เอยูโพล (AU Poll) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของคนกรุง กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานที่มีอายุ 20-55 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร

อังคาร ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๐:๔๓
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของคนกรุง กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานที่มีอายุ 20-55 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1,207 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-20 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่า

ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.00 เป็นชาย และร้อยละ 51.00 เป็นหญิง เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นอายุ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.43 มีอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 31.48 มีอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 27.24 มีอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 20.85 มีอายุ 50-55 ปี ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.69 เป็นโสด ร้อยละ 50.44 สมรสแล้ว และร้อยละ 6.87 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.04 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 44.42 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.54 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.98 มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 25.89 มีรายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.43 มีรายได้ 20,001-25,000 บาท ร้อยละ 7.50 มีรายได้ 25,001-30,000 บาท และร้อยละ 24.20 มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 36.82 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 21.23 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 14.49 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.13 อาชีพเจ้าของธุรกิจ ร้อยละ 11.37 อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 3.96 อาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ ทนาย รับจัดตามงานอีเว้นท์

ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต พบว่า คนกรุงที่มีบัตรเครดิต มีร้อยละ 33.34 เคยมีบัตรเครดิต 2 ใบ ร้อยละ 32.23 เคยมี 1 ใบ ร้อยละ 16.11 เคยมี 3 ใบ ร้อยละ 9.05 เคยมี 4 ใบ ร้อยละ 5.52 เคยมี 5 ใบ และร้อยละ 3.75 เคยมีมากกว่า 5 ใบ โดยธนาคารที่เคยใช้บัตรเครดิตใน 5 อันดับแรก คือ 1) กสิกรไทย (KBANK) (ร้อยละ 38.08) 2) กรุงไทย (KTC) (ร้อยละ 35.86) 3) กรุงศรี (BAY) (ร้อยละ 27.54) 4) ไทยพาณิชย์ (SCB) (ร้อยละ 24.21) และ 5) ซิตี้แบงค์ (Citibank) (ร้อยละ 20.33) เป็นต้น

สำหรับปัจจัยหรือแรงจูงใจที่ทำให้คนกรุงสมัครบัตรเครดิตใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) เอาไว้ใช้เวลาจำเป็น (ร้อยละ 59.07) 2) เพื่อความสะดวกสบายในการใช้จ่าย (ร้อยละ 38.33) 3) ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการก่อน แล้วค่อยชำระภายหลังหรือผ่อนเป็นงวดๆ (ร้อยละ 35.56) 4) ใช้กดเงินสด (ร้อยละ 27.96) และ 5) ใช้เพราะอยากได้ของรางวัล/ของแถมตอนสมัคร (ร้อยละ 23.15) เป็นต้น ส่วนการใช้บัตรเครดิตนั้น พบว่า คนกรุงมีพฤติกรรมการใช้ใน 5 อันดับแรก ดังนี้ 1) ใช้ในการผ่อนชำระสินค้า/บริการ (ร้อยละ 48.69) 2) ใช้ทุกครั้งที่สามารถใช้บัตรเครดิตได้ (ร้อยละ 41.76) 3) ใช้ในกรณีที่มีส่วนลด แลก แจก แถม (ร้อยละ 29.21) 4) ใช้ในกรณีที่ราคาสินค้าเกินกว่าที่จะจ่ายได้ (ร้อยละ 29.03) และ 5) ใช้ซื้อสินค้าและบริการแบบจ่ายครั้งเดียว (ร้อยละ 28.84) เป็นต้น

เมื่อสอบถามถึงข้อดีข้อเสียของการมีบัตรเครดิต พบว่า คนกรุงกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 52.28 ระบุว่า การมีบัตรเครดิตมีทั้งข้อดีข้อเสียพอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 33.08 ระบุว่า มีข้อดีมากกว่า และร้อยละ 14.64 ระบุว่า มีข้อเสียมากกว่า ทั้งนี้ คนกรุงที่มีบัตรเครดิตส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 79.89 ไม่เคยประสบปัญหาจากการใช้บัตรเครดิต ในขณะที่ร้อยละ 20.11 เคยประสบปัญหาจากการใช้บัตรเครดิต โดยมีปัญหาจากการเป็นหนี้เยอะ/หาเงินจ่ายไม่ทัน/จ่ายหนี้ไม่ตรงกำหนด (ร้อยละ 40.86) ใช้เงินมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว/ใช้เงินเกินความจำเป็น (ร้อยละ 23.66) และเครื่องรูดบัตรไม่ได้ (ร้อยละ 8.60) แจ้งยกเลิก แต่ไม่ยกเลิกให้/เก็บค่าธรรมเนียม (ร้อยละ 4.30) เป็นต้น ส่วนผู้ที่มีบัตรเครดิตและเลิกใช้แล้วส่วนใหญ่ระบุเหตุผลว่า ไม่ต้องการมีภาระหนี้สินเพิ่ม/ไม่อยากใช้จ่ายเกินความจำเป็น (ร้อยละ 54.30) หมุนเงินไม่ทัน/ไม่มีเงินชำระหนี้ (ร้อยละ 9.88) ได้ของที่ต้องการแล้ว/ชำระหนี้หมดแล้ว (ร้อยละ 9.88) ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ (ร้อยละ 6.18) และโดนฟ้อง/ติดแบล็คลิสต์ (ร้อยละ 6.18) เป็นต้น

เกี่ยวกับการนำคะแนน (Points) ในบัตรเครดิตไปแลกของสมนาคุณนั้น พบว่า คนกรุงที่มีบัตรเครดิตส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 68.02 เคยนำคะแนนไปแลกของสมนาคุณ ในขณะที่ร้อยละ 31.98 ไม่เคยนำคะแนนไปแลกของสมนาคุณ โดยของสมนาคุณที่นำไปแลก ได้แก่ ส่วนลดในการซื้อสินค้า (ร้อยละ 46.20) บัตรกำนัล (ร้อยละ 44.84) ใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้า/บริการ เช่น ตั๋วหนัง ที่พัก ฯลฯ (ร้อยละ 38.59) คืนเงินสดเข้าบัญชี (ร้อยละ 28.53) และแลกไมล์สะสม (ร้อยละ 19.29) เป็นต้น ซึ่งการนำคะแนนไปแลกของสมนาคุณส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 59.75 ระบุว่า คุ้มค่า ส่วนอีกร้อยละ 40.25 ระบุว่า ไม่คุ้มค่า ส่วนผู้ที่ไม่เคยนำคะแนนไปแลกของสมนาคุณก็ระบุเหตุผล เช่น ไม่ได้สนใจ/ไม่คิดจะแลก (ร้อยละ 45.61) คะแนนสะสมยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะแลก/เพิ่งเปิดใช้บัตรได้ไม่นาน (ร้อยละ 28.07) และลืมแลก/ไม่มีเวลาไปแลก (ร้อยละ 9.65) เป็นต้น

ด้านวิธีการชำระบัตรเครดิต พบว่า คนกรุงกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 54.32 ชำระตามกำหนดและเต็มจำนวน ส่วนร้อยละ 40.60 ชำระตามกำหนด แต่เป็นบางส่วนหรือขั้นต่ำ และร้อยละ 5.08 ชำระไม่ตามกำหนด โดยสถานการณ์เงินเดือนของคนกรุงในแต่ละเดือน พบว่า ร้อยละ 45.21 มีรายรับมากกว่ารายจ่าย ส่วนร้อยละ 37.55 มีรายรับเท่ากับรายจ่าย และร้อยละ 17.24 มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย สำหรับผลกระทบทางลบจากการมีบัตรเครดิตพบว่ามีหลายประการ เช่น ทำให้ใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 39.69) ใช้จ่ายเกินความจำเป็น (ร้อยฃะ 39.31) มีหนี้สินเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 30.92) เครียดเป็นกังวลเกี่ยวกับการชำระเงิน (ร้อยละ 14.89) และเสียประวัติ ติดเครดิตบูโร (ร้อยละ 6.87) เป็นต้น มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ระบุว่า ไม่มีผลกระทบ/ไม่แตกต่างจากตอนที่ไม่มีบัตรเครดิต (ร้อยละ 29.58) ทั้งนี้ ด้านความเชื่อมั่นต่อระบบความปลอดภัยของบัตรเครดิตของคนกรุงพบว่า ร้อยละ 8.22 เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 34.99 เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 52.01 เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 3.63 มีเพียงร้อยละ 3.63 เชื่อมั่นน้อย และอีกร้อยละ 1.15 เชื่อมั่นน้อยที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ