กปภ. สถาบันอาหาร และ กปน.ประสานเสียง ยันน้ำประปาหุงข้าวได้

พุธ ๒๑ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๒๘
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมมือกับสถาบันอาหาร และ การประปานครหลวง (กปน.) แถลงยืนยันความปลอดภัยจากการใช้น้ำประปาหุงข้าว ณ โซนร้านอาหารบ้านไทย ชั้น 2 ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร ถ.อรุณอัมรินทร์ 36 วันพุธที่ 21 ธันวาคม 2559 เวลา 13.30-14.40 น.

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการ กปภ. เปิดเผยว่า กปภ.ขอยืนยันว่า น้ำประปาปลอดภัยใช้หุงข้าวได้ แม้ว่าการเกิดสารไตรฮาโลมีเทนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งจะเกิดได้จากการทำปฏิกิริยาของคลอรีนกับสารอินทรีย์ในน้ำก็ตาม แต่สารอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาได้ดีจะต้องเป็นกลุ่มของกรดฮิวมิก และกรดฟุลวิก ไม่ใช่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่อย่างเช่น ข้าวสาร หรือแป้งต่าง ๆ อีกทั้งคลอรีนต้องอยู่ในรูปของคลอรีนอิสระ ซึ่งในระบบประปามีการควบคุมการจ่ายคลอรีนให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการฆ่าเชื้อโรค โดยจะมีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือถึงบ้านผู้ใช้น้ำประมาณ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร อีกทั้งการนำน้ำประปาไปใช้เพื่อการหุงต้มจะยิ่งทำให้คลอรีนอิสระดังกล่าวระเหยไปได้เร็วขึ้น ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดสารไตรฮาโลมีเทนจากการนำน้ำประปาไปประกอบอาหารจึงน้อยมาก อย่างไรก็ดี กปภ.ตระหนักถึงคุณภาพน้ำประปาที่ให้บริการแก่ประชาชนเป็นสำคัญ จึงได้มีการทดสอบหาปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนรวมในน้ำประปาเป็นประจำ ตามข้อมูลคุณภาพน้ำของ ปี2555 ถึง 2559 มีค่าผลรวมอัตราส่วนไตรฮาโลมีเทน ในช่วง 0.27 ถึง 0.54 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ดังนั้น ประชาชนผู้ใช้น้ำจึงวางใจได้ว่าประปาปลอดภัยต่อการอุปโภคและบริโภค

นายเสรี ศุภราทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอขอบคุณที่สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ออกแบบงานทดลอง "การหุงข้าวด้วยน้ำประปา" โดยใช้น้ำประปาจากก๊อก และใช้ข้าวสารที่มีจำหน่ายในท้องตลาดคือ ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวเสาไห้ และข้าวไรซ์เบอรรี่ จาก 8 ยี่ห้อ นำมาหุง เก็บตัวอย่าง และทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อหาปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนในทุกขั้นตอนของการหุงข้าว เริ่มตั้งแต่ น้ำประปา ข้าวสาร น้ำซาวข้าว น้ำในขณะหุงข้าว และข้าวหุงสุก พบสารไตรฮาโลมีเทนในน้ำประปา 70 - 73 ไมโครกรัมต่อลิตร ในข้าวสารอยู่ในช่วง 0.60 - 1.20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ในน้ำซาวข้าวอยู่ในช่วง 32 - 42 ไมโครกรัมต่อลิตร ในน้ำขณะหุงข้าวอยู่ในช่วง 49 - 59 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนข้าวหุงสุกอยู่ในช่วง 1.00 - 1.70 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม สรุปผลการทดสอบทุกตัวอย่างมีปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนในระดับต่ำและไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน USEPA มีความปลอดภัยต่อการบริโภค ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจากสารไตรฮาโลมีเทนอย่างแน่นอน จึงเป็นอีกหนึ่งคำยืนยันว่า "น้ำประปาปลอดภัยใช้หุงข้าวได้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest