เปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย พร้อมเสวนา “เกษตรอินทรีย์ เกษตรไทย ปลอดภัยทุกคน” เพื่อพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน พร้อมระดมตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจากทั่วประเทศมาให้ความรู้ ทดลองทำจริง!!

พุธ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๑๘
มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จัดแถลงข่าว “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” พร้อมเสวนาหัวข้อ “เกษตรอินทรีย์ เกษตรไทย ปลอดภัยทุกคน” เพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร คุณอำนวย สกุลวัฒนะ ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์, พอ.วีรพันธ์ สมัครการ รองเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ เรืองประเทืองสุข รองอธิการบดี ม.บูรพา, ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และ อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา ภาควิชาภาษาไทย ม.บูรพา โดยภายหลังพิธีเปิดโครงการฯ จะระดมตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจากทั่วประเทศมาให้ความรู้ ทดลองทำจริง ณ ออแกนิค แลนด์ ด้วย (วันอังคารที่ 19 พ.ค. 2558 ณ ห้องเทาทอง 2 ม.บูรพา)

ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ ม.บูรพา ให้รายละเอียดว่า “สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศที่มีสมาชิกกว้างขวางที่สุดในโลก ได้ให้ความหมายของคำว่า “เกษตรอินทรีย์ หรือ “Organic Agriculture” คือ ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน เกษตรอินทรีย์พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่างๆที่เกี่ยวข้อง” ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ โดยการให้ความรู้กับประชาชน พร้อมทั้งให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันในระยะแรก ต่อมาเมื่อรัฐบาลเห็นว่าประชาชนเริ่มยอมรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่มีความปลอดภัยกับผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้มีการผลักดันเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติในปี ๒๕๔๘ และสนับสนุนงบประมาณให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องในปี ๒๕๔๙ ซึ่งมีการดำเนินการเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน”

องค์กรปกครองท้องถิ่นถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการท้องถิ่นและสนับสนุนการดำเนินการทางนโยบายของรัฐบาล เพราะองค์กรปกครองท้องถิ่นย่อมมีความเข้าใจในสภาพปัญหาของของพื้นที่ดีกว่า หน่วยงานอื่นๆ แต่นโยบายท้องถิ่นที่ผ่านมาส่วนใหญ่เน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพมากกว่านโยบายที่เน้น“การพึ่งพาตนเอง โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มี”ฉะนั้นการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่รัฐบาลปัจจุบันได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด"โรดแมพ"หรือแผนงานสำคัญที่ต้องดำเนินการใน ๔ เรื่องหลักเพื่อพัฒนาการเกษตรของไทย คือ

๑.การลดต้นทุนการผลิต เช่น การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี การจัดทำแปลงเรียนรู้ลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ความรู้เกษตรกร

๒.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะสินค้าข้าว เช่น การพัฒนาและส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและปรับการผลิตข้าวเป็นเกษตรกรรมทางเลือก

๓.การเพิ่มรายได้เกษตรกร และการจัดการผลผลิตของเกษตรกร โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและโอกาสให้แก่สินค้าเกษตร

๔.การจัดการในเรื่ององค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร เป็นต้น โดยนโยบายเหล่านี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรอินทรีย์เข้ามามีบทบาทสำคัญในประเทศเพื่อเป็นอีกช่องทางเลือกในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนให้ประชาชนในท้องถิ่น

ดังนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ชุมชนท้องถิ่นให้ความสนใจและยอมรับว่าเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกษตรอย่างจริงจัง คือ “เกษตรกรรมทางเลือก” และระบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งถือเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรทางเลือกที่เกษตรกรในชุมชนท้องถิ่นเชื่อว่าสามารถนำไปปรับใช้แล้วเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางเกษตรอินทรีย์นั้นผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความรู้ความเข้าใจอีกมากในหลักการ กระบวนการและแนวทางการดำเนินการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จากต้นน้ำถึงปลายน้ำที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงเห็นว่าเพื่อเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาสังคมและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐที่มุ่งสนับสนุนให้ภาคประชาชนสามารถพัฒนาและใช้ทรัพยากรของตนสร้างอาชีพและเพิ่มพูนรายได้ของตนในเชิงรุกมากกว่าการขอการช่วยเหลือแต่จากภาครัฐนั้น โครงการฝึกอบรมดังกล่าวจึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน”

ด้าน ดร.แบงค์-พีรพัฒน์ มั่งคั่ง หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ม.บูรพา สำหรับวัตถุประสงค์ของ “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” คือ

๑. เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ใน ๔ ประเด็นหลัก คือ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มรายได้เกษตรกร การจัดการในเรื่ององค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

๒. เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายท้องถิ่น หรือนำไปสู่การจัดทำแหล่งเรียนรู้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ตลอดทั้งการจัดหาแหล่งวัสดุการเกษตรคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

๓. เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติและประหยัดค่าใช้จ่าย

๔. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการเกษตรในรูปแบบของภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองในระบบกลไกแบบตลาด (จำหน่ายตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง)

รายละเอียดหลักสูตรการอบรม ดังนี้

๑. การพัฒนาเกษตรอินทรีย์สู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

๒. การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงการเกษตรเคมีสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวคิดเกษตรอินทรีย์ (ประโยชน์ ความคุ้มค่า และคุ้มทุนต่อการบริหารจัดการ)

๓. หลักพื้นฐานการทำเกษตรอินทรีย์ (การประเมินทรัพยากร/การจัดหาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพ/กระบวนการทางการเกษตร)

๔. รูปแบบและวิธีการเพาะปลูกผลผลิตแบบเกษตรอินทรีย์

๕. ปัญหาและอุปสรรค /แนวทางการแก้ไข

๖. การจัดตั้งเครือข่ายการเกษตรในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอาชีพและรายได้ของประชาชน และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล

๗. ศึกษาดูงานและภาคปฏิบัติ โดยเชิญวิทยากรจาก มหาวิทยาลัยบูรพา, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร, สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)

คาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับ

๑. ผู้บริหารท้องถิ่น มีส่วนในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ใน ๔ ประเด็นหลัก คือ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มรายได้เกษตรกร การจัดการในเรื่ององค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

๒. ผู้บริหารท้องถิ่น ได้รับการสร้างและพัฒนาศักยภาพของตน ทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำผลการอบรมนั้นไปกำหนดเป็นนโยบายท้องถิ่น หรือนำไปสู่การจัดทำแหล่งเรียนรู้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ตลอดทั้งการได้แหล่งวัสดุการเกษตรคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

๓. ผู้บริหารท้องถิ่น มีแน้วโน้มการปรับเปลี่ยนทัศนคตินโยการเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตประชากรในอนาคต

๔. ผู้บริหารท้องถิ่น เกิดการรวมกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการเกษตรในรูปแบบของภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองในระบบกลไกแบบตลาด (การจำหน่ายตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง)

สำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการฯ นี้ คือ ผู้บริหารท้องถิ่น อันได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ปรึกษานายกฯ เลขานุการนายกฯ สมาชิกสภาฯ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการ เป็นต้น โดยสามารถเข้าร่วม โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ในครั้งต่อไป ทางผู้จัดคาดหวังเป้าหมาย 10 รุ่นๆละ 100 ท่าน เริ่มรุ่นแรก 23-26 มิ.ย. 2558 ณ สถานที่ในส่วนกลาง กทม. และศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม ออร์แกนิคแลนด์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4