CMMU ชี้ ธุรกิจออนไลน์เสี่ยงพบทางตัน พร้อมแนะกลยุทธ์O2Oขยายฐานธุรกิจสู่ความยั่งยืน

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๖:๑๓
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ชี้ธุรกิจออนไลน์เสี่ยงพบทางตันในระยะ 3 – 5 ปีหากไม่ปรับตัวเจาะตลาดออฟไลน์ควบคู่กันไปอาจประสบปัญหาธุรกิจหยุดชะงัก พร้อมแนะผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ใช้กลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์ (โอทูโอ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างเม็ดเงินโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ต้องปรับตัวได้แก่ธุรกิจฟินเทค (FinTech) ธุรกิจรีเทล (Retail) และธุรกิจบริการผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจออนไลน์มักประสบปัญหา 3 เรื่องหลัก ได้แก่ ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) ขาดช่องทางกระจายสินค้าและบริการ (Distribution) และปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดงานสัมมนา SIE Seminar ตอนที่ 5"O2O Online to Offline กลับด้านความคิดพิชิตเงินล้าน" เมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

นายกิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)กล่าวว่า ในปัจจุบันกระแสธุรกิจออนไลน์บนโลกยุคดิจิทัลมาแรง ทั้งกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้ประกอบการรวมกว่า 500,000 ราย มูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านบาท (ที่มา: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.)) และกลุ่มสตาร์ทอัพที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วง 2 – 3 ปีนี้ รวมเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท (ที่มา: สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่) ซึ่งสำหรับธุรกิจออนไลน์บางประเภทนั้น วัฏจักรของธุรกิจหรือBusiness Cycle สั้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยน ขยับขยายแล้วนั้น ธุรกิจอาจเรียกได้ว่าถึงทางตัน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจฟินเทค (FinTech) รีเทล (Retail) และธุรกิจบริการผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ที่ใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยหลัก (เช่น รับทำความสะอาด รับสร้างบ้าน ฯลฯ) ซึ่งล้วนเป็นธุรกิจที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงแพลตฟอร์มประสานระหว่างผู้ใช้บริการและผู้บริการ ทั้งนี้ หนึ่งในทางออกสำหรับป้องกันปัญหาดังกล่าวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ทั้งหลายได้แก่ กลยุทธ์โอทูโอ หรือกลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์

นายกิตติชัย กล่าวต่อว่า โอทูโอ ออนไลน์ทูออฟไลน์ (O2O – Online to Offline) คือกลยุทธ์ธุรกิจ (Corporate Strategy) แบบผสมผสานที่สามารถเจาะตลาดอย่างมีประสิทธิภาพทั้งบนตลาดออนไลน์และตลาดออฟไลน์ กรณีศึกษาที่เห็นได้เชิงประจักษ์กรณีหนึ่ง คือ แนวโน้มการปรับใช้กลยุทธ์ดังกล่าวของกลุ่มธุรกิจออนไลน์ในประเทศจีน ซึ่งกลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์ สามารถแก้ปัญหาวัฏจักรของธุรกิจออนไลน์ที่อาจถึงจุดอิ่มตัวเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 –5 โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่รูปแบบธุรกิจออกแบบมาให้มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง (accelerate growth) ดังนั้นโจทย์ในการขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุม จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายเป็นอย่างมากของเหล่าผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยธุรกิจออนไลน์ยังมี 3 ปัจจัยหลักส่งผลกระทบทำให้ธุรกิจไม่อาจทำได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ได้แก่

1. ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) – ถึงแม้ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีการตรวจพบกรณีมิจฉาชีพหลอกลวงผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2558 ที่ผ่านมาพบกรณีฉ้อโกงจากการซื้อ-ขายทางออนไลน์จำนวน 608 ราย (ที่มา: ตำรวจปราบปรามการทำความผิดทางออนไลน์(ปอท.))ซึ่งทำให้ปัจจุบันยังมีผู้บริโภคกว่า 60%ที่ยังไม่เชื่อมั่นในระบบออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าสูงต่างๆ ที่ผู้บริโภคในประเทศไทยยังคงนิยมการเข้าไปสัมผัสและทดลองที่ร้านค้า นอกจากนี้ปัจจัยด้านการขาดความน่าเชื่อถือยังครอบคลุมถึงพฤติกรรมของลูกค้าบางกลุ่มที่ยังคงยึดติดการตัดสินใจซื้อซึ่งตนเองต้องการพิจารณา เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ตนต้องการจากหน้าร้านเท่านั้น ฉะนั้นลูกค้ากลุ่มนี้จึงไม่ให้ความน่าเชื่อถือต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ที่เกิดขึ้น

2. ขาดช่องทางการกระจายสินค้าและบริการ (Distribution)– ธุรกิจออนไลน์ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะเหล่าสตาร์ทอัพจะให้ความสำคัญหลักเพียงแค่กลุ่มผู้ใช้ในเขตกรุงเทพฯ หากต้องการจะที่ขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนแล้วนั้น ต้องรองรับการเพิ่มด้านออฟไลน์เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วนมากขึ้น

3. ปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) –การเติบโตของกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี2559 มีผู้สูงอายุ 50 – 70 ปี มากถึงกว่า 15.6 ล้านคนทั่วประเทศ (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)) ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากกำลังซื้อของกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 4 ของการใช้จ่ายของประชากรทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ดี สำหรับในประเทศกำลังพัฒนา กลุ่มผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ มีอัตราการยอมรับการใช้เทคโนโลยีค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยอุปสรรคต่อการขยายตลาดและฐานลูกค้าสำหรับธุรกิจแบบออนไลน์อีกด้วย

นอกจากนี้กลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์ยังสามารถประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเม็ดเงินให้แก่ธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจรีเทลหรือธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ที่ไม่สามารถปิดการขายได้เท่ากับการทำธุรกิจหน้าร้านเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป นายกิตติชัย กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นประยุกต์ใช้กลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์เข้าสู่ธุรกิจ ควรเริ่มต้นด้วยการวางแผนธุรกิจอย่างชัดเจนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในช่วงเริ่มต้นให้ใช้รูปแบบธุรกิจออนไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ การที่สามารถเริ่มต้นและขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและต้นทุนธุรกิจที่ต่ำกว่ารวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้จริง จากนั้นเมื่อเข้าสู่แผนธุรกิจช่วงระยะกลางและระยะยาวแล้วนั้น ควรออกแบบตัวแบบธุรกิจขยายการรองรับธุรกิจออฟไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกันต้องมองหากลยุทธ์ใหม่ๆมาเสริมสำหรับการขยายตัวของธุรกิจ เช่น การสร้างความภักดีในตราสินค้า (Brand Loyalty) ผ่านการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่างๆ เพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจออนไลน์และธุรกิจออฟไลน์นายกิตติชัย กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนายทศพล เมธีธารพงศ์วาณิช หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ชำระเงิน บริษัท เพย์สบาย จำกัด กล่าวเสริมว่ากลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ทูออฟไลน์ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในเมืองไทยควรให้ความสนใจ เนื่องจากกระแสการทำธุรกรรมทางการเงินในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายพร้อมเพย์ของทางรัฐบาล ทำให้ระบบนิเวศทางการเงินออนไลน์กำลังจะเติบโตอย่างสมบูรณ์ การเริ่มต้นธุรกิจด้วยออนไลน์แล้วจึงผันตัวไปออฟไลน์ตามหลักโอทูโอจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรเร่งศึกษา โดยสำหรับ กรณีของเพย์สบายแล้วนั้น ได้ประยุกต์ใช้กลยุทธ์ออนไลน์ทูออฟไลน์ในการขยายบริการชำระค่าบริการออนไลน์ให้มีความหลากหลายครอบคลุมกลุ่มลูกค้า โดยจากการเริ่มต้นด้วยระบบชำระเงินออนไลน์แบบบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) และการชำระผ่านหน้าเคาน์เตอร์ (Counter Service) เพย์สบายได้เพิ่มส่วนของออฟไลน์ โดยการคิดค้นเครื่องรูดบัตรเดบิตและเครดิตแบบพกพาที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และทำธุรกรรมทางการเงินได้ทันที เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน้าร้านออฟไลน์มากขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดงานสัมมนาSIE Seminar ตอนที่ 5"O2O Online to Offline กลับด้านความคิดพิชิตเงินล้าน" เมื่อเร็วๆนี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ