“มกอช. ผนึก 4 ธุรกิจ ท็อปส์ มาร์เก็ต, รังสิตฟาร์ม, ทิปโก้ และร้านอาหารบาล์โคนี่ เปิดตัว คิวอาร์โค้ด

อังคาร ๒๕ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๒๔
“มกอช. ผนึก 4 ธุรกิจ ท็อปส์ มาร์เก็ต, รังสิตฟาร์ม, ทิปโก้ และร้านอาหารบาล์โคนี่เปิดตัว คิวอาร์โค้ด โครงการเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่มุ่งหวังให้ผู้บริโภค ใช้ QR Code ตามสอบแหล่งผลิตสินค้าเกษตร”

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับ ภาคธุรกิจ เปิดตัว คิวอาร์โค้ด ประสานความร่วมมือเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่จากผู้ผลิต สู่ผู้บริโภคมุ่งเน้นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต ในการช่วยผลักดันการเลือกบริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร สามารถตามสอบแหล่งผลิตได้ด้วยมือถือ Smart Phone อ่านจาก คิวอาร์ โค๊ด (QR Code)

นายพิศาล พงศาพิชณ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า “สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่ เพื่อเป็นต้นแบบการบูรณาการระบบตามสอบสินค้า (Traceability) สำหรับการบริหารจัดการการผลิตของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่แหล่งปลูก การรับวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบรรจุ และการส่งสินค้า ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการตามสอบระหว่างผู้ประกอบการไปยังผู้บริโภคได้ โดยได้คัดเลือกกลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ นำร่อง จำนวน 2 ห่วงโซ่อาหาร คือ (1) ห่วงโซ่ร้านอาหาร และ (2) ห่วงโซ่กลุ่มห้างสรรพสินค้า โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วม จำนวน 4 ราย ได้แก่ (1) ร้านอาหารบาล์โคนี่ สเต็ก แอนส์ พาสต้า (Balcony Steak & Pasta) เมนูที่เข้าร่วมโครงการ คือ สเต็กเนื้อโพนยางคำ สลัดผัก และพ๊อคช๊อป (2) รังสิตฟาร์ม เมนูเข้าร่วมโครงการ คือ สลัดบาร์ผักออร์แกนิค (3) บริษัททิปโก้ ไบโอเท็ค จำกัด และ (4) ร้านท็อปส์ มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ตมาตรฐานระดับสากล มีสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กลุ่มผักสมุนไพรออร์แกนิค- ผักสลัดออร์แกนิคจากรังสิตฟาร์ม และทิปโก้สับปะรดพันธุ์หอมสุวรรณ”

“โครงการเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่” มีเป้าหมายในการดำเนินงานคือ เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบันทึกข้อมูลการตามสอบและเทคโนโลยีสารสนเทศการเชื่อมโยงข้อมูลตามมาตรฐานระบบตามสอบสินค้าเกษตรในภาคปฏิบัติสู่ เกษตรกร/กลุ่มสหกรณ์ จุดรวบรวม โรงคัดบรรจุ ผู้จัดส่งสินค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถตามสอบแหล่งผลิตสินค้าโดยใช้โทรศัพท์มือถือ Smart Phone เรียกดูข้อมูลจาก QR Code ที่ติดมากับสินค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อและเชื่อมั่นในความปลอดภัยได้มาตรฐานของสินค้าเกษตรไทย”

“การใช้เทคโนโลยี QR code ในระบบตามสอบสินค้าเกษตรของโครงการนี้ จะสามารถแสดงข้อมูลแหล่งวัตถุดิบปลอดภัย ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ในส่วนผักและผลไม้ ผู้บริโภคสามารถตามสอบแหล่งผลิตของสินค้า จาก QR Code เพื่อแสดงข้อมูล ชื่อฟาร์ม ชื่อเกษตรกร ที่อยู่แปลงปลูก พิกัด GPS มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้เลือกบริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร”

นางจิรนันท์ ผู้พัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสสายบริหารจัดซื้อและการตลาด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารร้านท็อปส์ มาร์เก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ท็อปส์ มาร์เก็ต ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตมาตรฐานระดับสากลที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าและมีจำนวน 60 สาขาทั่วประเทศ เราจึงพิถีพิถันในการคัดเลือกสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระบบการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Q-GAP) ให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ สำหรับการใช้เทคโนโลยี QR Code เพื่อแสดงข้อมูลตามสอบแหล่งผลิต และมาตรฐานการรับรองสินค้าเกษตร จะช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในสินค้า โดยในโครงการฯ นี้เราเริ่มที่สาขานำร่อง 2 สาขา คือ พระราม 9 และ ทองหล่อ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคู่ค้า คือ รังสิตฟาร์ม ผู้ผลิต สลัดบาร์ผักออร์แกนิค ต้นผักสมุนไพรออร์แกนิค ผักสดออร์แกนิค และ บริษัท ทิปโก้ ไบโอเท็ค จำกัด เจ้าของสินค้าทิปโก้สับปะรดพันธุ์หอมสุวรรณ ในการจัดทำระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลตามสอบสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการตามสอบจาก มกอช. เพื่อเป็นต้นแบบห่วงโซ่อุปทานที่ผู้บริโภคสามารถตามสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ตลอดห่วงโซ่ ท็อปส์ มาร์เก็ต มีความคาดหวังว่าเทคโนโลยี QR Code จะช่วยให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานสามารถตามสอบแหล่งผลิตสินค้าได้และจะผลักดันให้สินค้า organic ทั้งหมดเข้าโครงการนี้ภายในสิ้นปี เพื่อสามารถควบคุมแหล่งผลิต และทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงผักและผลไม้ทุกชนิดที่จัดจำหน่ายในท็อปส์ และเดินหน้าเพิ่มสินค้าอาหารสดให้มี QR Code ต่อไป

นายเอกพล พงศ์สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัททิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิปโก้สับปะรดพันธุ์หอมสุวรรณ ปลูกบนพื้นที่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี มีภูมิอากาศดีและมีแหล่ง น้ำสะอาด จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมมากในการปลูกพันธ์นี้ ใช้การเพาะปลูก ที่มีการควบคุมดูแล ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการเพาะปลูก GAP และการรับรองหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ (GMP) ทำให้มั่นใจได้ว่า ทิปโก้สับปะรดพันธุ์หอมสุวรรณมีรสชาติอร่อย หอมหวาน สะอาด ปลอดภัยไร้สารตกค้าง ทิปโก้เล็งเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีระบบตามสอบสินค้าเกษตร (traceability system) ของโปรแกรมระบบตามสอบสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (ACFS SME Traceability Program) ที่ มกอช. ได้พัฒนาขึ้นจะช่วยให้สามารถตามสอบแหล่งที่มาของสินค้า ตลอดจนกระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบรรจุ และการขนส่ง ในกรณีที่พบสินค้ามีปัญหาสามารถตามสอบและเรียกคืนสินค้าได้อย่างรวดเร็ว จำกัดความเสียหายไม่ให้กระจายวงกว้าง อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการตามสอบสู่ผู้บริโภค ให้สามารถตามสอบแหล่งผลิตสินค้าโดยใช้โทรศัพท์มือถือ Smart Phone เรียกดูข้อมูลจาก QR Code นับเป็นโครงการร่วมมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการได้มีระบบตามสอบสินค้าเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับสินค้า และภาพลักษณ์ที่ดีของทิปโก้สับประรดพันธ์หอมสุวรรณ

นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา เจ้าของรังสิตฟาร์ม ในฐานะเกษตรกรผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทย (Organic Thailand) และระบบการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ (Organic) ของไทยได้พัฒนาศักยภาพ และความชำนาญในกระบวนการผลิต เพาะปลูกผักเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานระบบการผลิตอินทรีย์ของไทย (Organic Thailand) และระบบการผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ทำให้ได้ผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ เป็นที่นิยมจากผู้บริโภคที่รักและใส่ใจสุขภาพ ด้วยรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของผักไร้สารพิษ การนำเอาเทคโนโลยี QR Code มาช่วยในการประชาสัมพันธ์สินค้าและแหล่งผลิตสินค้า สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

เกี่ยวกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานระดับกรมภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านความปลอดภัยอาหารและสินค้าเกษตรเพื่อสนับสนุนการค้าสินค้าเกษตรของไทยในตลาดต่างประเทศ และเพื่อทำให้ผู้บริโภคทั้งในประเทศและทั่วโลกได้รับความปลอดภัยจากอาหารและผลิตผลการเกษตรจากประเทศไทย นอกจากนั้น มกอช. ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตร และเป็นผู้ประสานงานหลักของประเทศภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศในองค์การการค้าโลกด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และความตกลงด้านการใช้มาตรการทางเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า อีกด้วย

ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้ที่ www.acfs.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4