มทร.ธัญบุรี เจ๋งผลิตรถตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมัน เครื่องแรกในไทย

อังคาร ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๕๗
ผศ.ดร.ศิริชัย ต่อสกุล และผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี พร้อมทีมผู้วิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ธัญบุรี ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)สำนักงานคณะกรรมการวิจัย (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และสมาคมชาวสวนปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนารถตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมันอเนกประสงค์ คันแรกของเมืองไทย เพื่อลดการใช้แรงงานคนในการเก็บผลผลิต และค่าแรงที่สูงขึ้น แก้ปัญหาการใช้เวลาในการขนถ่ายทะลายปาล์มน้ำมันไปสู่โรงงาน รวมทั้งพื้นที่การเก็บผลผลิตที่มีสภาพเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนที่

ผศ.ดร.ศิริชัย เปิดเผยว่า ในการเก็บทะลายปาล์มน้ำมันจากต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากนั้น จะต้องใช้กำลังคนในการตัดและเก็บจำนวนมาก เนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันมีความสูงมากกว่า 8 เมตร ต้องใช้เคียวด้ามยาวในการตัด ซึ่งการใช้งานเคียวสำหรับตัดนั้น ผู้ใช้จะต้องมีทักษะในการทำงานสูง อีกทั้งยังต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เพื่อช่วยในการพยุงเคียวและบังคับเคียวให้ตัดได้ถูกตำแหน่ง ความสูงของต้นปาล์มน้ำมัน เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งการตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจทำให้ทะลายปาล์มน้ำมันที่ถูกตัดเสียหายจากการตัด ทำให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีคุณภาพลดลง การขนส่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาในเการเก็บทะลายปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูก กว่าร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ลาดชัน สภาพเอียงสูง เป็นแอ่งบางส่วน หากมีฝนตกจะเกิดเป็นดินโคลนยากลำบากต่อการเก็บและขนส่ง

ทีมงานผู้วิจัยจึงออกแบบ และพัฒนาตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมันแบบเอนกประสงค์ขึ้นมา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง การตัด และเก็บ ทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างบูรณาการระหว่างระบบขับเคลื่อนกับระบบยก ระบบเท และเก็บทะลายปาล์มน้ำมัน ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสามารถในการช่วยยกตัว ผู้ตัดทะลายปาล์มน้ำมัน ให้สูงขึ้นจากพื้นดิน4.5 เมตร ทำให้มีความสามารถขับเคลื่อนไปได้ในสภาพพื้นที่ที่เป็นอุปสรรค ด้วยความเร็วสูงสุด 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความสามารถในการช่วยยกตัวผุ้ตัดทะลายปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นจากพื้นดิน 1.7 – 4.5 เมตร อีกทั้งยังมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายทะลายปาล์มน้ำมันจากพื้นดินขึ้นสู่กระบะบรรทุก ด้วยการใช้ชุดคีบ ที่มีรัศมีการทำงาน 3.5 เมตร และสามารถบรรทุกทะลายปาล์มน้ำมันเพื่อการขนย้ายได้ถึง 1.5 ตัน โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่สารมารถทำงานได้จริงตรงกับวัตถุประสงค์ และสามารถลดแรงงานลงมากกว่า 50 - 60 %

จากการวิเคราะห์ในกรณีที่เกษตรนำรถตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมันเอนกประสงค์ มาเปรียบเทียบกับการตัดและเก็บด้วยแรงงานคนที่มีค่าแรง 300,000 บาทต่อพื้นที่ปลูก 100 ไร่ แต่หากใช้รถตัดและเก็บทะลายปาล็มน้ำมันเอนกประสงค์จะมีค่าใช้จ่ายเหลือเพียง 260,000 บาท และลดคนงานจาก 5 คน เหลือเพียง 2 คน อย่างไรก็ตามหากมีการใช้งานรถตัด และเก็บทะลายปาล์มน้ำมันเอนกประสงค์ ในพื้นที่ปลูกมากกว่า 100 ไร่ จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานในการตัด และเก็บด้วยแรงงานคนปกติ วันละ 300 บาทจำนวน 5 คน จะเห็นว่าต้นทุนในการใช้งานของเกษตรกรจะลดลงเมื่อพื้นที่การใช้งานเกษตรกรมากขึ้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ผศ.ดร.ศิริชัย ต่อสกุล081 701 6136

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4