Cheke point เยาวชนพลเมืองภาคตะวันตก “สำนึกพลเมือง” เกิดขึ้นได้อย่างไร

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๑:๒๕

"ในอดีตพวกเราไม่สนใจอะไรในชุมชนเพราะพวกเราเรียนกันเพียงอย่างเดียวไม่สนใจกิจกรรม..

แต่วันนี้พวกเรารู้สึกว่ากำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและรู้สึกภูมิใจกับชุมชนที่ตนเองอยู่ เวลาลงชุมชนพวกเรารู้สึกภูมิใจที่สามารถทำให้คนในชุมชนมีรอยยิ้มและดูมีความสุข เราก็เหนือยนะกับการลงพื้นที่ แต่มันเป็นความเหนื่อยที่มีความสุข เพราะเราเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ เริ่มใช้ใจในการทำงานหนื่อยเพียงไหนเราก็มีความสุข และคิดว่าสิ่งที่เรากำลังทำนี้ คือ "ความรับผิดชอบที่เราต้องมีต่อบ้านของเรา..."

นี่คือเสียงสะท้อนจากเยาวชนภาคตะวันตก ทั้ง 24 ทีม ภายใต้โครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ปี 2 (ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรระดับจังหวัดเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่) จาก "เวทีนับสี่ Cheke point พลเมือง" ดำเนินงานโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.สมุทรสงคราม สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ฮาโมนี รีสอร์ท อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี วันที่ 21 - 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

คุณชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ ผู้บริหารโครงการฯ เผยว่าในเวทีครั้งนี้ มีโจทย์สำคัญคือการพาให้น้องๆไปถึง "คุณค่า" ของคำว่า "สำนึกพลเมือง" "เพื่อมาเช็คว่าน้องๆ เหล่านี้ได้ใช้กระบวนการที่โครงการได้เติมเต็มให้ตั้งแต่เวทีนับ 1-เวทีนับ 3 (ความรู้หลัก ทั้งการบริหารจัดการโครงการ ทักษะ (สุ จิ ปุ ลิ) สำนึกพลเมือง ภูมิสังคมภาคตะวันตก การมีส่วนร่วม สิทธิ-หน้าที่และการทำงานเป็นทีม และได้ความรู้เฉพาะจากการลงพื้นที่และการปฏิบัติจริงกับทีมพี่เลี้ยงที่เกาะติดเยาวชน ทั้งความรู้เรื่องสถานการณ์พื้นที่ ข้อมูลบริบทชุมชน ทุนในชุมชน เครื่องมือการศึกษาชุมชน และความรู้เชิงวิชาการ/เทคโนโลยี) นำไปลงมือปฏิบัติการทำงานกับโครงการเราหรือไม่ "เราให้น้องไปล้างห้องน้ำเพื่อคนอื่น จากนับ 1 เริ่มดูบริบทชุมชนเรื่องที่เราจะทำอยากทำคือเรื่องอะไร และโครงการมีเป้าหมายอะไร กิจกรรมนับ 2 สิ่งที่เราอยากจะทำโครงการใช่หรือไม่ ในกิจกรรมนับ 3 "ซึ่งเราได้เน้นกับน้องๆว่า เราไม่ได้เช็คความสำเร็จของโครงการ แต่เราเช็คว่ากิจกรรมเหล่านี้ ทำให้การเป็น "พลเมือง" เกิดขึ้นในตัวน้องๆหรือไม่ และน้องๆจะเข้าใจคำว่า "พลเมือง" เด่นชัดหรือเปล่า หรือเข้าใจแค่เป็น "นักกิจกรรม" ทำ "กิจกรรม" ให้เสร็จ โดยที่ไม่ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง"

ทางโครงการจึงใช้เครื่องมือ เช็ค Point 1 เปิดหู เปิดตา เพื่อเช็ค "สำนึกพลเมือง" จากการทำงานเพื่อชุมชนเริ่มเช็คตั้งแต่ 1."Check กาย" การลงมือทำโครงการเพื่อชุมชนที่แสดงถึงความเป็นสำนึกพลเมือง และเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความสามารถจากการลงมือทำงาน 2."Check ปาก" การพูดคุย สื่อสาร กับเพื่อนในทีม ชุมชน พี่เลี้ยง 3."Check ดวงตา" มุมมองที่ไม่เคยมองเห็นชุมชนมาก่อน ด้วยสายตาคู่ใหม่ที่ได้จากโครงการ 4."Check หู" เรื่องราวหรือความรู้ใหม่ๆที่ได้ฟังตลอดการเข้าร่วมโครงการ 5."Check สมอง" ความคิด การวิเคราะห์ และความเชื่อมโยงตนเองกับชุมชน และ 6"Check ใจ" เกิดความรู้สึก และคุณค่าที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งที่น้องๆ สะท้อนออกมาและถูกเขียนด้วยลายมือบนฟลิปชาร์ตและพี่ๆ ช่วยกันนำเนื้อหามาร้อยกันเป็นข้อความข้างต้นนั่นเอง ซึ่งล้วนสะท้อนความรู้สึกความเป็น "พลเมือง" ออกมาให้เห็น

น.ส.ปภาวรินทร์ ประชานิยม (ลัก) อายุ 16 ปี จากโครงการจุ๊เมิญร่วมสะท้อนว่า "เราต้องไปลงในพื้นที่ มีคนดูถูกว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ทำไปก็แค่นั้น แต่ว่าความรู้สึกที่เขาพูดทำให้เรามีแรงผลักดัน ทำให้เราทำผลงานได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่เราทำมาเราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เพื่อท้องถิ่นตนเองแต่เราทำมาเพื่อทุกคน เราทำเพื่อตำบล และจังหวัดของเรา" ส่วนน้องเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในโครงการอีกคนหนึ่ง ได้ร่วมสะท้อนว่า "ไม่ได้อยู่ในโครงการแต่อยากมาช่วยเพื่อนพัฒนาสังคมและชุมชนที่ตนเองอยู่ คนในกลุ่มเริ่มออกไปเรียนและออกไปทำงานช่วยพ่อแม่ หนูก็เสียสละเวลาส่วนตัวของหนูมาทำงานชุมชนกับเพื่อนๆ ค่ะ"

และพี่เลี้ยงได้สะท้อนภาพความเป็นพลเมืองอีกด้วย โดยนายสมนึก เทศอ้น พี่เลี้ยงโครงการน้ำต่อชีวิต (ห้วยสงสัย) เล่าให้ฟังว่าเมื่อเช้าตื่นขึ้นมา ระหว่างเดินเล่นในที่พักได้เห็นน้องๆ ในโครงการของเราช่วยเก็บจานชามที่วางระเกะระกะในโรงอาหาร สิ่งที่เห็นนี่เป็นการสะท้อนภาพการเป็นพลเมืองชัด "นี่คือสำนึกของพลเมือง คิดว่าโครงการนี้เปลี่ยนน้องๆ ได้ โดยที่ไม่ใช่ทำเพื่อตนเองนะครับ แต่ทำเพื่อชุมชนโดยแท้ สิ่งที่เห็นนี้น่าจะนำมาสะท้อนให้พวกเราได้เห็นได้ว่าเราได้อะไรกลับไป"

คุณฐิติมา เวชพงค์ โครงการศึกษาระบบบริหารจัดการน้ำทิ้งในมหาวิทยาลัย (ทีมหญ้าสาน 2) "จุดหนึ่งที่เห็นชัด เห็นความเป็นพี่ เห็นความเป็นน้อง ไม่ต้องบอกว่างานนี้พี่ต้องทำ งานนี้น้องต้องทำ ชัดจากการแสดงที่ใช้เวลาเพียงสองชั่วโมงในการแสดง เห็นพัฒนารุ่น 1 รุ่น 2 เห็นชัดคืออาสา เมื่อคุณคนหนึ่งอาสาที่จะทำสิ่งๆ หนึ่ง แล้วรวมกันหลายๆ คนมันก็กระเพื่อมเหมือนเมฆ เมื่อก้อนเมฆรวมกันหนักๆ ก็จะกลายเป็นฝน ประเทศไทยแห้งแล้งต้องการน้ำฝน ประเทศไทยก็เหมือนกับพวกเราที่กำลังรอ "พลเมือง" อย่างเรานั่นแหละ คุณเป็นจุดเล็ก ๆ ที่กำลังก่อเกิดและรวมตัวกันเพื่อสร้าง "พลเมือง" ที่ดีที่สุด เป็นแกนนำที่น่ารัก ค่อยๆก่อเกิดและขยับขึ้น ชื่นชมทุกคน..."

วันสุดท้ายก่อนกลับพี่เลี้ยงได้ทิ้งโจทย์ให้น้องๆ กลับไปคิดกันต่อว่า หลังจากลงชุมชนแล้วน้องๆ เห็นสถานการณ์อะไรบ้าง?" 1.สถานการณ์สุข สิ่งดีๆ ทุกข์ 2.เห็นสถานการณ์แบบนี้แล้วรู้สึกอย่างไร และ 3.ในฐานะที่เราเป็นเยาวชน เราสามารถทำอะไรได้บ้าง? คำถามชวนคิดเหล่านี้ เพื่อให้เยาวชนได้ค้นพบ "ความเป็นพลเมือง" ในตัวตนของตนเอง เมื่อรู้แล้วว่า "พลเมือง" เกิดขึ้นได้อย่างไร และตอนไหนแล้ว น้องๆ เหล่านี้คือ "ผู้พิสูจน์ผล" ของกระบวนการบ่มเพาะเยาวชนที่ได้ผล และหวังว่ากระบวนการแบบนี้ น่าจะเป็น "คำตอบ" ที่ทำให้ "ผู้ใหญ่" ได้เรียนรู้วิธีในการปลุก "สำนึก" ความเป็นพลเมืองในตัว "เยาวชน" ถ้าเป็นแบบนี้ "เยาวชนพลเมือง" จะเต็มบ้านเต็มเมืองอีกในไม่ช้า #www.scbfoundation.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4