ประชาชนร้อยละ 50.82 เชื่อปัญหาการถูกล่อลวงผ่าน social media มีแนวโน้มสูงขึ้น ความต้องการหาเพื่อน การขาดความอบอุ่น ความเหงาคือสาเหตุหลัก 3 อันดับที่นำไปสู่การถูกล่อลวง แนะพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนช่วยลดปัญหาการถูกล่อลวงของกลุ่มวัยรุ่น

จันทร์ ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๒๙
ประชาชนร้อยละ 50.82 เชื่อปัญหาการถูกล่อลวงผ่าน social media มีแนวโน้มสูงขึ้น ความต้องการหาเพื่อน การขาดความอบอุ่น ความเหงาคือสาเหตุหลัก 3 อันดับที่นำไปสู่การถูกล่อลวง แนะพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนช่วยลดปัญหาการถูกล่อลวงของกลุ่มวัยรุ่น ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 ถึง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,159 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นและปรากฏเป็นข่าวอยู่เป็นระยะอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นในการติดต่อสื่อสารพูดคุยคือปัญหาการล่อลวงซึ่งมักเกิดจากการติดต่อสื่อสารพูดคุยกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน โดยผู้ที่ต้องการล่อลวงมักจะตีสนิทพูดคุยกับเหยื่อจนทำให้เหยื่อเกิดความไว้ใจหลังจากนั้นจะทำการนัดพบกับเหยื่อตามลำพังซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิง โดยล่อลวงเพื่อนำไปกักขังหน่วงเหนี่ยวและมีเพศสัมพันธ์

ซึ่งปัญหาการล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆถึงแม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามกำหนดแนวทางป้องกันแก้ไขรวมถึงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เตือนสติการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่น ขณะเดียวกันผู้คนในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองได้แสดงความห่วงใยต่อการเข้าถึงการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างง่ายดายของบุตรหลานซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการถูกล่อลวงได้เช่นกัน

จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 51.08 และเพศชายร้อยละ 48.92 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 19 ถึง 22 ปีคิดเป็นร้อยละ 38.14 สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.82 มีความคิดเห็นว่าปัญหาการถูกล่อลวงผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.13 มีความคิดเห็นว่ามีแนวโน้มเท่าเดิม และมีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 16.05 ที่คิดว่ามีแนวโน้มลดลง สำหรับสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่ทำให้เกิดการล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์คือ ความต้องการหาเพื่อนพูดคุยคิดเป็นร้อยละ 83.18 ขาดความอบอุ่น/การดูแลจากคนใกล้ชิดคิดเป็นร้อยละ 80.67 ความเหงาที่ต้องอยู่ตามลำพังคิดเป็นร้อยละ 77.91 การหลงเชื่อคนง่าย/มองโลกในแง่ดีคิดเป็นร้อยละ 75.06 และการขาดความรอบคอบ/ยั้งคิดคิดเป็นร้อยละ 72.13 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 48.49 เชื่อว่าผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็นเพศชายมีโอกาสถูกล่อลวงได้เช่นเดียวกับผู้ใช้งานที่เป็นเพศหญิง

ในด้านพฤติกรรมการติดต่อพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น กลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.81 ยอมรับว่า ภายในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ตนเองมีการติดต่อพูดคุยกับผู้ที่รู้จักกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยที่ยังไม่เคยพบหน้ากัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.19 ระบุว่าไม่มี ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.41 ระบุว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา ตนเองติดต่อพูดคุยกับผู้ที่รู้จักกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยที่ยังไม่เคยพบหน้ากันเพียง 1 คน ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.59 ยอมรับว่าตนเองติดต่อพูดคุยมากกว่าหนึ่งคน อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.36 ระบุว่าหากผู้ที่ตนเองรู้จักผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ต้องการนัดให้ตนเดินทางไปตามลำพังเพื่อพบหน้ากัน ตนจะไม่ไป ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 19.84 ยอมรับว่าจะไปพบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.8 ไม่แน่ใจ และกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.21 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกกลัวถูกล่อลวงจากบุคคลที่รู้จักกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยที่ยังไม่เคยพบหน้ากัน

ในด้านความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาการถูกล่อลวงผ่านการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 68.33 มีความคิดเห็นว่าภายในระยะเวลา 3 – 5 ปี ปัญหาการถูกล่อลวงผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์จะได้รับการแก้ไขให้หมดไปจากสังคมไทยไม่ได้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.75 มีความคิดเห็นว่าการจำกัดอายุผู้ที่สามารถใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนช่วยลดปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.69 มีความคิดเห็นว่าไม่มีส่วน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.56 ไม่แน่ใจ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 53.84 มีความคิดเห็นว่าการเพิ่มโทษกับผู้ที่ล่อลวงผู้อื่นผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้หนักขึ้นจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.5 มีความคิดเห็นว่าไม่มีส่วน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.66 ไม่แน่ใจ

และสำหรับบุคคลที่มีส่วนช่วยเตือนสติให้ระมัดระวังปัญหาการถูกล่อลวงผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้มากที่สุด 5 อันดับคือ พ่อแม่ผู้ปกครองคิดเป็นร้อยละ 82.83 ครูอาจารย์/หัวหน้างานคิดเป็นร้อยละ 80.93 บุคคลที่มีประสบการณ์จากการถูกล่อลวงคิดเป็นร้อยละ 78.08 เพื่อนฝูงคิดเป็นร้อยละ 75.32 และบุคคลรอบๆตัวในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 72.39 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.77 ระบุว่าสื่อสารมวลชน ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4