"กอบกาญจน์"รุกสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนรับต้นปี ลุยเจรจาทวิภาคี 7 ประเทศ หวังต่อยอดสร้างความร่วมมือเส้นทางท่องเที่ยวทางบก ทางน้ำ

พุธ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๗ ๐๙:๑๑
"กอบกาญจน์"รุกสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนรับต้นปี ลุยเจรจาทวิภาคี 7 ประเทศ สิงคโปร์ กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลี จีน หวังต่อยอดสร้างความร่วมมือเส้นทางท่องเที่ยวทางบก ทางน้ำ อ้าแขนรับสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ โยงเส้นทางเรือ Cruise เที่ยวทางเรือสะดวก 2017 เน้น Maritime Tourism และDigital Tourism รับ ไทยแลนด์ 4.0 สู่ระดับ Asean Connect

นางกอบกาญจน์ วัฒวรางกูรรมว.ท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งเดินหน้าในการสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน ในรูป Asean Connect กับหลายประเทศ โดยเสนอ แนวคิดสำคัญในที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ที่สิงค์โปรเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่อง การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางน้ำ (Maritime Tourism) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว (Digital Tourism) เพื่อรองรับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคปัจจุบัน ที่นิยมค้นหาข้อมูลผ่านมือถือและเดินทางมาเอง อีกทั้งยังเสนอให้กลุ่มประเทศอาเซียน นำเสนอ "กฎข้อบังคับล่าสุดในการส่งเสริมลงทุนด้านการบริการและธุรกิจท่องเที่ยว" ในเวทีการประชุมของสภาการท่องเที่ยวโลก World Tourism Congress (WTTC) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไทยในเดือนเมษายน นี้

นอกจากนี้ได้มีการหารือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์ กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลี จีนโดยหลายประเทศมีข้อตกลงและบรรยากาศการลงนามความร่วมมือที่คืบหน้าไปมากและเห็นผลความร่วมมือในการต่อยอดเชิงเศรษฐกิจระหว่างกันได้ชัด

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า ในด้านการหารือทวิภาคีกัมพูชา และทวิภาคีกับสปป.ลาว คือการได้ข้อหารือว่าจะร่วมจัดงาน TTM Plus 2017 ที่เชียงใหม่ โดยการจัด Post Tour สำหรับ Buyer ที่จะเดินทางมาร่วมงาน เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว เชียงใหม่ - เชียงราย - หลวงพระบาง และเชียงใหม-กทม. - จันทบุรี - ตราด - เสียมราฐ ร่วมกันส่งเสริมให้อาเซียน เป็น Marina Hub และผลักดัน Tourism for All ให้เกิดผลอย่างจริงจัง

ส่วนในด้านการสร้างความพร้อมให้การท่องเที่ยวทางน้ำ (Maritime Tourism) สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือบริษัทเดินเรือ Cruise ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ในธุรกิจเรือสำราญ 2 บริษัท เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวทางน้ำ พัฒนาศักยภาพท่าเรือของไทย ให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่ล่องเรือสำราญ พูดคุยกับ Genting Hong Kong และ Carnival Corporation ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ต่างเห็นโอกาสในการลงทุนพัฒนาท่าเรือของไทย รวมถึงศักยภาพในการเป็น Home Port เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเรือสำราญ ทั้งนี้ การพัฒนาท่าเรือ จำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากท้องถิ่น เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยเรือสำราญ ต่อ 1 ลำ มีจำนวนมาก และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวใช้จ่าย กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ท่าเรือควรอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวมากนัก หรือใช้เวลาขับรถไปไม่เกิน 1 ชม.

ทั้งนี้ช่วงกลางเดือนม.คนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมด้านการท่องเที่ยว กับเวียดนาม ซึ่งเป็นแผนระยะ 1 ปี 2017-2018 โดยสาระสำคัญของแผน คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล การพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการท่องเที่ยว และข้อมูลทางการตลาด ด้านการหารือทวิภาคี ศูนย์อาเซียน-เกาหลี (ASEAN Korea Center) โดยทางศูนย์ขอให้ประเทศไทยให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ทางศูนย์จะจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การท่องเที่ยวชุมชน การส่งเสริมศักยภาพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งตรงกับสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญอยู่แล้ว และยินดีให้การสนับสนุนเข้าร่วมโครงการ

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า การผลักดันภารกิจ ASEAN Connect ต่อเนื่อง นั้นได้มีการการหารือทวิภาคีศูนย์อาเซียน-จีน (ASEAN-China Center) โดยได้มีการ update การดำเนินการโครงการที่สำคัญต่างๆ ระหว่างจีนและอาเซียน เช่น โครงการสำหรับนักเรียน การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวและเทศกาลอาหาร ซึ่งจัดขึ้นในประเทศอาเซียน ซึ่งไทยให้ความสำคัญ ในปี 2017นี้ คือ ด้านการศึกษา การพัฒนาบุคคลากรการท่องเที่ยว และ Sports Tourism สำหรับอินโนนีเซีย ได้มีการหารือทวิภาคี รมว. ท่องเที่ยวอินโดนีเซีย Mr. Arief Yahya เห็นชอบร่วมกันพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองรองของ 2ประเทศ โดยจะมีการเปิดเส้นทางสายการบินจากเมือง Solo ของอินโดนีเซีย มาประเทศไทย พร้อมทั้งร่วมกันส่งเสริมแพคเกจท่องเที่ยวทางน้ำ 3เส้นทาง Sabang-Langkawi-Phuket รวมถึงการทำ Joint Promotion การท่องเที่ยวตามรอยพุทธศาสนา Trail of Civilization

"ทั้งหมดนี้เราต้องใช้ข้อมูลด้านสถิติการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์สูงสุด จากการที่ได้หารือ ดร. Mario Hardy, Pacific Asia Travel Asociation (PATA )CEO ในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญในปี 2017 ซึ่ง PATA เสนอที่จะให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือ ไทยได้กล่าวถึง 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การพัฒนบุคคลากรด้านการท่องเที่ยว 2) ความปลอดภัยนักท่องเที่ยว และ 3) Digital Tourism ซึ่ง PATA แนะนำให้หารือกับ Microsoft ในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติต่อไปเพื่อให้สอดรับกับไทยแลนด์ 4.0 สู่ระดับ Asean Connectในอนาคต "นางกอบกาญจน์ กล่าวเน้นย้ำ

นางกอบกาญจน์ กล่าวด้วยว่า ถึงวันนี้ไทยยืนยันความพร้อมของการเป็นศูนย์กลางเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอาเซียนและพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงานร่วมกับองค์การชั้นนำระหว่างประเทศอย่างองค์การการทองเที่ยวโลก (UNWTO) และสภาการเดินทางการท่องเที่ยวโลก (WTTC) โดยในปีนี้จะมีการจัดงานร่วมกับ WTCC ในหัวข้อ "Transforming Our World" ช่วงเดือนเมษายน 2560และในปี พ.ศ. 2561ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงาน ATF 2018 ในหัวข้อ "ASEAN: Sustainable Connectivity, Boundless Prosperity"ระหว่าง 22-26ม.ค.2561ที่จังหวัดเชียงใหม่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4