กระทรวงเกษตรฯ หารือบราซิล เล็งแลกเปลี่ยนพัฒนาวิจัยงานด้านการเกษตรการจัดการผลิตเอทานอลจากอ้อย หวังนำความรู้มาพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรไทย พร้อมทั้งขยายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกัน

อังคาร ๒๐ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๒:๓๔
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นายบลาโร บอร์เกส มากกี (H.E. Mr. Blairo Borges Maggi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการผลิตอาหาร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตร ตลอดทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยทางบราซิลได้มีความประสงค์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการวิจัยพัฒนาระหว่างประเทศไทย และสถาบัน EMBRAPA หรือองค์การวิจัยเกษตรของบราซิล เนื่องจากบราซิลมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรชั้นสูง และการจัดการการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งหากเกิดความร่วมมือก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนการพัฒนาวิจัยงานด้านการเกษตรอันเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ พร้อมกันนี้ ทางฝ่ายไทยได้แจ้งความประสงค์ให้บราซิลสนับสนุนการนำเข้าข้าวและยางพาราของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิส่งออก ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล และยางพาราธรรมชาติที่มีคุณภาพ โดยไทยได้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปหลายประเทศทั่วโลก โดยขณะเดียวกัน บราซิลก็ได้ขอความร่วมมือให้ไทยช่วยพิจารณานำเข้าเนื้อวัวและไก่ป่นจากบราซิลเช่นกัน

นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการผลิตอาหารของบราซิล โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีเนื้อหาครอบคลุมงานด้านการเกษตรในหลายมิติ ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีด้านการเกษตรทั้งแบบที่ใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งนี้ บราซิลได้ส่งร่างโต้ตอบบันทึกความเข้าใจฯ ให้ฝ่ายไทยแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะพิจารณาร่างโต้ตอบดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ต่อไป

สำหรับด้านการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและบราซิลนั้น ในปี 2558 มีมูลค่าการค้ารวม 127,479 ล้านบาท มีการนำเข้า 66,917 ล้านบาท และการส่งออก 60,562 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวม ไทยทั้งเป็นฝ่ายได้เปรียบและเสียเปรียบดุลการค้าสลับกันกับบราซิล โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง ปลาที่ปรุงแต่งชนิดบด พืชมีชีวิตอื่นๆ (รวมถึงราก) เช่น ต้นกล้วยไม้ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปลา (เช่น กระเพาะปลา เป็นต้น) กิ่งชำที่ไม่มีรากและกิ่งตอน และของปรุงแต่งอื่นๆ ชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ส่วนสินค้าที่นำเข้า ได้แก่ ถั่วเหลือง ที่ไม่ใช้สำหรับทำพันธุ์ กากน้ำมัน (ออยล์ เค้ก) และกากแข็งอื่น ๆ ที่ได้จากการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวสาลี และเมสลินอื่น ๆ เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest