กระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมสถานประกอบการโอปอย หนุนเศรษฐกิจฐานราก

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๑:๑๑
กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAIจังหวัดลำพูน – จังหวัดเชียงใหม่ หนุนเศรษฐกิจฐานรากสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรครบวงจร

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ในภาคเหนือ ได้แก่ บริษัท ไทยอกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน และบริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการฯ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรที่อยู่ในโครงการฯ ให้สามารถบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ได้ทั้งตลาด ในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรอย่างครบวงจร ซึ่งการลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการนับว่ามีผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการเป็นที่น่าพอใจสามารถปรับปรุงคุณภาพการผลิตและพัฒนางานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เข้าเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (One Province One Agro-Industrial Product) OPOAI (โอปอย) เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานจากการเข้าร่วมโครงการฯ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้มีการเติบโตที่ยั่งยืน โดยได้เข้าเยี่ยมสถานประกอบการในภาคเหนือประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ทั้งผัก ผลไม้ และพืชไร่ ประกอบด้วย บริษัท ไทยอกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลเมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประกอบธุรกิจผลิตลิ้นจี่ ลำไย ลูกชิดในน้ำเชื่อม หน่อไม้บรรจุกระป๋อง ข้าวโพดอ่อน ในลักษณะบรรจุถุงสุญญากาศจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ สถานประกอบการแห่งที่สองที่ได้เข้าเยี่ยม คือ บริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ และสมุนไพร ในลักษณะคัดชั่ง และบรรจุถุง มีกลุ่มลูกค้าส่งให้ห้างแม็คโคร 90% จำหน่ายภายในประเทศ 5% และจำหน่ายต่างประเทศในสัดส่วน 5% ได้แก่ จีน อิสราเอล และไต้หวัน

ทั้งนี้จากการเข้าเยี่ยมสถานประกอบการทั้งสองแห่งพบว่า บริษัท ไทยอกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน มีจุดอ่อนด้านความสูญเสียจากกระบวนการผลิต บุคลากรขาดความชำนาญ ยังไม่มีเทคนิคในการลดต้นทุน ขณะที่บริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด มีจุดอ่อนเรื่องคลังสินค้าไม่มีการระบุตำแหน่งการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้มีปัญหาเรื่องการจ่ายสินค้าไม่เป็นระบบ ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการผลิตที่วางไว้ได้ เมื่อทีมที่ปรึกษาได้เข้าไป ให้คำปรึกษาเข้าไปให้คำปรึกษาก็พยายามปรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งผลที่ได้รับก็เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และทางสถานประกอบการก็มีการต่อยอดการพัฒนาโดยใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ทั้ง 2 แห่ง

"การได้ลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งสิ่งที่สถานประกอบการได้รับไม่ใช่แค่การลดต้นทุนในปีที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น สิ่งที่ได้ตามมาคือเรื่องของการบริหารจัดการที่เป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไป ต่อยอดในการพัฒนากับผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังหวังว่า โอปอยจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมกลางน้ำ และสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้กับอุตสาหกรรมปลายน้ำสืบต่อไป" ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

นายภัทรวรรธน์ ปิลังโหลด ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ไทยอกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน กล่าวว่า จากการที่บริษัทได้เข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2559 ประเภทแผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้บริษัทมองเห็นจุดอ่อนภายในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป คือ มีความสูญเสียจากกระบวนการผลิตสูงถึงร้อยละ 0.1472 และพนักงานยังขาดความรู้ ความชำนาญด้านการเพิ่มผลผลิต การตรวจวัดและวิเคราะห์ความสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ

ทีมที่ปรึกษาของโครงการฯ คัดเลือกการเพิ่มผลผลิตด้วยการลดของเสียจากกระบวนการผลิตที่เป็น 1 ใน 7 คือ ผลิตภัณฑ์หน่อไม้ในน้ำเกลือบรรจุถุงขนาด 454 กรัม โดยเลือกทำการศึกษาและลดของเสียจาก "กระบวนการ seal ถุงสุญญากาศ" ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าสามารถลดค่าการเกิดการสูญเสียจากปัญหาเศษติดชีล ลดปริมาณขยะจากการใช้ถุง และน้ำปรุงของหน่อไม้ในน้ำเกลือ จากเดิมร้อยละ 0.796 ลดลงเหลือ 0.018 คิดเป็นร้อยละ 97.74 หรือ ลดต้นทุนการผลิตเท่ากับ 230,127.06 บาท/ปี นอกจากนี้ทางสถานประกอบการยังนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการพัฒนากับผลิตภัณฑ์บรรจุถุงสุญญากาศชนิดอื่น อีก 4 รายการ สามารถลดต้นทุนการผลิตเท่ากับ 1,019,567.00 ซึ่งรวมผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ ในขณะนี้ 1,249,694.06 บาท/ปี

นายภัทรวรรธน์ ปิลังโหลด กล่าวว่า "จากสภาวะเศรษฐกิจการส่งออกที่ชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่จะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสถานการณ์ โดยเฉพาะด้านต้นทุนการผลิตสินค้า ต้องขอขอบคุณทางกระทรวงอุตสาหกรรมที่ให้โอกาสทางบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการโอปอย ซึ่งสามารถตอบโจทย์ และสอดคล้องกับนโยบาย กลยุทธ์ ความต้องการของภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถยกระดับ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจแปรรูปการเกษตร ให้มีการเติบโตในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในก้าวสู่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐบาลต่อไป"

ด้านนางอำไพ ศิริอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศิริเรืองอำไพ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องเทศ และสมุนไพรอบแห้งกล่าวว่า บริษัทได้เข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2559 ประเภทแผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน พบว่าทางบริษัทมีจุดอ่อนเรื่องของคลังสินค้าสำเร็จรูปและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ไม่มีการระบุตำแหน่งการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน อีกทั้งปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่มีคุณภาพ และประเภทแผนงานที่ 5 การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ / ระบบมาตรฐานสากล

ทีมที่ปรึกษาของโครงการฯ ได้เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพโดยมีการทดลองการทำงานเป็นทีมในการแก้ไขข้อบกพร่องแต่ละจุด สามารถลดต้นทุนลดความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่า 365,981 บาท คิดเป็น 31.17% นอกจากนี้ด้รับการตรวจให้การรับรองมาตรฐาน HACCP จากหน่วยงาน Certified Body เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ทำให้ทางบริษัทฯ มีโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2560-2564 จะมีมูลค่าการขายที่เพิ่มขึ้น 13,102,000.- รวมทั้ง 2 แผนงาน ทางบริษัทฯ สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้รวม 13,467,981.00

นางอำไพ ศิริอนันต์ กล่าวว่า "เป็นโชคดีของทางบริษัทของเรามากๆ ที่ได้เข้าร่วมโครงการกับทางกระทรวงอุตสาหกรรม สิ่งที่เราได้รับ คือ แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การลดของเสียในกระบวนการผลิต ทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงความรู้จากการอบรมที่พนักงานได้รับ ยังช่วยพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากรของเรา การทำกิจกรรม QCC แผนภูมิก้างปลา เครื่องมือคุณภาพต่างๆ เป็นสิ่งที่พนักงานได้รับไปแล้วนำไปใช้ต่อได้อีก"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๔๔ กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง
๑๑:๑๑ สาขาการผลิตอีเว้นท์ฯ ม.กรุงเทพ พร้อมผลักดันวงการ T-POP ใน CHECKMATE T-POP DANCE BATTLE
๑๐:๑๓ ฟอร์ติเน็ตผนึกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมเป็นศูนย์กลางภาคเหนือ สร้างกำลังพลมืออาชีพด้านไซเบอร์เต็มรูปแบบ
๑๐:๕๘ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชวนสัมผัสฟาร์มกลางท้องทุ่ง และเรียนรู้อนุรักษ์ควายไทย ในงาน INTO THE FARM มนต์รัก
๑๐:๓๐ วว. แนะวัสดุปลูกต้นอ่อนทานตะวันจากก้อนเห็ดเก่าใช้แล้ว
๑๐:๒๑ MICRO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 ชูกระแสเงินสดแกร่ง - เตรียมชำระคืนหุ้นกู้ 321 ลบ. เม.ย.
๐๙:๔๓ ยางคอนติเนนทอล ฉลองครบรอบความสำเร็จ 15 ปี ในประเทศไทย และการก่อตั้งโรงงานยางคอนติเนนทอลแห่งแรกในประเทศไทยกว่า 5
๐๙:๕๖ เนสท์เล่ ประเทศไทย เร่งเครื่องกลยุทธ์ ขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่อร่อยและมีคุณค่าโภชนาการ
๐๙:๑๑ วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดศูนย์บริการซ่อมตัวถั และสีมาตรฐานครบวงจรแห่งใหม่ ณ โชว์รูมและศูนย์บริการวอลโว่ พระนคร
๐๙:๔๔ HONNE (ฮอนน์) วงดูโอ้สุดแนวจากอังกฤษ ปล่อยเพลงใหม่ Imaginary ต้อนรับศักราชใหม่ เรื่องราวความรักโรแมนติกที่อิงจากชีวิตจริง