ตามติดโครงการตลาดเกษตรกร สศก. ย้ำ สินค้าได้คุณภาพปลอดภัย มีการสุ่มตรวจสารพิษทุกเดือน

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๑
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามโครงการตลาดเกษตรกร เผย มูลค่าการจำหน่ายสินค้าในแต่ละครั้งเฉลี่ย 57,800 บาท/ครั้ง/สัปดาห์ หรือ ประมาณ 3 ล้านบาท/ปี โดยร้อยละ 81 เป็นสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัย ย้ำ มีการสุ่มตรวจสอบสารพิษตกค้างเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

นางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามการดำเนินงานโครงการตลาดเกษตรกร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 ภายใต้สโลแกน เกษตรกรจริงๆ ทุกสิ่งปลอดภัย เพื่อจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรเป็นผู้จัดจำหน่ายโดยตรง ซึ่งการติดตามประเมินผลครั้งนี้ สศก. ได้ลงพื้นที่สอบถามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมที่ผ่านมา รวม 25 จังหวัด พบว่า

ตลาดเกษตรกรมีมูลค่าการจำหน่ายสินค้าในแต่ละครั้ง เฉลี่ย 57,800 บาท/ครั้ง/สัปดาห์ หรือประมาณ 3 ล้านบาท/ปี โดยมูลค่าการจำหน่ายมีค่าต่ำสุด ถึง สูงสุดอยู่ที่ 20,000 – 140,000 บาท สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีคุณภาพและเป็นสินค้าปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 81 ส่วนที่เหลือร้อยละ 19 บางส่วนอยู่ระหว่างการขอการรับรองมาตรฐาน และบางส่วนเป็นเกษตรกรที่มีข้อจำกัดไม่สามารถเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานได้แต่เป็นสินค้าปลอดภัยที่คณะกรรมการตลาดรับรองและอนุญาตให้เข้ามาจำหน่ายในตลาดได้ โดยแต่ละตลาดยังมีการสุ่มตรวจสอบสารพิษตกค้างเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

นอกจากนี้ พบว่า สินค้าที่นำมาจำหน่ายเริ่มเป็นสินค้าใหม่มากขึ้น และมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ หรือเป็นสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะถิ่น และจากนโยบายที่ต้องการให้มีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม (Corporate Social Responsibility : CSR ) ขณะนี้ มีตลาดที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐวิสาหกิจ เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน และ อื่นๆ แล้วคิดเป็นร้อยละ 57 โดยมีการสนับสนุนจำพวกเต็นท์ ถุงพลาสติก และป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

สำหรับข้อเสนอแนะที่ค้นพบ คือ ควรพัฒนารูปแบบการบรรจุภัณฑ์เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากยิ่งขึ้น และ ควรพัฒนาสถานที่ให้เป็นตลาดถาวร เนื่องจากสถานที่จัดตลาดเกษตรกร บางแห่งพื้นที่จัดไม่เหมาะสม เช่น จัดในสวนสาธารณะ ถนน หรือลานจอดรถ ทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาให้ยั่งยืน โดยควรมีการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อการพัฒนาในแต่ละด้าน เช่น การอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสารตกค้าง เป็นต้น ทั้งนี้ สศก. จะยังคงติดตามการดำเนินโครงการเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ ได้จัดทีมเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามการดำเนินงานอีกระยะ รวมกว่า 20 จังหวัด ซึ่งจะมีการรายงานภาพรวมโครงการให้ทราบในระยะต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital