ความสำเร็จจากการทดลองใช้ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมด้วงหมัดผักในผักกาดขาวปลีในประเทศไทย

พฤหัส ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๕๘
โครงการอาเซียน-เยอรมนี ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนของไทยทดลองใช้จุลินทรีย์และไส้เดือนฝอยเพื่อควบคุมการระบาดของด้วงหมัดผักในผักกาดขาวปลี ซึ่งได้ผลเอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรมากกว่า โดยรากผักกาดขาวปลีเจริญเติบโตได้ดีกว่าการใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุนและผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ด้วงหมัดผักเป็นศัตรูพืชที่สำคัญซึ่งสร้างความหนักใจให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกผักกาดขาวปลีมาโดยตลอด เพราะเมื่อมีการระบาดรุนแรงต้นกล้าจะถูกกัดกินจนตาย แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นปานกลางก็จะทำให้ผักเติบโตช้าและเก็บเกี่ยวได้น้อย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลงจนไม่สามารถจำหน่ายได้ เคยมีรายงานว่าการระบาดของตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของด้วงหมัดผักทำให้ผลผลิตเสียหายถึงร้อยละ 10

การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชของอาเซียนได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้แสดงความสนใจที่จะทำการวิจัยเพื่อทดสอบการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช โดยประเทศไทยได้เลือกทำการทดสอบชีวภัณฑ์ในผักกาดขาวปลีซึ่งมักจะประสบกับปัญหาการระบาดของด้วงหมัดผักอยู่เสมอ

ในการนี้ โครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเยอรมันและอาเซียน ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรของไทย โครงการหลวง และบริษัทเทพวัฒนา จำกัด ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของการใช้จุลินทรีย์และไส้เดือนฝอยเพื่อควบคุมการระบาดของด้วงหมัดผักในผักกาดขาวปลีตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 โดยการทดสอบในแปลงปลูกผักกาดขาวปลีของเกษตรกรในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง จังหวัดเชียงราย และเปรียบเทียบผลที่ได้ระหว่างแปลงที่ใช้ชีวภัณฑ์ แปลงควบคุม และแปลงที่ใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชทั่วไป

ผลการทดลองระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2557 พบว่ารากผักกาดขาวปลีเจริญเติบโตได้ดีกว่า เพราะชีวภัณฑ์ที่ใช้ คือ แบคทีเรียบาซิลัส ทูริงเยนซิส และไส้เดือนฝอยสามารถทำลายตัวอ่อนด้วงหมัดผักได้ดี และปริมาณการใช้ก็น้อยกว่า โดยมีการฉีดพ่นชีวภัณฑ์เพียง 3 ครั้งเมื่อเทียบกับการฉีดพ่นสารเคมีที่ต้องฉีดถึง 6 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าชีวภัณฑ์มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับสารเคมี แต่ใช้ในปริมาณน้อยกว่า จึงช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรได้ ทั้งยังลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมี และช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย

ผลการทดลองใช้ชีวภัณฑ์ที่ได้ จะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อจัดการกับแมลงศัตรูพืชสำคัญชนิดนี้ อย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

โครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียน เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบนโยบายด้านความยั่งยืนของภาคเกษตร-อาหารระดับภูมิภาคให้มีความเสอดคล้องกัน ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตที่ยั่งยืน และส่งเสริมการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าอาหารข้ามพรมแดนอย่างยั่งยืนโดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งนี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินโครงการในนามของรัฐบาลเยอรมัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศิริพร ตรีพรไพรัช

ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์, GIZ

โทรศัพท์ 66 2 661 9273 ต่อ 63 E-mail: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้