สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด ได้นำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ QR-Trace

พุธ ๑๙ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๐:๕๕
จากนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าการเกษตรสู่ความยั่งยืน โดยวางเป้าสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและการเพิ่มความตระหนักความรู้เรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เดินหน้าพัฒนาศักยภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร โดยการบริหารจัดการร่วมกันในรูปแบบของสหกรณ์ ซึ่งจากการลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก พบว่า สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด จังหวัดตาก เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ดีของขบวนการสหกรณ์แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ และได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกทำการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ โดยมีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 400 ราย พื้นที่ 8,000 ไร่ สามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม พันธุ์นครสวรรค์ 3จากเดิมต้นทุนกิโลกรัมละ 5.90 บาท เป็น 5.64 บาทและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 669 กก./ไร่ เป็น 900 กก./ไร่อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตอีกทาง โดยสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรสมาชิก เพื่อนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และจำหน่ายผ่านเครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารสัตว์และตลาดเอกชนอื่นๆ

โดยสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด ได้นำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ QR-Trace โดยใช้ QR Code ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมาตรฐานสากลที่ใช้ติดบนกระสอบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนตรวจสอบข้อมูลการผลิต แหล่งผลิต คำแนะนำต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรว่าเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อไปปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน หากเมล็ดพันธุ์นั้นเกิดปัญหามีการปลอมปน ก็จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับผ่านระบบนี้ และไปปรับปรุงแก้ไขในกระบวนการผลิตของเกษตรกรต้นทางได้ โดยเฉพาะกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม พันธุ์นครสวรรค์ 3 ซึ่งทางสหกรณ์ฯ ได้นำเมล็ดพันธุ์ดีของทางราชการไปต่อยอดขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยจดทะเบียนการค้า ภายใต้ชื่อการค้า "นว.3" มีสมาชิกสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 160 ราย พื้นที่ประมาณ 1,800 ไร่ ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด และสหกรณ์นิคมแม่ระมาด จำกัด ผลที่เกษตรกรสมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้รับคือรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วไปประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อไร่ รวมทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิตเบื้องต้นให้กับเกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไปปลูก เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งพันธุ์ดีซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับรายได้ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกรสมาชิกนับเป็นการยกระดับการผลิตสินค้าทางการเกษตรของไทยอีกขั้นหนึ่ง เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน และก้าวสู่ระดับสากลในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4