คนอีสานกับประเด็นร้อนต้นปี 2558

อังคาร ๒๐ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๕:๒๓
อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "คนอีสานกับประเด็นร้อนต้นปี 2558” ผลสำรวจพบว่า คนอีสานที่ติดตามข่าวเห็นด้วยที่สภาปฏิรูปโหวตค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ส่วนใหญ่ไม่ยินดียินร้ายกรณีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ สนับสนุนแนวทางการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรีพร้อมนายกฯโดยตรงมากที่สุด เห็นควรให้ทำประชามติรับรองรัฐธรรมนูญใหม่ และเห็นว่าเลือกตั้งต้นปี 2559 เหมาะที่สุด

ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อประเด็นการเมืองที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันในช่วงต้นปี 2558 ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-19 มกราคม 2558 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,073 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อสอบถามความเห็นของชาวอีสานต่อการที่ สภาปฏิรูปโหวตค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ท่านเห็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 40.1 ไม่ได้ติดตามข่าว ส่วนร้อยละ 59.9 ที่ติดตามข่าวดังกล่าว แยกเป็น ร้อยละ 32.7 เห็นด้วยกับการค้านเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ร้อยละ 14.1 ไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ 13.1 ไม่แน่ใจ

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีโครงการรับจำนำข้าว ผลจะเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.9 ไม่ได้ติดตามข่าว รองลงมาร้อยละ 26.3 เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติไม่ถอดถอน ร้อยละ 24.4 ไม่แน่ใจ ส่วนอีกร้อยละ 20.4 เห็นว่าจะมีมติถอดถอน

อีสานโพลสอบถามต่อว่า หากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกถอดถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ท่านจะรู้สึกอย่างไร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 67.1 จะรู้สึกเฉยๆ หรือไม่ยินดียินร้าย รองลงมา ร้อยละ 18.4 รู้สึกพอใจ ส่วนอีกร้อยละ 14.5 รู้สึกไม่พอใจ

ในส่วนของความคิดเห็นต่อประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีควรเป็นแนวทางใดมากที่สุดนั้น กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 53.6 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรีพร้อมนายกฯ โดยตรง รองลงมา ร้อยละ 24.9 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ร้อยละ 21.4 เห็นว่าควรมาจากการเลือกนายกฯ โดย สส. (แบบเดิม) มีเพียงร้อยละ 0.1 ที่เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้งโดยวิธีอื่น

สำหรับความคิดเห็นต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการรับรองด้วยการทำประชามติหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 88.1 เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการรับรองด้วยการทำประชามติ โดยกลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในการรับรอง และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส ส่วนอีกร้อยละ 11.9 เห็นว่าไม่ควรทำประชามติ โดยให้เหตุผลว่าอาจเกิดการคัดค้านรัฐธรรมนูญและสถานการณ์บ้านเมืองแย่ลง

ส่วนความคิดเห็นต่อช่วงเวลาในการเลือกตั้งใหม่ควรเป็นช่วงใดมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 55.6 เห็นว่าควรมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปี 2559 รองลงมาร้อยละ 19.7 เห็นว่าควรเลือกตั้งปลายปี 2558 หรือกลางปี 2559 ซึ่งมีสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 4.9 เห็นว่าควรเลือกตั้งปลายปี 2559 มีเพียงร้อยละ 0.2 ที่เห็นว่าควรเลือกตั้งในช่วงเวลาอื่น

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 51.7 เพศชาย ร้อยละ 48.3 ส่วนใหญ่อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 29.5 รองลงมา ร้อยละ 27.0 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 25.0 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 6.9 อายุ 56-60 ปี ร้อยละ 6.5 อายุ 18-25 ปี และร้อยละ 5.1 อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

ส่วนระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 39.0 รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 22.0 ปริญญาตรี ร้อยละ 21.5 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 10.7 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 4.7 ปริญญาโทหรือสูงกว่า ร้อยละ 2.1 ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 39.1 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.3 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.2 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.3 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.0 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.0 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.4 อื่นๆ ร้อยละ 2.5

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 33.1 รองลงมามีรายได้อยู่รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 23.3 รายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 19.8 รายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 13.4 รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 8.7 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 1.8

หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้ว ความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายชื่อคณะผู้วิจัย

รศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม

คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน

ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ ศุทธชัย

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์

รองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมสัมพันธ์

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์

หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล

เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผล

นางสาวศิริพรรณ ยศปัญญา

นางสาวสงบ เสริมนา

นางสาวศิรินันท์ บุตรพรม

นางสาวกมลทิพย์ ศรีหลิ่ง

นางสาวกุสุมาวดี คำคอนสาร

นางสาวนันท์นภัส คำนำโชค

นางสาวปุณิกา สิ่วศรี

นางสาวพรสวรรค์ สว่างวงษ์

นางสาวพิชญาภา จันศรี

นางสาววลัยพร พิมศร

นางสาววิไลวรรณ แปนเมือง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?