มรภ.สงขลา ปั้นกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะ จะนะ รับโล่หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ

จันทร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๕๑
มรภ.สงขลา สวมบทพี่เลี้ยงพัฒนากลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะ อ.จะนะ ใช้เวลา 3 ปีก้าวข้ามอุปสรรคสู่ความสำเร็จ ติด 1 ใน 21 หมู่บ้านทั่วประเทศ รับโล่หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.เสาวนิตย์ ชอบบุญ อาจารย์ประจำโปรแกรมชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ในฐานะหัวหน้าโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเครื่องแกง พร้อมด้วย ดร.สุวรรณี พรหมศิริ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และ นายอ่ำ บุญเรืองรุ่ง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงทุ่งเอาะ ต.สะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา รับมอบโล่หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก นายสมชาย เทียมบุญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการประชุมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ประจำปี 2559 โดยมี 21 หมู่บ้านทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้

ผศ.เสาวนิตย์ กล่าวว่า หมู่บ้านเครื่องแกงทุ่งเอาะก่อตั้งเมื่อปี 2551 ได้รับการพัฒนาและยกระดับเป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2559 จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เริ่มจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ได้รับเรื่องขอความช่วยเหลือจากกลุ่มวิสาหกิจชุมเครื่องแกงบ้านทุ่งเอาะ ให้ช่วยแก้ปัญหาการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์แกง และช่วยยืดอายุการเก็บเครื่องแกง หลังจากนั้นคณาจารย์ได้เข้าให้การอบรม แต่เนื่องจากทางคณะมีงบประมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการปรับปรุงโรงเรือน จึงขอทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้อบรมให้ความรู้และปรับปรุงโรงเรือน โดยได้รับทุนสนับสนุนปี พ.ศ. 2556-2558 หลังจากได้รับทุนทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านทุ่งเอาะ ผลิตเครื่องแกงเพิ่มขึ้น จากเดิมสัปดาห์ละประมาณ 50-60 กก. เพิ่มเป็น 200-220 กก. หรือประมาณ 3 เท่า โดยกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากสมาชิกหาตลาดเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยสาเหตุทางเศรษฐกิจตกต่ำ ราคายางพาราลดลง ทำให้มีการชะลอบ้าง แต่ยังสามารถดำเนินกรรมอยู่ได้ นอกจากนี้ ในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานบวช หรืองานแต่งงาน จะมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น ตามแต่ความต้องการของท้องถิ่น

หัวหน้าโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ กล่าวว่า ความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้าน ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น เนื่องจากมีสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตมากขึ้น ประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความยั่งยืน สามารถอยู่รอดได้ เนื่องจากมีอาคารและอุปกรณ์ได้มาตรฐานการผลิต มีบุคคลที่เชี่ยวชาญ แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน และท้องถิ่นมีเครื่องแกงที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อย. ไม่มีการผสมสารกันบูด จำหน่าย ที่สำคัญ กลุ่มวิสาหกิจชุมเครื่องแกงบ้านทุ่งเอาะ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและนักศึกษาในท้องถิ่น โดยสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาดูงาน ไปเป็นแนวทางในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4