สมศ. เผยผลการประเมิน 15 ปี พบ 3 ปัญหาฉุดรั้งการศึกษาไทย พร้อมแนะรัฐเร่งสร้างมาตรฐานสถานศึกษา ด้วยกลยุทธ์ก้าวข้ามขีดจำกัด

พุธ ๑๔ ตุลาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๒
· สมศ. จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานานาชาติ ปี 58 เปิด 54 หัวข้อระดมนักการศึกษาทั่วโลกเดินหน้ายกระดับการศึกษาไทย

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานานาชาติ ประจำปี พ.ศ.2558 ภายใต้หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ" เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในรอบ 15 ปี ของ สมศ. โดยนักวิชาการด้านการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติกว่า 54 หัวข้อจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ระดม 54 หัวข้อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาไทย อาทิ หัวข้อ "อะไรคือสาเหตุ คุณภาพการศึกษามีปัญหา" "มาตรฐานงานวิจัย จุดอ่อนของอุดมศึกษาไทย" "กลยุทธ์สู่ UI Green Metric World University Ranking" ฯลฯ ตลอดจนยังเผยปัญหาการศึกษาไทยจากการประเมิน 15 ปี พบ 3 ปัญหาใหญ่ฉุดรั้งการศึกษาไทย ได้แก่ 1.การขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบาย 2.การขาดการกำกับเชิงปริมาณ และ 3.การขาดการควบคุมคุณภาพ พร้อมแนะรัฐเร่งสร้างมาตรฐานสถานศึกษา ด้วยกลยุทธ์ก้าวข้ามขีดจำกัด โดยการปรับวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อสร้างความพร้อมในการก้าวไปข้างหน้า ซึ่งสถานศึกษาต้องมีวัฒนธรรมคุณภาพทำให้การประกันคุณภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ทั้งนี้ขอเชิญชวน ครู อาจารย์ นักเรียนนิสิตนักศึกษา เข้าร่วม งานประชุมวิชาการระดับชาติและนานานาชาติ ประจำปี พ.ศ.2558 ภายใต้หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ" ในวันที่ 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค กรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่าด้วยมาตรฐานและ การประกันคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำ การประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และ แนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ด้วยการพัฒนาวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องเพื่อเป็นมาตรฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษานั้น จึงถือเป็นสิ่งสำคัญของประเทศไทย ที่ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของ การดำเนินงานอย่างแท้จริง เพื่อที่จะนำมาพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศไทยได้อย่างตรงจุด

พลอากาศเอก ประจินกล่าวต่อว่า ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษาจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากและต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลักในการตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษา ในสามเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่

1. องค์ประกอบด้านสถานศึกษาและต้นสังกัด ต้องบริหารจัดการการศึกษาให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง มีระบบการประกันคุณภาพภายในและมีแผนพัฒนาสถานศึกษาทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานโยบายของต้นสังกัด และแนวการปฏิรูปการศึกษาของชาติ มีการกำกับติดตามและมีระบบประเมินตนเองเป็นระยะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และพร้อมรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. องค์ประกอบด้านเนื้อหาสาระของการประเมิน ต้องมีการกำหนดเกณฑ์และตัวบ่งชี้ที่สะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษา อาทิ ปริมาณและคุณภาพของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียน การสอนที่ทันสมัย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาเล่าเรียน และสอดคล้องกับค่านิยมไทย 12 ประการ โดยเฉพาะเรื่องการปลูกฝังบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมและความซื่อสัตย์ ซึ่งจาก การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามที่ผ่านมา ก็ได้มีการกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินที่สอดรับกับค่านิยมดังกล่าวด้วยได้แก่ ตัวบ่งชี้ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีทักษะชีวิต ใฝ่เรียนรู้ ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีน้ำใจไมตรี มีจิตอาสา และมีการพัฒนาคุณธรรมด้านต่างๆ อาทิ วินัย สติ กตัญญู เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด ขยันไม่เห็นแก่ตัว ฯลฯ หรือการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามนโยบายภาครัฐ ผ่านการทำกิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์ และตัวบ่งชี้ในการส่งเสริมสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม โดยสถานศึกษาถ่ายทอดปลูกฝัง ส่งเสริมและพัฒนาสิ่งที่ดีงาม มีความสุนทรีย์ และวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สวยงามอย่างมีรสนิยม ให้เกิดในจิตสำนึกและในวิถีชีวิต มีความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งในเรื่องความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมใหม่ๆ เพื่อให้มีวิถีชีวิตและบรรยากาศในสถานศึกษาที่น่าอยู่ มีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างมีรสนิยม และสามารถอยู่ในสังคมด้วยความเข้าใจ มีน้ำใจ อย่างมีความสุข

3. องค์ประกอบด้านระบบและกระบวนการประเมินคุณภาพภายนอก ต้องมีการพัฒนาระบบและกระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพสถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ผลการประเมินตรงตามสภาพความเป็นจริง สถานศึกษาและต้นสังกัดนำผลการประเมินไปปรับปรุง พัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและจริงจังทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระการประเมินให้น้อยลง รัฐบาลจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นระบบ Online และจะเริ่มนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบที่ 4 โดยสำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่พร้อมก็สามารถใช้ รูปแบบเดิมควบคู่กับการพัฒนาเพื่อเตรียมการสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 5 ซึ่งตั้งเป้าหมาย ไว้ว่าจะเป็นการประเมินประเมิน Online ทั้งระบบ นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณา กระบวนการประเมินคุณภาพภายนอกให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องในทุกระดับการศึกษาต่อไป

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่าจากการประเมินสิบห้าปีที่ผ่านมาพบว่า ในสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทกว่า 60,000 แห่งทั่วประเทศ พบว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสถานศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 20,376 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.04 ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน จำนวน 12,468 หรือคิดเป็นร้อยละ 37.96 ส่วนการอาชีวศึกษา ผ่านการรับรองฯ จำนวน 622 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.54 ไม่ผ่านการรับรองฯ จำนวน 160 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 20.46 และระดับอุดมศึกษา ผ่านการรับรองฯ จำนวน 253 คิดเป็นร้อยละ 66.92 ไม่ผ่านการรับรองฯ จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.54 โดย สมศ. ได้สรุปผลการประเมินทั้งหมดส่งให้สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูและ และสาธารณชนให้รับทราบอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการสะท้อนปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมให้สาธารณชนได้เห็น สามารถที่จะสรุปปัญหาการศึกษาไทย ได้เป็นสามหัวข้อดังนี้

1. การขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบาย ประเทศไทยมีระบบการบริหารที่ยึดหลักตามผู้บริหาร รูปแบบการศึกษาของไทยถูกปรับเปลี่ยนตามแนวคิดของผู้บริหารในแต่ละช่วง ทำให้นโยบายด้านการศึกษาต่างๆ ไม่ได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขาดโรดแมพ การบริหารการศึกษาในระยะยาว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาไทย โดยปัญหาที่เห็นเป็นรูปธรรม อาทิ นโยบายการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรายวิชาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำให้วิชาสำคัญถูกกลืนหายไป เช่น ศีลธรรม ประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ส่งผลให้ตัวป้อนเข้าสู่อุดมศึกษาขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาว นโยบายไม่มีตกซ้ำชั้น แต่ปรากฎว่ามีเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในปัจจุบันมากถึงร้อยละ 30 ทั่วประเทศ นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ขาดความชัดเจน ในขณะที่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีมากถึงประมาณ 20,000 แห่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาครูไม่ครบชั้น นโยบายการปรับเงินเดือนปริญญาตรี เป็นการเพิ่มค่านิยมปริญญา ส่งผลกระทบต่ออัตราการเข้าเรียนของนักศึกษาด้านอาชีวศึกษาลดต่ำลง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงานฝีมือ เพราะผู้เรียนเลือกเรียนสายสามัญในระบบอุดมศึกษามากเกินความจำเป็น ทั้งๆ ที่ส่วนหนึ่งจบมาแล้วตกงานหรือต้องทำงานต่ำกว่าวุฒิ ฯ

2. การขาดการกำกับเชิงปริมาณ ส่งผลให้เกิดปัญหา อาทิ 1) การเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน (Supply Side) มากกว่าความจำเป็นและความต้องการของสังคม (Demand Side) เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การลงทุน และกลายเป็นความสูญเปล่า (Over Production) ทางการศึกษา 2) การเปิดหลักสูตรที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ทำให้นักศึกษาที่จบออกไปไม่มีวุฒิการศึกษารองรับ ทำให้ไม่สามารถหางานได้ 3) ข้อมูลด้านการศึกษา ไม่เป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลจำนวนอาจารย์ จำนวนผู้เรียน ขาดการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ขาดการจัดส่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และขาดการกำกับดูแลจากส่วนกลาง ทำให้มีความคลาดเคลื่อนด้านข้อมูลอันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย ฯ

3. การขาดการควบคุมคุณภาพ ด้วยสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนสถานภาพของสถาบันอุดมศึกษา ส่งผลให้การจัดการศึกษามุ่งเน้นการจัดการเชิงธุรกิจ การศึกษากลายเป็นสินค้าที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน คุณภาพอาจารย์และหลักสูตรยังไม่เอื้อต่อการผลิตบัณฑิตอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ เช่น 1) สถาบันอุดมศึกษามุ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) มีการขยายตัวของมหาวิทยาลัย คณะ/ภาควิชาอย่างต่อเนื่องแต่การผลิตอาจารย์ที่มีคุณภาพไม่ทันต่อการขยายตัว อาจารย์ได้รับการพัฒนาไม่เพียงพอ ผลงานวิจัยมีน้อยและไม่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ 2)การกระจายอำนาจการบริหารให้กับสภามหาวิทยาลัยซึ่งมีอำนาจในการอนุมัติหลักสูตรและการเปิดการเรียนการสอน ส่งผลให้มีหลักสูตร รวมถึงการจัดการศึกษานอกที่ตั้งจำนวนมาก ทั้งที่หลายแห่งขาดความพร้อม ไม่ว่าด้านเครื่องมือ สถานที่ และบุคลากร ดังนั้นคุณภาพของ สภามหาวิทยาลัยมีผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและภาพรวมของประเทศ 3) ประเทศไทยกำหนดอัตราครู 1 ต่อ 16 ในระดับประถมศึกษา ส่วนระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 1 ต่อ 20 แต่ในขณะที่ต่างประเทศกำหนดสัดส่วนจำนวนครู ต่อนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาน้อยกว่าระดับประถมศึกษา

"เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สถานศึกษาต้องทำให้การประกันคุณภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพ โดยมีแนวทาง 3 ประการ ได้แก่ 1) QD: Quality Development การพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) QE: Quality Enhancement การส่งเสริมคุณภาพการศึกษา และ 3) QF: Quality Framework กรอบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งถ้าครู อาจารย์ หรือสถานศึกษาสามารถดำเนินการได้สามข้อดังกล่าว จะเป็นการ "การก้าวข้ามขีดจำกัด" จากปัญหาก็จะกลายเป็นประสบการณ์และข้อค้นพบที่ดี โดยการประกันคุณภาพการศึกษาที่ดีจะช่วยให้มองทะลุเข้าใจถึงแก่นของปัญหา และข้อจำกัดต่างๆ จะคลี่คลาย ตลอดจนครูต้องวางแผนการสอน จัดการการสอน ตรวจสอบการสอน และดำเนินการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (PDCA) อย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถตอบโจทย์การขับเคลื่อนวัฒนธรรมคุณภาพได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สมศ. ได้จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานานาชาติ ประจำปี พ.ศ.2558 ภายใต้หัวข้อ "ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ" เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในรอบ 15 ปี ของ สมศ. ต่อสาธารณชน และการเสวนาเพื่อพัฒนาการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยนักวิชาการทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติกว่า 54 หัวข้อ อาทิ คุณภาพการศึกษามีปัญหา อะไรคือสาเหตุ มาตรฐานงานวิจัย จุดอ่อนของอุดมศึกษาไทย หรือ กลยุทธ์สู่ UI Green Metric World University Ranking คำบอกเล่าจากอัจฉริยะตัวน้อย ฯลฯ ตลอดจนแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีของการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ สมศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและนานาชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไบเทค กรุงเทพฯ

สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ