กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดันโครงการ "Promoting I with I" ผนึก 5 หน่วยงาน ขับเคลื่อน Start – up สนองนโยบาย 4.0

จันทร์ ๐๖ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๓๓
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย TCELS ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ผลักดันโครงการ "Promoting I with I" ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านชีววิทยาศาสตร์ออกสู่ตลาดธุรกิจหวังเดินหน้าขับเคลื่อน Start-up ตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ประเทศไทย 4.0 เป็นนโยบายที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า "Value – Based Economy" มีการปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าพร้อมบริโภคไปสู่สินค้าเชิง "นวัตกรรม" ซึ่งอีกนัยหนึ่งเป็นการเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ (Entrepreneur)จาก Tradition SMEs หรือ SMEs ดั้งเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และบริษัท Startupsโดยที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการสนับสนุนบริษัท Startup ซึ่งมี 3 ด้านหลัก คือ 1. ด้านกำลังคน : โครงการ Talent Mobility / โครงการ WIlการฝึกอบรม Adv.Tec 2. ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม : คูปองนวัตกรรม Start- up Venture ,iTAPการอนุญาตให้ใช้สิทธิ IP เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การบริการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการรับรองคุณภาพ และ 3. ด้านภาษี : การยกเว้นภาษีเงินได้ และการยกเว้นภาษีเครื่องมือการยกเว้นภาษี 300% สำหรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่าภาครัฐจะมีโครงการสนับสนุนให้เพิ่มบริษัท Start-up จำนวนมาก แต่นักวิจัยของประเทศที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ตลอดจนแหล่งทุนต่างๆ ยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย TCELS ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดตั้ง"โครงการส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการลงทุน (Promoting Innovation with investment : Promoting I with I"ซึ่งมีประโยชน์สามารถก่อให้เกิดการตกลงทำสัญญาใช้สิทธิ (Licensing agreement) หรือการจัดตั้งบริษัท Start up ขึ้นจากผลงานวิจัยและ Innovation ของนักวิจัยไทยได้ในอนาคตอันใกล้ จึงได้ร่วมกับ 5 หน่วยงานจัดพิธีการลงนามบันทึกความเข้าใจภายใต้โครงการดังกล่าวฯ ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย TCELS ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (Thai Bio) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน - ARDA) สำนักงานกองทุนสนับสนุนวิจัย (TRF) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ต่อยอดไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่พร้อมออกสู่ตลาดธุรกิจ อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจและประชาชนในการวิจัยนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ ตอบรับนโยบายไทยแลนด์4.0สู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม"

ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELSกล่าวว่า เนื่องจากมีผลงานวิจัยก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยนักวิจัยไทย ซึ่งบางส่วนสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรม (innovation) และผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ตามมาในที่สุดนักวิจัยของประเทศไทยมีความสามารถในการวิจัยสูงมาก ในแต่ละปีก่อให้เกิดองค์ความรู้ในรูปแบบของการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี องค์ความรู้จากผลงานวิจัยก็ยังไม่ได้ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากนัก ทั้งที่มีผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)สามารถนำไปสู่การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Technology Licensing) หรือการจัดตั้งบริษัทเริ่มใหม่ (Start-up Company)

" ในขณะที่อีกด้านหนึ่งบริษัทเอกชนไทยจำนวนหนึ่งก็เริ่มเสาะแสวงหาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือยกระดับความสามารถของผลิตภัณฑ์ หรือบริการเพื่อสร้างความมั่นได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด TCELS ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนให้เกิดธุรกิจชีวภาพจากนวัตกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจับคู่ระหว่างผลงานวิจัยกับภาคธุรกิจและนักลงทุน จึงได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ชีวภาพไทย (Thai Bio) มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสมาชิกอยู่ 15 บริษัท สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้ร่วมกันผลักดันให้งานวิจัยด้านชีวิวิทยาศาสตร์ที่คัดสรรแล้วจำนวนหนึ่ง มานำเสนอเป็นต้นแบบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และพร้อมเข้าสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยภาคเอกชนต่อไป" ดร.นเรศกล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังจากการลงนามความร่วมมือดังกล่าวแล้ว โครงการฯ จะเริ่มจัดกิจกรรมให้นักวิจัยเจ้าของผลงานต้นแบบได้มีโอกาสพบกับนักลงทุน และกลุ่มธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันที่ 1 มีนาคมนี้ จะให้โอกาสนักวิจัยได้ฝึกฝน Pithing ล่วงหน้าผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วย" ดร.นเรศ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น