การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) คือความท้าทายระดับโลก ที่กำหนดอนาคตของภูมิภาคเอเชีย

พุธ ๐๒ เมษายน ๒๐๑๔ ๐๙:๕๒
นิเคอิ เอเชี่ยน รีวิว นิตยสารรายสัปดาห์ฉบับภาษาอังกฤษที่ถ่ายทอดทุกเรื่องราวจากทั่วทั้งเอเชียสู่สายตาคนทั้งโลก

เมื่อไม่นานมานี้ได้รายงานถึงแนวโน้มโลกที่นำความท้าทายมาสู่เอเชีย โดยเป็นบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมอเมริกันและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) ซึ่งบทความแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานโดย

นายเคอร์ติส เอส ชิน http://asia.nikkei.com/Viewpoints/Perspectives/Raising-global-children-is-naturally-a-global-challenge

แม้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเองนั้นประสบความสำเร็จและมีความหลากหลายในระดับสากล แต่ยังได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศที่มีทัศนคติที่คับแคบที่สุดในโลก เมื่อต้องเผชิญโลกภายนอกหรือเรียนรู้ภาษาที่สอง

ในวันที่สหรัฐอเมริกานั้นมีพร้อมทั้งสถานภาพและอำนาจระดับแนวหน้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระดับโลกเป็นอย่างมาก และยังนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ แก่ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษา ครูอาจารย์ และผู้ปกครองในสหรัฐอเมริกา โดยสามารถกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียเช่นเดียวกัน

ในหนังสือเล่มใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยเนื้อหาอันเป็นประโยชน์และถ่ายทอดข้อมูลเชิงลึกที่มีชื่อว่า "Raising Global Children" หรือการเลี้ยงดูเยาวชนของโลก โดยนักเขียนนามว่า สตาซี่ เนวาดอมสกี้ เบอร์แดน ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทเอกชน และสามี มาร์แชล เอส เบอร์แดน ได้เขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าการเลี้ยงดูและเอาใจใส่ความสามารถในการเรียนรู้และเจริญเติบโตของเยาวชนในโลกที่เชื่อมต่อกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เยาวชนสามารถแข่งขันและประสบความสำเร็จได้ สิ่งเหล่านี้ควรเริ่มต้นจากพ่อแม่ก่อน ถึงแม้ว่าครู อาจารย์และชุมชนจะมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ก็ตาม

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “การบ่มเพาะและปลูกฝังทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) ให้แก่เยาวชนในปัจจุบันนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐอเมริกา อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้วในประเทศที่เล็กกว่า และประเทศเหล่านี้ก็ได้ตระหนักมานานแล้วด้วยว่าพวกเขาไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้” ซึ่งนี่คือเรื่องจริงของเยาวชนในภูมิภาคเอเชียและที่อื่นๆ ทั่วโลก”

พลเมืองรุ่นใหม่ ต้องก้าวไปข้างหน้า

สูตรความสำเร็จของสองสามีภรรยาตระกูลเบอร์แดนประกอบไปด้วยการศึกษาภาษาต่างประเทศให้ได้หลากหลายภาษามากขึ้น ซึ่งในหลายประเทศต่างนำสูตรความสำเร็จนี้ไปใช้พร้อมด้วยคุณสมบัติอื่นๆ ที่มาผสมผสานกันเพื่อความสำเร็จ แม้กระทั่งในหลายๆ ประเทศที่มีความเป็นสากลอย่างเช่นญี่ปุ่น กลับพบว่าเยาวชนในประเทศเลี่ยงที่จะแสวงหาความรู้ทางวิชาการในต่างประเทศเนื่องมาจากเรื่องของค่าใช้จ่ายและอุปสรรคทางด้านภาษา ส่วนในประเทศฮ่องกง พบว่าทักษะทางภาษาอังกฤษของเยาวชนตกต่ำลง เนื่องจากเยาวชนหันมาสนใจเรียนต่อด้านภาษาจีนกวางตุ้งและภาษาจีนกลางที่ใช้พูดในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

การปลูกฝังทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) กลายเป็นเรื่องจำเป็นและจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่านี่คือภารกิจสำคัญที่สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ (กลุ่มประเทศอาเซียน) เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่ประชากรเพื่อรับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจตามแผนที่วางไว้ใน พ.ศ.2558 ที่จะถึงนี้

ทว่า ทั้งคู่ยังได้อธิบายเพิ่มอีกว่าการบรรลุทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) นั้นให้อะไรที่มากกว่าแค่เรียนรู้ภาษาอื่นๆ หรือกระทั่งภาษาพื้นเมืองซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่ที่ใช้มาแต่กำเนิด

ในหนังสือที่ทั้งคู่ได้เขียนไว้ ยังกล่าวอีกว่า “การประเมินผลงานวิจัยของเราจากคุณสมบัติทั้งหมดพบว่า ความอยากรู้อยากเห็นและการรู้จักถามในเรื่องที่สงสัย คือสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้จำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset)” คำแนะนำในหนังสือสำหรับพ่อแม่เล่มนี้ควรสะท้อนไปถึงภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ที่ยังมีหลักสูตรการเรียนการสอนแบบท่องจำ

ท้ายที่สุดแล้ว การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) นั้นล้วนเป็นการสอนให้พวกเขารู้จักเคารพผู้อื่น

ไม่ว่าคนผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหนก็ตาม อย่างที่ผู้เขียนทั้งคู่ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักต่อโลกที่ไม่จำกัดอาณาเขตแค่เพียงประเทศของตนเท่านั้น รวมไปถึงสอนให้ลดความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ไม่รู้จัก และส่งเสริมให้คิดอย่างมีวิจารณญาณต่อกระแสโลก นี่เป็นการให้ความรู้และอบรมเยาวชนในเรื่องความหลากหลายของผู้คนรวมทั้งความคิด ซึ่งล้วนเป็นจุดแข็งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องกลัว

การเลี้ยงดูเยาวชนของโลก (Global Children) ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงฝ่ายเดียว แต่คือความท้าทายสำหรับภูมิภาคเอเชียรวมทั้งภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามทัศนคติที่เปิดกว้าง (global mindset) ในเยาวชนนั้นก้าวไกลไปมาก ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้

เรียบเรียงบทความโดย นายเคอร์ติส เอส ชิน อดีตเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (พ.ศ.2550-2553) ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และบารัค โอบามา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษา ริเวอร์พีค กรุ๊ป

สื่อมวลชนสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

วรวรรณ ครุฑวณิชนนท์ | กรรณิกา บุตรพรม

ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์

โทร. (66) 2260 5820 ต่อ 125 | 114 แฟกซ์ (66) 2260 5847-8

อีเมล์ [email protected], [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4