สศท.5 เปิดผลวิเคราะห์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.ชัยภูมิ แนะเกษตรรวมกลุ่มเพื่อลดต้นทุน

อังคาร ๒๐ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๓:๔๒
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 ปี 2559 จังหวัดชัยภูมิ ระบุ ปี 2559 จะมีผลผลิตรวม 66,280.57 ตัน ช่วงระยะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุด คือ เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม แนะ รวมกลุ่มเกษตรกร ผลิตในปริมาณที่ตลาดต้องการ แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ใช้เองเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทาน (Demand&Supply) ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 ปี 2559 ของจังหวัดชัยภูมิ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) พบว่า ด้านอุปทาน (Supply) สต็อกต้นปีของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 มีประมาณ 1,000 ตัน ซึ่งในปี 2559 คาดว่า จะมีผลผลิตภายในจังหวัด 58,752.51 ตัน และมีการนำเข้าผลผลิตจากจังหวัดใกล้เคียง 6,528.06 ตัน รวมผลผลิต 66,280.57 ตัน ซึ่งช่วงระยะที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุด คือ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2559

ด้านอุปสงค์ คาดว่า จากผลผลิตมีประมาณ 66,280.57 ตัน จะมีการส่งออกผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังแหล่งรับซื้อรวมถึงโรงงานอาหารสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการบริโภค 64,193.26 ตัน และเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อยและกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์ (โคนม ไก่พื้นเมือง และไก่ชน) เพื่อใช้ในจังหวัด จำนวน1,958.40 ตัน โดยแหล่งรับซื้อภายในจังหวัดชัยภูมิยังคงมีการชะลอการขายเพื่อเก็งราคา (สต็อกปลายปี) จำนวน 128.91 ตัน

ช่องทางการส่งออกผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของจังหวัดชัยภูมิ มี 3 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางที่ 1 เกษตรกรนำผลผลิตไปขายให้กับพ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่น (ลานรับซื้อ) คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ช่องทางที่ 2 เกษตรกรนำผลผลิตไปขายให้กับสหกรณ์การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด และ ช่องทางที่ 3 เกษตรจะนำไปขายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 31 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด

จากผลการศึกษาในเรื่องของการกำหนดราคาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดราคา คือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และโรงงานแปรรูปเพื่อการบริโภค ซึ่งในประเทศไทยมีไม่กี่บริษัท ดังนั้น ถ้าหากมีการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือพันธะสัญญา (Contract Farming) ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปริมาณที่ตลาดต้องการ และสามารถสร้างอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการได้ รวมถึงการแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เพื่อใช้เองก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และเป็นการเพิ่มอุปสงค์ภายในจังหวัดเพิ่มขึ้นซึ่งความต้องการรับซื้อผลผลิตก็จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital