองแดง (Cu) และอลูมิเนียม (Al) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล้วนเป็นวัสดุสำคัญที่อุตสาหกรรมนิยมใช้ในการผลิตมอเตอร์กำลังสูง สำหรับการติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าในรถยนต์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ที่อาศัยพลังงานชนิดอื่นๆ

(รูปภาพ: http://prw.kyodonews.jp/prwfile/release/M100997/201309254868/_prw_OI1fl_vb5R6538.jpg )

จุดเด่นของเครื่องเชื่อมรุ่นใหม่ล่าสุด

- สามารถเชื่อมหลอมละลาย (การเชื่อมขดลวดกับขั้วปลาย) มอเตอร์ขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟเชื่อมแรงสูงและระยะเวลาเชื่อมนาน

- สามารถเชื่อมตัวนำไฟฟ้าแรงสูงอย่างทองแดง และอลูมิเนียม ซึ่งเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์ตัวใหม่นี้สามารถควบคุมกระแสไฟเชื่อมแรงสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ประกอบไปด้วยฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น จอสีแสดงกราฟการเชื่อมในรูปแบบคลื่นแบบกราฟฟิก และหน่วยความจำคลื่น โดยเป็นเครื่องเชื่อมตัวแรกในอุตสาหกรรมที่สามารถจ่ายกระแสไฟเชื่อมได้อย่างคงที่(*2) ซึ่งจอแสดงผลจะช่วยอำนวยความสะดวกในการตั้งค่าและควบคุมคุณภาพของการเชื่อม

สมรรถนะในการเชื่อม

1) สามารถเชื่อมโดยใช้กระแสไฟเชื่อมได้สูงสุดถึง 16,000 แอมแปร์ ซึ่งถือเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของระดับกระแสไฟเชื่อมสูงสุดของเครื่องเชื่อมรุ่นก่อนๆของ Avio

2) สามารถจ่ายกระแสไฟเชื่อมคงที่ได้นานที่สุดในอุตสาหกรรมที่ 3 วินาที ในระดับ (2) (3)

ฟังก์ชั่นการใช้งานอีกหลายๆประการที่น่าสนใจ

1) สามารถปรับการตั้งค่าในการเชื่อมได้อย่างหลากหลายผ่านโหมดควบคุมต่างๆ

2) สามารถทำการเชื่อมต่อได้อย่างคงที่ ด้วยฟังก์ชั่นตั้งค่าก่อนการเชื่อม

3) สามารถเลือกโปรแกรมการเชื่อมได้มากขึ้น ผ่านหน่วยความจำที่รองรับเงื่อนไขการเชื่อมซึ่งเพิ่มได้สูงสุดถึง 255 แบบ

4) สามารถรับกระแสไฟมาตรฐานได้ 400V ซึ่งเป็นประโยชน์ในตลาดโลก

ฟังก์ชั่นการตั้งค่าและมอนิเตอร์

1) จุดแสดงกราฟการเชื่อมแบบกราฟฟิก ช่วยอำนวยความสะดวกในการตั้งเงื่อนไขการเชื่อม และยกระดับการควบคุมคุณภาพ

2) หน่วยความจำกราฟการเชื่อม ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าการเชื่อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3) ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นการควบคุมมากมาย ซึ่งส่งผลให้คุณภาพในการเชื่อมมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และได้ผลลัพธ์คงที่

(*1) จะผ่านการรับรองความปลอดภัยของ CE Mark ในเดือนพฤศจิกายนนี้

(*2) อ้างอิงจากงานวิจัยของบริษัทในเดือนกันยายน 2556

(*3) กระแสไฟเชื่อมสูงสุด 9,500 แอมแปร์ ด้วยระยะเวลาทั้งสิ้น 3 วินาที

ตัวอย่างการใช้งาน

- ใช้เชื่อมขดลวดมอเตอร์ขนาดใหญ่กับขั้วปลาย

- ใช้เชื่อมบัสบาร์ทองแดง (Cu)

ทั้งนี้ Avio จะเปิดตัวหัวเครื่องเชื่อมกำลังสูงตัวล่าสุดรุ่น NA-126 ด้วยเช่นกัน เพื่อทำงานควบคู่กับเครื่องเชื่อมรุ่น NRW-IN16K4

URL ที่เกี่ยวข้อง

http://www.avio.co.jp/english/

แหล่งข่าว: บริษัท นิปปอน อาวิโอนิคส์ จำกัด

ติดต่อ:

นายซาโตชิ ซากาบะ (Mr. Satoshi Sakaba)

ผู้จัดการฝ่ายขายแผนกผลิตภัณฑ์เครื่องเชื่อม

บริษัท Nippon Avionics จำกัด

โทร: +81-45-930-3596

อีเมล: [email protected]

AsiaNet 54407

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!