โพลสำรวจความรู้สึกของผู้หญิงต่อ "วันแม่"

ศุกร์ ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๔๗
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ, ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลสำรวจความรู้สึกและความคิดเห็นของคุณแม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อลูก ๆ เนื่องในวันแม่แห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2557

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 982 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 41 ถึง 45 ปีซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30.04 ขณะที่ร้อยละ 26.88 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 46 ถึง 50 ปี ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 34.01 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชน ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.67 ร้อยละ 24.44 และร้อยละ 21.28 ตามลำดับ

สำหรับเรื่องที่ลูก ๆ เคยทำให้กลุ่มตัวอย่างดีใจสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 79.84 ตั้งใจเรียนหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 76.58 และยอมรับเมื่อตนเองทำผิด คิดเป็นร้อยละ 72.1 ส่วนเรื่องที่ลูก ๆ เคยทำให้กลุ่มตัวอย่างเสียใจสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 78.72 พูดโกหก คิดเป็นร้อยละ 75.76 และแอบหนีเรียน คิดเป็นร้อยละ 71.89

ในด้านการพูดคุยและการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับลูก ๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 38.09 ระบุว่าในปัจจุบันนี้มีโอกาสได้พูดคุยกับลูกโดยเฉลี่ยประมาณ 5 ถึง 6 วันในหนึ่งสัปดาห์ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.93 ระบุว่าเป็นประจำทุกวัน และกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 34.22 ระบุว่าในปัจจุบันตนเองมีโอกาสได้ร่วมรับประทานอาหารกับลูก ๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ถึง 4 มื้อต่อสัปดาห์

สำหรับช่องทางการพูดคุยกับลูก ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 67.21 ระบุว่าปัจจุบันนี้ตนเองได้พูดคุยกับลูกแบบเจอกันต่อหน้ามากกว่าการพูดคุยผ่านโทรศัพท์/สื่อสังคมออนไลน์ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 19.86 ระบุว่าได้พูดคุยผ่านทั้งสองช่องทางเท่า ๆ กัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.93 ยอมรับว่าปัจจุบันตนเองมีโอกาสได้พูดคุยกับลูกผ่านโทรศัพท์/สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งมีความคิดเห็นว่าสภาพการใช้ชีวิตของตนเองในสังคมปัจจุบันมีส่วนทำให้ตนเองได้พูดคุยกับลูก ๆ น้อยลง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.68 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 58.35 มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของลูก ๆ ในสังคมปัจจุบันมีส่วนทำให้ตนเองได้พูดคุยกับลูก ๆ น้อยลง และกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 60.08 มีความคิดเห็นว่าการที่ลูก ๆ มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต/โทรศัพท์เคลื่อนที่/สมาร์ทโฟนใช้มีส่วนทำให้ตนเองได้พูดคุยกับลูก ๆ น้อยลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา
๑๗:๐๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานชัยนาทร่วมออกหน่วยให้บริการโครงการ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน
๑๗:๐๒ วว. /สปอว. /APCTT จัด Workshop การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
๑๗:๐๐ บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATAV จัดการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567
๑๗:๕๓ คณะนิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม เปิดอบรม Generative AI เสริมทักษะนักกฎหมายยุคดิจิทัล