กองทุนพัฒนาสื่อฯเปิดเวทีระดมความคิดเห็นสร้างการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนภารกิจสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๖:๐๑
เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ณ โรงแรม เอสดี อะเวนิว กรุงเทพฯ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สื่อมวลชน เครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน ตลอดจนตัวแทนภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการขับเคลื่อนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมี ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการประชุม

ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า "พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นกฎหมายที่สำคัญฉบับหนึ่งจาก ๑๘๗ ฉบับ ที่รัฐบาลในยุคนี้ ให้ความสำคัญและผลักดันจนมีผลใช้บังคับ เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์ของกฎหมายที่มีต่อสังคม ภายหลังจากที่มีความพยายามในการผลักดันเพื่อให้เกิดกฎหมายฉบับนี้มาเป็นระยะเวลาหลายปี ซึ่งการออกกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นผลสำเร็จของความพยายามร่วมกันระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมกับภาคีเครือข่ายที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่จะมีสื่อดีให้เลือกบริโภคมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะได้รับโอกาส เงินทุนสนับสนุน และเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคม ไปในทิศทางที่ดี"

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า "วัตถุประสงค์ของการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ เกิดจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระยะเริ่มต้น ภายใต้การดูแลของกระทรวงวัฒนธรรมได้ส่งต่อการดำเนินงานให้มา ภายหลังจากที่สำนักงานกองทุนฯ มีบุคลากรเพียงพอที่จะขับเคลื่อนงานได้เอง ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคมได้อย่างครบถ้วน จึงได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กองทุนฯ ได้ทราบถึงทิศทางในอนาคตและความคาดหวังที่สังคมต้องการจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งนี้ กองทุนฯ ได้เตรียมการจัดสรรเงินทุนประมาณ ๑๐๒ ล้านบาท สำหรับสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และได้เตรียมการเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งจัดเวทีระดมความคิดเห็นในปลายเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ โดยอาจแบ่งประเด็นการพิจารณาใน ๕ ประเด็นหลัก ได้แก่ ๑) การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ๒) การพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน ๓) การรู้เท่าทันสื่อ ๔) การผลิตและสร้างนวัตกรรมด้านสื่อ ๕) การเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์"

นับเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและร่วมแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายเพื่อให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง

อันประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัวในทุกภูมิภาคของประเทศ มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ และเป็นแนวร่วมเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม เป็นสื่อที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างระบบและความเข้มแข็งขององค์กรให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา