สศท.2 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพืชฤดูแล้งภาคเหนือตอนล่าง แนะพืชทางเลือกแก่เกษตรกร

พุธ ๒๑ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๑๔
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 ศึกษาทางเลือกให้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด แจงผลตอบแทนสุทธิของเกษตรกร ในการปลูกข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 ถั่วเหลือง รุ่น 2 และถั่วเขียว รุ่น 2 แนะ เกษตรกร ควรเน้นการปรังปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดมากกว่าปริมาณ

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าข้าว และช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สศท.2) จึงได้ทำการศึกษาวิจัยสินค้าที่จะนำมาปลูกทดแทนข้าวนาปรัง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด (พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์) เพื่อมุ่งเน้นพิจารณามิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนแผนการผลิตพืชใน 1 ปีการเพาะปลูก จำนวน 4 ชนิดพืช ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 ถั่วเหลือง รุ่น 2 และถั่วเขียว รุ่น 2

จากผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่พึงพอใจต่อสินค้าที่เคยผลิต เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง แต่กลับเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่อง การรวมกลุ่ม การถ่ายทอดความรู้ การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่นเดียวกับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยผลการวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนพืช 4 ชนิดพบว่า

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 มีผลตอบแทนสุทธิ 2,145 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงที่สุดเป็นอันอับ 1 รองลงมาเป็นข้าวนาปรัง มีผลตอบแทนสุทธิ 1,549 บาทต่อไร่ ถัดมาเป็นถั่วเขียวผิวมันรุ่น 2 มีผลตอบแทนสุทธิ 1,240 บาทต่อไร่ และ ถั่วเหลือง รุ่น 2 มีผลตอบแทนสุทธิ 345 บาทต่อไร่

ดังนั้น กรณีที่เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนและแหล่งน้ำเพียงพอควรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงที่สุด และกรณีเกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนและแหล่งน้ำไม่เพียงพอควรปลูกถั่วเขียวผิวมัน เนื่องจากเป็นพืชใช้น้ำน้อยและเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพดินอีกด้วย ทั้งนี้ แนวทางการผลิตสินค้าเกษตรกรควรเน้นการปรังปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการมากกว่าการผลิตที่เน้นปริมาณ ซึ่งภาครัฐมีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การสนับสนุนปัจจัยการผลิต แหล่งน้ำ องค์ความรู้ การหาตลาดรองรับผลผลิต และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อการบริหารจัดการสินค้าเกษตรต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าว ได้ศึกษาทัศนคติของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการในระดับพื้นที่เกี่ยวกับความต้องการของตลาด (Demand) ปริมาณผลผลิตในแหล่งผลิตในบริเวณใกล้เคียง และในประเทศ (Supply) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการวางแผนและกำหนดนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำผลการศึกษาไปใช้ประกอบการพิจารณาเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการสินค้าพืชที่ปลูกทดแทนข้าวเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระดับพื้นที่สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป หากท่านที่สนใจและต้องการคำแนะนำ สามารถสอบถามที่ได้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก โทร. 055 322 658 อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้