โครงการสำรวจความคิดเห็นและค่านิยมของประชาชนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ

พุธ ๑๙ เมษายน ๒๐๑๗ ๐๙:๐๓
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นและค่านิยมของประชาชนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ" ทำการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว ระหว่างวันที่ 6 - 24 มีนาคม 2560 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศที่เป็นเพศหญิง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,085 หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.09

จากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิง เมื่อถามถึงเหตุผลที่ผู้หญิงทำไมจึงอยากสวยและดูดีมากที่สุด พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มีเหตุผลคือเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.93 รองลงมา คือ เพื่อทำให้มีโอกาสในการทำงานมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 17.31 เพื่อดึงดูดให้เพศตรงข้ามสนใจหรือมีโอกาสได้คู่ครอง คิดเป็นร้อยละ 9.69 เพื่ออยากให้สุขภาพดีและรูปร่างดี คิดเป็นร้อยละ 1.06 และเพื่อให้ได้เข้าสังคมที่ดี คิดเป็นร้อยละ 0.38 ตามลำดับ

ลักษณะสีผิวที่ผู้หญิงคิดว่าสวยและดูดีมากที่สุด พบว่า ผู้หญิงที่มีผิวสีน้ำผึ้ง หรือผิวสองสีสวยและดูดีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.52 รองลงมา ผู้หญิงที่มีผิวสีขาว คิดเป็นร้อยละ 44.94 ผู้หญิงที่มีผิวสีอะไรก็ได้ คิดเป็นร้อยละ 5.85 และผู้หญิงที่มีผิวสีคล้ำ คิดเป็นร้อยละ 3.69 ตามลำดับลักษณะรูปร่างที่ผู้หญิงคิดว่าสวยและดูดีมากที่สุด พบว่า ผู้หญิงที่มีรูปร่างสมส่วนจะสวยและดูดีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.49 รองลงมา ผู้หญิงที่มีรูปร่างผอมจะสวยและดูดี คิดเป็นร้อยละ 12.33 ผู้หญิงที่มีรูปร่างอวบจะสวยและดูดี คิดเป็นร้อยละ 10.26 ผู้หญิงที่มีรูปร่างอย่างไรก็ได้ คิดเป็นร้อยละ 1.15 และผู้หญิงที่มีรูปร่างอ้วนก็สวยและดูดีได้ คิดเป็นร้อยละ 0.77 ตามลำดับ

วิธีการที่ผู้หญิงคิดว่าสามารถทำให้สวยและดูดีขึ้นได้ พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่คิดว่าการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะทำให้สวยและดูดีขึ้นได้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 79.25 รองลงมา การทานผักและผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 71.95 การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คิดเป็นร้อยละ 24.83 การทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คิดเป็นร้อยละ 22.05 การศัลยกรรมตกแต่ง คิดเป็นร้อยละ 11.00 การฉีดผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คิดเป็นร้อยละ 7.44 และการกินยาลดความอ้วน คิดเป็นร้อยละ 6.00 ตามลำดับ

วิธีการที่ผู้หญิงใช้ทำเพื่อเสริมความงามให้แก่ตัวเอง พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ใช้วิธีการทานผักและผลไม้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.03 รองลงมา ใช้วิธีออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 69.51 ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คิดเป็นร้อยละ 27.31 ใช้วิธีการทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คิดเป็นร้อยละ 19.08 ใช้วิธีการกินยาลดความอ้วน คิดเป็นร้อยละ 5.64 ใช้วิธีทำศัลยกรรมตกแต่ง คิดเป็นร้อยละ 4.62 และใช้วิธีการฉีดผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คิดเป็นร้อยละ 3.81 ตามลำดับ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยทำศัลยกรรมตกแต่ง หากมีโอกาสที่จะทำศัลยกรรมตกแต่งจะทำหรือไม่ พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่กล้าทำแน่นอน คิดเป็นร้อยละ 67.24 โดยระบุเหตุผลอันดับแรกคือ กลัวผลกระทบข้างเคียงจากการทำศัลยกรรม อันดับที่สองคือไม่ชอบการทำศัลยกรรม และอันดับที่สามคือ มั่นใจในรูปร่างของตัวเองอยู่แล้ว รองลงมา พร้อมที่จะทำศัลยกรรมตกแต่งทันทีหากมีโอกาส คิดเป็นร้อยละ 16.12 โดยระบุเหตุผลอันดับแรกคือ อยากแก้ไขจุดบกพร่องเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง อันดับที่สองคือ อยากสวยเหมือนคนอื่นๆ และอันดับที่สามคือ อยากดูดีขึ้นเพื่อการเข้าสังคม และยังไม่แน่ใจว่าทำศัลยกรรมตกแต่งทันทีหากมีโอกาส คิดเป็นร้อยละ 12.18 โดยระบุเหตุผลอันดับแรกคือ ไม่แน่ใจในความปลอดภัยและผลข้างเคียงของการทำศัลยกรรมตกแต่ง อันดับที่สองคือ คิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นต้องทำศัลยกรรมตกแต่ง และอันดับที่สามคือ กลัวทำศัลยกรรมตกแต่งออกมาแล้วไม่สวย

ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามของผู้หญิง พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการมีเครื่องหมาย อย. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.96 รองลงมา ความน่าเชื่อถือของผู้ขายหรือแบรนด์ คิดเป็นร้อยละ 32.49 การมีส่วนประกอบทั้งหมดพร้อมคำบรรยาย คิดเป็นร้อยละ 31.13 การมีแหล่งที่มาของสินค้า คิดเป็นร้อยละ 28.90 การมีเครื่องหมาย สคบ. คิดเป็นร้อยละ 26.27 การบอกต่อผลลัพธ์ของบุคคลที่ท่านเชื่อถือ เช่น ญาติ หรือ เพื่อน เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 24.62 การบอกต่อผลลัพธ์ของบุคคลอื่นๆ เช่น การรีวิวสินค้า หรือ การโพสของเหล่าคนดัง คิดเป็นร้อยละ 19.67 รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เช่น แพ็กเกจ สี กลิ่น เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 16.37 และการพบเห็นจากสื่อบ่อยๆ และสามารถหาซื้อได้ง่าย คิดเป็นร้อยละ 15.83 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.62 รองลงมา มีอายุต่ำกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.43 มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.19 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 19.57 และมีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 19.18 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพโสด มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.71 รองลงมา มีสถานภาพสมรสหรืออยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 42.11 สถานภาพคบหาดูใจกัน คิดเป็นร้อยละ 7.67 และสถานภาพหม้าย อย่าร้าง แยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ 4.51 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.38 รองลงมาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 32.04 ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 16.16 ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 7.15 และสูงกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 5.28 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.01 รองลงมา เป็นเจ้าของธุรกิจหรืออาชีพอิสระ คิดเป็นร้อยละ 16.88 พนักงานเอกชน คิดเป็นร้อยละ 13.09 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ และว่างงาน คิดเป็นร้อยะละ 13.00 ผู้ใช้แรงงานหรือรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 10.70 ข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 10.60 และเกษตรกรหรือประมง คิดเป็นร้อยละ 7.72 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างมีรายได้ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.97 รองลงมา มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.49 มีรายได้ระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.93 มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยะละ 5.56 และมีรายได้ 30,001 – 40,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.22 ตามลำดับ

กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 27.00 รองลงมา อาศัยอยู่ในภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 18.71 อาศัยอยู่ในปริมลฑล คิดเป็นร้อยละ 15.78 อาศัยอยู่ในภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 13.76 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 12.61 และอาศัยอยู่ในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 12.13 ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ