“อิไลด์ ไฟร์บอล” ลูกบอลดับเพลิงนวัตกรรมคนไทย ฟ้องเว็บขายสินค้าออนไลน์ระดับโลกทำธุรกิจเสียหายกว่า 2 พันล้าน

พุธ ๐๕ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๖:๕๕
บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย "อิไลด์ ไฟร์บอล" ลูกบอลดับเพลิง นวัตกรรมจากฝีมือคนไทย ฟ้องบริษัท หางโจว อาลีบาบา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด และแจ็ค หม่า ผู้อยู่เบื้องหลังเว็บขายสินค้าออนไลน์ระดับโลก "ALIBABA" และ "ALIEXPRESS" ฐานโฆษณาและประกาศขายสินค้าปลอม ละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ทำธุรกิจเสียหายกว่า 2 พันล้านบาท ย้ำพร้อมต่อสู้ทางกฎหมายอย่างเต็มที่และต้องการให้เป็นกรณีตัวอย่างผู้ประกอบการไทยในยุค Thailand 4.0

นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด กล่าวว่า "จากนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยขับเคลื่อนสู่การเป็น Thailand 4.0 ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปยัง "Value-Base Economy" หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่สร้างคุณค่า" ผู้ประกอบการไทยที่นำสินค้านวัตกรรมที่เกิดจากการคิดค้นของคนไทยเข้าสู่ตลาดโลกต้องประสบปัญหาทำลายธุรกิจอย่างร้ายแรง เราในฐานะผู้ประกอบการที่บุกเบิกการนำสินค้านวัตกรรมของคนไทยไปสู่ตลาดโลกจึงต้องต่อสู้ทางกฎหมายอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องสิทธิ์และต้องการให้เป็นกรณีตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการไทยในยุค Thailand 4.0"

ทั้งนี้ เว็บไซต์ชื่อดังระดับโลก "ALIBABA" ได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และลิขสิทธิ์โสตวัสดุสิ่งพิมพ์ ลูกบอลดับเพลิง(Elide Fire)ของบริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ลูกบอลดับเพลิง "Fire Extinguishing Ball" เลขที่สิทธิบัตรไทย 18966 และ สหรัฐอเมริกา US PATENT 6,796,382 และอีกหลายประเทศ ซึ่งเป็นนวัตกรรมของโลกโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้ทำการตรวจสอบ และประกาศโฆษณาไว้ทั่วโลกเลขที่ WO 2004/014489 A1 บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด เป็นผู้ทรงสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียว โดยนายภณวัชร์นันท์ (วรเดช) ไกรมาตย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ และยังจดเครื่องหมายการค้าไว้ "Elide Fire Extinguishing Ball" และเครื่องหมายการค้าทั่วโลก

เว็บไซต์ "ALIBABA" เปิดให้มีการโฆษณาสินค้า "ลูกบอลดับเพลิง AFO" ซึ่งเป็นสินค้าปลอมและเลียนแบบสิทธิบัตรโดยโฆษณาผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวไปทั่วโลก โดยมีเว็บไซต์ "ALIEXPRESS" เป็นผู้จำหน่ายและจัดส่งสินค้า

"ลูกบอลดับเพลิงAFO" ให้กับผู้สั่งซื้อทั่วโลกทางตลาดออนไลน์หรือ Ecommerce เป็นการทำลายตลาดแบบตัวแทนของบริษัทฯ ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างยับเยิน เนื่องจากสินค้าปลอมสิทธิบัตรมีราคาถูกกว่าของจริง แต่ไม่สามารถดับไฟได้จริง ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของผู้ทรงสิทธิบัตร "ลูกบอลดับเพลิง" ไปทั่วโลก ทำให้ผู้แทนจำหน่ายขาดความเชื่อมั่นและยกเลิกการสั่งซื้อสินค้าและการเป็นผู้แทนจำหน่าย ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 2 พันล้านบาท

จากกรณีดังกล่าว บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด ได้ยื่นฟ้องต่อศาลคดีหมายเลขดำที่ ทป28/2560 โดยมี บริษัท หางโจว อาลีบาบา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 และนายหม่า หยุน หรือ แจ็ค หม่า เป็นจำเลยที่ 2 คดีอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

การกระทำของจำเลยทั้งสอง ได้กระทำการโฆษณาและประกาศขายสินค้า ปลอม และส่งสินค้า ลูกบอลดับเพลิง AFO มาในราชอาณาจักรไทย อีกทั้งยังจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งสินค้า AFO ที่จำเลยทั้งสองโฆษณาและขาย ละเมิดทั้งโครงสร้างและข้อถือสิทธิ์ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 18966 และสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 3 ฟ้องก่อนหน้านี้โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้พิพากษาว่าละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 18966 คดีหมายเลขดำที่ อ.๖๗๖/๒๕๕๘ และ คดีหมายเลขแดงที่ อ.๗๐๗/๒๕๕๘ คดีถึงที่สุดแล้ว

นายชัชวาลย์ เสวี ผู้เชี่ยวชาญคดีทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า หลักการให้ความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร เป็นหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ โดยให้แสวงหาประโยชน์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อตอบแทน โดยให้ความคุ้มครองทั้งทางแพ่งและทางอาญาหากมีผู้ลอกเลียนการประดิษฐ์ เป็นการให้ความคุ้มครองที่เข้มข้น แม้จะมีผู้คิดค้นขึ้นเองก็ตาม หากมีลักษณะที่คล้ายกับสิทธิบัตรที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการละเมิด

"อิไลด์ ไฟร์บอล" ลูกบอลดับเพลิง ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากสภาวิจัยแห่งชาติในปี 2544 และยังได้รับรางวัลขวัญใจประชาชนจาก ดร.อำพล เสนาณรงค์ องค์มนตรี ประธานสภาวิจัยแห่งชาติ และรางวัลสินค้ายอดเยี่ยมแห่งปีจากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นในปีเดียวกัน จากนั้นในปี 2546 องค์กร Editorial Office Trade Leaders Club ได้เล็งเห็นศักยภาพของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว จึงมอบรางวัลอินเตอร์เนชั่นแนล New Millennium Award 2003 จากงาน International Award for Business Leadership & Prestige ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

ในปี 2547 ประเทศอังกฤษยังมอบรางวัลคุณภาพสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยม รางวัล International Quality Crown Award 2004 ผลงานสิ่งประดิษฐ์และใช้ประโยชน์ได้จริง และในปี 2540 นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ ผู้ประดิษฐ์ลูกบอลดับเพลิง ยังได้รับเหรียญนักประดิษฐ์อัจฉริยะโลก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนในปี 2551 ยังได้รับรางวัลยิ่งใหญ่อีก 2 รางวัลคือ รางวัลไวโป้ (WIPO) จากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาโลก องค์การสิทธิบัตรโลก พร้อมเหรียญทอง นอกจากนั้นยังได้ถ้วยรางวัล และเหรียญทอง 2 เหรียญพร้อมใบประกาศรางวัล SEMI GRAND PRIZE ในงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และล่าสุดในโลกโซเชียล โดย Blogger Awesome Techs ได้มีการจัดอันดับ ให้ผลิตภัณฑ์ "อิไลด์ ไฟร์บอล" เป็นผลิตภัณฑ์อันดับ 1 ของจำนวนสินค้าทั่วโลก 100 ผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมสำหรับครึ่งปีแรก 2016 (Top 100 awesome products for first half 2016)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ