สจล.ชี้แจงแบบร่าง วิมานพระอินทร์ มาจากเจดีย์ทรง"จอมแห"และพญานาคและยินดีถอนแบบร่างจากแผนที่ 11เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๗:๐๔
โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ชุมชน ภูมิทัศนวัฒนธรรม ส่งเสริมคุณภาพเชื่อมต่อให้เข้าถึงต่อเนื่องด้วยทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเชื่อมโยงนันทนาการ พื้นที่สีเขียว และระบบขนส่งสาธารณะ โดยกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นที่ปรึกษาการสำรวจ ออกแบบและจัดทำแผนแม่บทระยะทาง 57 กิโลเมตร และออกแบบรายละเอียดสำหรับระยะนำร่อง 14 กิโลเมตร ภายใต้แนวความคิดเจ้าพระยาเพื่อทุกคน นั้น ได้ดำเนินงานจัดทำ 12 แผนรองรับโครงการระยะนำร่อง โดยได้จัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 59 สจล.แจงตลอด 7 เดือน มีคำอ้างหลายเรื่องที่คลาดเคลื่อนข้อเท็จจริง รวมทั้งล่าสุดที่อ้างว่าแบบร่างพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร หรือ วิมานพระอินทร์ มีการลอกแบบจากผู้อื่นนั้นไม่จริง แต่หากเกิดความไม่สบายใจ สจล.ยินดีถอนแบบร่างภาพประกอบจุดหมายตานี้ออกจากแผนที่ 11 คงเหลือแต่เนื้อหาของ จุดหมายตาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะดำเนินการระยะที่ 2 โดยกำหนดส่งมอบงาน 12 แผน แก่กทม.ในวันที่ 26 กย.59ขอความเห็นใจและร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำ (Chao Phraya for All) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ดำเนินงานผลิตบุคลากรจากคณะสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ จำนวนหลายหมื่นคนออกมารับใช้ประเทศ เราพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยผลงานทั้งในด้านวิชาการและปฏิบัติ ตลอดจนเป็นที่พึ่งของสังคม สถาบันฯ ให้ความสำคัญต่อการเคารพและรักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพ การที่เราได้รับความไว้วางใจจากกรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการเจ้าพระยาเพื่อทุกคนก็ด้วยเพราะความพร้อมในทุกด้านของเรา สถาบันให้ความสำคัญต่อการรับฟังความคิดเห็นที่ไร้อคติและเป็นความคิดเห็นที่อยู่บนหลักการของเหตุผลและเคารพซึ่งกันและกัน เราเป็นองค์กรการศึกษาที่ไม่แสวงหากำไร และคำนึงถึงการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมและประเทศชาติ โครงการนี้จึงดำเนินมาด้วยความโปร่งใสงบประมาณของโครงการ 120 ล้าน ส่วนหนึ่งก็กลับมาพัฒนา มหาวิทยาลัยให้กับลูกหลานของเรา ขอให้ทกฝ่ายก้าวข้ามประโยชน์ส่วนตนหันมาร่วมมือกันทำโครงการครั้งประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์ของทุกคน ที่จะฟื้นฟูดูแลแม่น้ำพัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรม คุณภาพชีวิต และการเชื่อมต่อเข้าถึงแม่น้ำของประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน

สัญญาจ้าง 120 ล้านบาท : มี 6 แผนในเฟส 1 ตาม TOR, ส่วนอีก 6 แผน เสนอเพิ่มเป็นเฟส 2

ในงบตามสัญญาจ้างจำนวนเงิน 120 ล้านบาท มอบหมาย สจล.และ มข.เป็นที่ปรึกษาสำรวจ ออกแบบ และจัดทำแผนแม่บท นั้น มีข้อเข้าใจผิดว่ามีเพียงการออกแบบจุดหมายตาพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร หรือ วิมานพระอินทร์ เท่านั้น ในข้อเท็จจริง สจล. มุ่งมั่นการพัฒนาในแนว อนุรักษ์ – สืบสาน– สร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง โดยมี 12 แผน แบ่งเป็น 2 ระยะ (แผนที่ 1-6 อยู่ในระยะดำเนินงานเฟสที่ 1ใน TOR ,แผน 7-12 อยู่ในระยะดำเนินงานในอนาคต เฟสที่ 2) ตามภาพดังนี้

ชี้แจงที่มาภาพร่างวิมานพระอินทร์

เมื่อเร็วๆนี้มีเพจหนึ่งได้แพร่ข่าวอ้างว่าร่างแบบพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร หรือ อาคารวิมานพระอินทร์ ได้ลอกแบบ โดยครั้งแรกอ้างว่าลอกแบบจากบริษัท ฉมา ซึ่งมีนายยศพล บุญสม เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งกลุ่ม Friends Of River และอีกไม่กี่วันถัดมาได้เปลี่ยนมาเป็นคำอ้างว่าลอกแบบโครงการ The Crystal Island ในรัสเซียซึ่งออกแบบโดยนอร์แมน ฟอสเตอร์ สถาปนิกชาวอังกฤษในปี 2007 ซึ่งหยุดการสร้างใน ปี 2009 นอกจากนี้ก่อนหน้ายังมีสถานีรถไฟนาโกย่า ในญี่ปุ่น สร้างในปี 2001 จึงมีข้อกังขาว่าแต่ละแบบ ก็คล้ายคลึงกันตามลำดับเวลา สำหรับเรื่องนี้ สจล. ยินดีเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย

แบบร่างจุดหมายตาริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในแผนที่ 11 เฟสที่ 2 "วิมานพระอินทร์" ไม่ได้ลอกแบบผู้ใด แนวความคิด มีที่มาจากสถาปัตยกรรมเครื่องยอด เจดีย์ทรง "จอมแห" ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาทุกยุคสมัยมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบ ขนาดสัดส่วนฐาน 1 ส่วนและความสูง 2.5 ส่วน ส่วนของผนังภายนอกอาคารได้แรงบันดาลใจจากเกล็ดของพญานาคและลายไทย นั้น เป็นเพียงทำภาพเป็นตัวอย่างประกอบแผน โดยเป็นรูปภาพสามมิติทำขึ้นเพื่อให้เกิดจินตภาพและความเข้าใจแผนได้ง่ายขึ้น มิได้เป็นการออกแบบรายละเอียดเพื่อการก่อสร้างแต่อย่างใด และเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ก็จะถอนแบบออกจากรายงานที่จะนำส่งแก่ กทม. เนื่องจากแบบร่างพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร เป็นเพียงแนวคิดและอยู่ในการดำเนินงานระยะที่ 2 ทาง สจล. จึงเสนอเพียงแผนงานพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานครเท่านั้น ทั้งนี้ในอนาคตการพัฒนาพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร อยู่ในการพิจารณาของ กทม. ในการกำหนดแนวทางและรายละเอียดการออกแบบต่อไป

สจล.มีกำหนดส่งมอบงานแก่กรุงเทพมหานครทั้งหมด ในวันที่ 26 กันยายน 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้