“พยัคฆ์ไพร”เตือนนายทุนหยุดรุกป่า

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๓๒
หัวหน้าทีมพยัคฆ์ไพร ห่วงป่าต้นน้ำ ชี้กลุ่มนายทุนควรหยุดซื้อพื้นที่ป่า เพราะเป็นการทำลายป่าอย่างไม่รู้จบ เผยพื้นที่ป่าต้นน้ำของแม่น้ำป่าสักในเขต อ.ด่านซ้าย จ.เลย เคยมีกว่า 1ล้านไร่ แต่ 30 ปีผ่านมาเหลือไม่ถึง 2 แสนไร่ ย้ำรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนเตรียมเอาผิดกลุ่มนายทุนรุกป่า พร้อมฟื้นฟูปลูกพะยูง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผู้อำนวยการส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม เป็น ผู้อำนวยการส่วนกิจการพิเศษ และในฐานะหัวหน้าทีมพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ เปิดเผยว่า ตามยุทธการทวงคืนผืนป่าในประเทศซึ่งตั้งเป้าหมายต้องยึดคืนมาภายในปีนี้จำนวน400,000 ไร่ โดยขณะนี้สามารถยึดคืนได้แล้วกว่า 70,000 ไร่ สิ่งที่ภาครัฐกำลังดำเนินการเป็นการบูรณาการแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ยุทธการดังกล่าวมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อความถูกต้อง

นายชีวะภาพ กล่าวอีกว่า วันนี้คงต้องมองถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์ป่าต้นน้ำ และชุมชนเมืองว่ามีความเกี่ยวเนื่อง มีองค์ประกอบมีหน้าที่ในระบบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อกัน คนต้นน้ำ คนกลางน้ำ คนปลายน้ำ คือความเชื่อมโยง วันนี้คนกลางน้ำ คนปลายน้ำไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว ไปซื้อยึดถือครอบครองที่ดินในเขตต้นน้ำ เพราะผิดกฎหมาย ในเขตต้นน้ำควรเป็นระบบของชุมชนคนต้นน้ำ ซึ่งจะมีแนวทางบริหารจัดการอย่างไรก็ว่ากันไปตามหลักกฎหมายและวิชาการ ค่านิยมที่คนนอกพื้นที่ต้องการมีที่ดินในเขตป่าควรหมดไป เพราะเป็นการทำลายป่าอย่างไม่รู้จบ กลไกของการยึดถือครอบครองป่าต้นน้ำของกลุ่มทุน ส่งผลให้ชาวบ้านขยายตัวเข้าไปบุกรุกป่าใหม่ เพราะมีการซื้อขายกันเป็นทอดๆ มีการขายต่อเปลี่ยนมือกันมาตลอด

“ที่ผ่านมายังไม่เคยมีมาตรการอะไรมาหยุดยั้งขบวนการนี้ แต่ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจน มีการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ถ้าเรามีโอกาสแบบนี้แล้วยังหยุดขบวนการทำลายป่าต้นน้ำในเวลานี้ไม่ได้ก็คงนับเวลาถอยหลังดูความหายนะของป่าต้นน้ำได้เลย กลุ่มนายทุนควรถอยออกไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่ไม่ใช่ป่าต้นน้ำ จริงๆ แล้ว

ยางพาราเป็นต้นไม้ที่ช่วยด้านเศรษฐกิจ รักษาระบบนิเวศน์ได้เหมือนกัน แต่ต้องปลูกที่ที่เหมาะสมไม่ใช่พื้นที่ที่บุกรุกอย่างผิดกฎหมาย”นายชีวะภาพ กล่าว

หัวหน้าทีมพยัคฆ์ไพร กล่าวต่อว่า สภาพปัญหาของป่าต้นน้ำวันนี้ถึงขั้นวิกฤติ เช่น ในพื้นที่ป่าต้นน้ำของแม่น้ำป่าสักในเขต อ.ด่านซ้าย จ.เลย ประกาศเมื่อปี 2527 มีพื้นที่ประมาณ 1 ล้านไร่ แต่ผ่านมา 30 ปี เหลือไม่ถึง 2 แสนไร่ ที่หายไปเกินครึ่งอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุน และส่วนใหญ่นำมาปลูกยางพารา ซึ่งขณะนี้ทุกภาคส่วนร่วมกันเพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อพื้นที่ที่ปลูกยางพาราโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในเขตป่าต้นน้ำลำธารที่กลุ่มนายทุนอยู่เบื้องหลัง ส่วนผู้ยากไร้มีระเบียบข้อกฎหมายที่ชัดเจนว่าให้ผ่อนปรน ทั้งนี้หลังการบุกยึดและดำเนินคดีแล้ว จะมีการเฝ้าระวังห้ามมีการบุกรุกพื้นที่ใหม่ พร้อมส่งเสริมการปลูกไม้พะยูง โดยกรมป่าไม้ได้เพาะกล้าไม้พะยูงไว้แล้ว 12 ล้านต้น เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้