กระทรวงเกษตรฯ เผยสถานการณ์น้ำในช่วงพายุฤดูร้อน เกิดฝนตกชุก ลดความแห้งแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวที่เสี่ยงเกิดความเสียหาย

พุธ ๐๕ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๘:๓๗
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 40,876 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างฯ มากกว่าปี 2559 จำนวน 6,607 ล้าน ลบ.ม.เป็นน้ำใช้การได้ 17,349 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37 (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 10,706 ล้าน ลบ.ม.) ส่วนแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับใช้ในฤดูแล้ง จะใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบัน (4 เม.ย. 60) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 43,513 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด มากกว่าปี 2559 รวม 7,410 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การได้ 19,693 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 12,247 ล้าน ลบ.ม.) สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (4 เม.ย. 60) มีปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก รวมกันทั้งสิ้น 11,993 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ รวมกันทั้งหมด เป็นน้ำใช้การได้ 5,297 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 2,969 ล้าน ลบ.ม. (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 2,328 ล้าน ลบ.ม.) จะเห็นได้ว่าสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้งของปีนี้ อยู่ในเกณฑ์ดีกว่าปี 2559 ที่ผ่านมา ทำให้สามารถจัดสรรน้ำให้ทุกภาคส่วนได้อย่างเพียงพอไปจนถึงต้นฤดูฝนปี 2560 ยกเว้นภาคการเกษตรบางพื้นที่ ที่ต้องปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ทั้งหมด

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 59 ถึงปัจจุบัน ทั้งประเทศมีการใช้น้ำไปแล้ว 15,819 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนจัดสรรน้ำฯ ที่วางไว้ (แผนที่วางไว้ 17,661 ล้านลูกบาศก์เมตร) และจากการเกิดพายุฤดูร้อน มีฝนตกทั่วประเทศ ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อน 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 วันที่ 6 – 19 มี.ค.60 น้ำไหลเข้าเขื่อน 158 ล้านลูกบาศก์เมตร และช่วงที่ 2 วันที่ 30 มี.ค. – 3 เม.ย.60 น้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งสิ้น 262 ล้านลูกบาศก์เมตร สาเหตุที่น้ำไหลเข้าเขื่อนน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูแล้งฝนจึงซึมลงดิน อย่างไรก็ตามฝนที่ตกส่งผลดีต่อเกษตรกรบริเวณพื้นที่นอกเขตชลประทานและในเขตชลประทานทำให้เกิดความชุ่มชื้น ลดความแห้งแล้งลงได้ สำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปรังลุ่มน้ำเจ้าพระยา พบว่า ณ วันที่ 29 มี.ค. 60 มีการเพาะปลูกไปแล้ว 5.35 ล้านไร่ มากกว่าแผนที่วางไว้ 2.68 ล้านไร่ (แผนที่วางไว้ 2.67 ล้านไร่) ปัจจุบันเก็บเกี่ยวไปแล้ว 2.05 ล้านไร่ คงเหลือรอเก็บเกี่ยว 3.30 ล้านไร่ โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวอายุตั้งแต่ 11 -18 สัปดาห์ ไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวม 2.23 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอายุ 1 – 10 สัปดาห์ เป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง รวม 1.07 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามในช่วงพายุฤดูร้อนที่ผ่านมาทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างชุก สถานการณ์น้ำของเกษตรกรหรือนาข้าวที่มีอายุต่ำกว่า 10 สัปดาห์จึงดีขึ้น มีน้ำสำหรับให้ต้นข้าว เป็นผลให้พื้นที่เฝ้าระวังดังกล่าวเสียหายลดน้อยลง

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมชลประทานเร่งระยะเวลาการปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำให้เร็วขึ้น เพื่อลดผลกระทบในช่วงฤดูน้ำหลาก จึงเลื่อนระยะเวลาการปลูกข้าวพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำจำนวน 265,000 ไร่ในพื้นที่บางส่วนของ จ.สุโขทัย และ จ.พิษณุโลก ให้เริ่มปลูกข้าวนาปีตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 60 ปัจจุบันกรมชลประทานได้ส่งน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าวแล้ว และมีการปลูกไปแล้วประมาณ 80,000 ไร่ โดยจะเร่งรัดปลูกให้ครบ 265,000 ไร่ ภายในวันที่ 15 เม.ย. 60 และปลูกให้แล้วเสร็จเพื่อเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 1 ส.ค. 60อีกทั้ง ประโยชน์หลังเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บน้ำเข้าไปเกษตรกรสามารถทำการประมงได้ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำบางระกำ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ผลการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่ 3 มี.ค. -4 เม.ย.60 มีทั้งหมด 9 หน่วยปฏิบัติงาน 488 เที่ยวบิน 735 ชั่วโมงบิน มีพื้นที่ฝนตกทั้งหมด 46 จังหวัด ขณะนี้เป็นช่วงพายุฤดูร้อน จึงเกิดพายุลูกเห็บ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้ปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งลูกเห็บ โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 60 ถึงปัจจุบัน มีการขึ้นบินปฏิบัติการไปแล้ว 10 วัน 10 เที่ยวบิน โดยใช้วิธีการยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์กับกลุ่มเมฆ เพื่อให้เมฆที่ตกลงมากลายเป็นฝนก่อนจะเป็นลูกเห็บ อย่างไรก็ตามการเกิดลูกเห็บมีโอกาสเกิดในช่วงกลางคืน และระยะเวลาที่สภาพอากาศปิด เครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินปฏิบัติการได้ กรมฝนหลวงฯ จึงได้มีการพัฒนาจรวดฝนหลวงที่จะใช้ยิงจากภาคพื้นขึ้นไปในการสลายกลุ่มเมฆเหล่านั้นให้ตกลงมาเป็นฝนก่อนที่จะเป็นพายุลูกเห็บ ในช่วงเวลากลางคืนหรือช่วงที่เครื่องบินขึ้นปฏิบัติการได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา