สจล. ชี้แจงรับงานเป็นที่ปรึกษาโครงการของรัฐ เป็นไปตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

พฤหัส ๑๒ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๒๗
จากกรณีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับการกล่าวอ้างว่า สจล. ซึ่งเป็นสถานศึกษา รับดำเนินการเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของรัฐ โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิศวกร พ.ศ. 2542 หมวด 6 เรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มาตรา 45-49 สจล. ได้ชี้แจงการรับงานเป็นที่ปรึกษาโครงการของรัฐ เป็นไปตามข้อบังคับ กฎหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ ทั้งนี้ เคยมีมติ ครม.ปี 2531 และสนง.คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็น 3 ครั้ง ตามเรื่องเสร็จที่ 137/2547แล้วว่า มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นนิติบุคคลมหาชนซึ่งปฏิบัติตามกฏหมายที่ให้อำนาจบัญญัติไว้อยู่แล้วย่อมมีอำนาจดำเนินการได้ โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร นอกจากนี้ยังเคยมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน อาทิ เรื่องเสร็จที่ 236/2517 และเรื่องเสร็จที่ 837/2546 ตามลำดับ

99 ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยในไทย กับ บทบาทร่วมพัฒนาประเทศ

รศ.สุพจน์ ศรีนิล คณะทำงานด้านวิศวกรรมโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยในปี 2460 มานั้น นับเป็นเวลา 99 ปีจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 81 แห่ง มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่สำคัญของสังคมไทยเช่นเดียวกับในนานาประเทศซึ่งนอกจากจะให้ความรู้แก่เยาวชนแล้วยังเป็นแหล่งรวมการศึกษาวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่ภาครัฐและเอกชน ด้วยเป็นศูนย์รวมของบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ มีความเป็นกลางและเป็นที่พึ่งของประชาชน ภาครัฐและเอกชนตลอดมา มหาวิทยาลัยจึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าตลอดมา ที่ผ่านมาภาครัฐแทบทุกกระทรวงมอบหมายมหาวิทยาลัยของรัฐรับงาน รวมหลายพันโครงการ ดังนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรหากการที่ สจล. ได้รับมอบหมายโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศและหน่วยงานภาครัฐก็คงไม่ถูกต้องไปด้วย

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2531

คำกล่าวว่า สจล. ดำเนินโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 หมวด 6 เรื่องการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มาตรา 45-49 นั้น ทั้งนี้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2531 มติคณะรัฐมนตรี สมัยที่นายอนันต์ อนันตกูล เป็นเลขาธิการครม. ได้มีมติ ดังนี้ "ทุกมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการให้บริการด้านวิชาการและการวิจัยในขอบเขตสาขาวิชาที่จัดให้มีการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐสั่งจ้างหรือใช้บริการด้านวิชาการและการวิจัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐดังกล่าวได้โดยวิธีกรณีพิเศษ"

คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยให้ความเห็นในเรื่องเทียบเคียง 3 ครั้ง

นายสรศักดิ์ มั่นศิลป์ คณะทำงานด้านกฎหมาย โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยมีความเห็น (ตามเอกสารลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547) เรื่องการบังคับใช้พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 ว่า"ปัญหาเรื่องการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยให้ความเห็นไว้แล้วสรุปได้ว่า การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐและนิติบุคคลมหาชนซึ่งต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ นั้น เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานซึ่งกฎหมายที่ให้อำนาจบัญญัติไว้อยู่แล้ว การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 และในกรณีที่นิติบุคคลมหาชนจะรับดำเนินงานที่จัดอยู่ในประเภทงานวิศวกรรมควบคุมต่อบุคคลภายนอกนั้น หากการดำเนินการเป็นไปตามขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลดังกล่าวก็ย่อมมีอำนาจดำเนินการได้ โดยไม่ต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร" นอกจากนี้ยังมีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน อาทิ เรื่องเสร็จที่ 236/2517 และเรื่องเสร็จที่ 837/2546 ตามลำดับ

พ.ร.บ. สจล.ปี 2551

นอกจากนี้ตามพ.ร.บ. สจล.ปีพ.ศ. 2551 สจล. เป็นนิติบุคคลมหาชนตามมาตรา 5 และมีอำนาจในการรับงานได้ตามมาตรา 7 "ให้สถาบันเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา พัฒนาประยุกต์ องค์ความรู้และเทคโนโลยี และส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง โดยมีภารกิจด้านการสอน วิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม" และมาตรา 14 "สถาบันมีอำนาจและหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ ในมาตรา 7 อำนาจและหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (1) ซื้อ ขาย จ้าง รับจ้าง สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่าย หรือทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่กิจการของสถาบัน ตลอดจนถือ กรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง มีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ในทรัพย์สินของ สถาบัน และจำหน่ายทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มี ผู้อุทิศให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ของสถาบัน ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาตามมาตรา 17 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนได้ (2) รับค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการในการให้บริการภายใน อำนาจหน้าที่ของสถาบัน รวมทั้งทำความตกลงและกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการนั้น (3) ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน หรือกับองค์การหรือหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ

ดร. กมล เกียรติเรืองกมลา รองผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2559 สภาวิศวกรได้ออกแถลงการณ์สำหรับกรณีความเห็นของบุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวในเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรานั้น เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่ใช่ความเห็นของสภาวิศวกรและไม่มีผลผูกพันที่สภาวิศวกรต้องร่วมรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ปรากฏเป็นข่าวในเว็บไซต์สำนักข่าวอิศราเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 ด้วยแต่อย่างใดกรณีสถาบันการศึกษารับงานที่เข้าข่ายเป็นการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยชี้แจ้งว่า การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของสถาบันการศึกษานั้น สภาวิศวกรพิจารณาเห็นว่ามีประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญ จึงได้เสนอเรื่องหารือต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร เพื่อตีความการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542 กับสถาบันการศึกษาในกรณีรับงานที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 45 และ 47 แห่งพ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542 อีกทั้งได้แจ้งข้อหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาด้วย ซึ่งปัจจุบันเรื่องยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย

ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี โฆษกโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า กรณีที่มีคำกล่าวว่าอธิการบดี สจล. สวมหมวกหลายใบ เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น ขอชี้แจงว่า มหาวิทยาลัยหนึ่งๆ ประกอบด้วยหน่วยงานและคณะต่างๆ ซึ่งมีโครงการ บริการทางวิชาการและความร่วมมือที่ทำร่วมกับภาครัฐและเอกชนมากมาย การที่มหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยเหลือ เป็นคณะทำงาน หรือคณะกรรมการนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้บริหารหรือมหาวิทยาลัยนั้น มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงานเหล่านั้น ถือเป็นการทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ. สจล.ปีพ.ศ. 2551 ส่วนในการดำเนินงานศึกษาวิจัยและออกแบบนั้น สจล.และมข. มิได้มีนโยบายผลักงานให้บริษัทที่ปรึกษา แต่ได้ระดมผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ประวัติศาสตร์ การมีส่วนร่วมของประชาชน ชลศาสตร์ อุทกศาสตร์ และกฎหมาย ส่วนผู้เชี่ยวชาญต่างๆ จะหาทีมหรือระดมทีมงาน หรือแรงงานในการทำงานอย่างไรเป็นดุลยพินิจและการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญนั้นๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ