กรมบัญชีกลางนำร่องใช้ Solar cell ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดแห่งแรก

อังคาร ๒๗ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๗:๐๒
กรมบัญชีกลาง นำร่องใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา ถือเป็นส่วนราชการแห่งแรกที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คาดว่าช่วยประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 29,000 บาทต่อเดือน

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ค่าสาธารณูปโภค รายการค่าไฟฟ้า จำนวน 11,313,200 บาท ซึ่งกรมมีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ปีละประมาณ 24 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น กรมบัญชีกลางจึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินในการดำเนินการดังกล่าว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,570,000 บาท กรมบัญชีกลางได้จัดซื้อและติดตั้งระบบฯ จาก การไฟฟ้านครหลวง จำนวน 1 ชุด และจะจัดหาโดยวิธีเช่าอีกจำนวน 1 ชุด ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสองชุดจะมีขนาดผลิตชุดละ 60 kWp รวมเป็น 120 kWp เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการใช้งบประมาณ และส่งเสริมให้ส่วนราชการสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงเวลาปฏิบัติงาน รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 20 ปี และสอดคล้องกับนโยบายประหยัดพลังงานของรัฐบาล

อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า กรมบัญชีกลางเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณดาดฟ้าของอาคารกรมบัญชีกลาง จำนวน 2 อาคาร และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิธีการประเมินความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบดังกล่าว โดยจะมีการเปรียบเทียบและวิเคราะห์จากข้อมูลจริงของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา รวมทั้งวิธีการ ราคากลางที่เหมาะสม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดหาระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดทำคำขอตั้งงบประมาณได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้คำนวณผลการผลิตไฟฟ้า กรณีที่ได้ติดตั้งระบบโดยมีกำลังผลิต จำนวน60 kWp จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้เดือนละประมาณ 7,250 หน่วย และลดภาระค่าใช้จ่ายได้เดือนละประมาณ 29,000 บาท คาดว่าหากติดตั้งระบบครั้งนี้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 10 ปี

"การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา ของกรมบัญชีกลาง ถือเป็นส่วนราชการแห่งแรก ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 กรมบัญชีกลางใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยเดือนละประมาณ 365,500 บาทต่อเดือนหากเราติดตั้งครบทั้ง 120 kWp คาดว่ากรมจะประหยัดงบประมาณไปได้เดือนละประมาณ 58,000 บาท แม้ว่าจะประหยัดงบประมาณได้เพียงส่วนน้อย แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะข้อมูลที่ชัดเจนในการนำต่อยอด และประยุกต์ใช้ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสูดในแต่ละหน่วยงาน" นายมนัสกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๓๘ โอซีซี มอบฝาขวดน้ำ เพื่อทำเก้าอี้ให้น้อง ๆ ในโรงเรียนขาดแคลน
๑๑:๑๘ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดศูนย์ทดสอบหลักสูตร CISA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๑:๓๕ 'ราชบุรี มีลาย' อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ 'ลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง
๑๑:๕๓ พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ ทิพยประกันภัย มอบความสะดวกและรวดเร็ว ซื้อประกันภัยผ่าน QR Code
๑๑:๐๙ FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น
๑๐:๑๙ รมว.อว. เป็นประธานเปิดบูธนิทรรศการผลงาน @ Thai Pavilion พร้อมให้กำลังใจนักประดิษฐ์ไทย นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่
๑๐:๔๖ BRIDGESTONE TURANZA T005 EV ยางพรีเมียมสมรรถนะสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เหนือระดับด้วยเทคโนโลยี ENLITEN(R)ได้รับเลือกเป็นยางล้อมาตรฐานติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ MG4 XPOWER
๐๙:๑๔ อพท. เปิดรับสมัคร สุดยอดนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ชิงเงินรางวัลกว่า 130,000
๐๙:๔๑ หนังสือ Royal Thai Cuisine ตำรับอาหารไทยชาววัง วิทยาลัยดุสิตธานี
๑๘ เม.ย. เด็ก ม.กรุงเทพ ยกทีม คว้าชนะเลิศครีเอทคลิปสั้นได้ใจฟูมาก