สำนักโพลไอเอฟดี เผยผลสำรวจมีการคอร์รัปชั่นในระดับมหาวิทยาลัยมากที่สุด

จันทร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๓:๐๗
สำนักโพลไอเอฟดี เผยผลสำรวจมีการคอร์รัปชั่นในระดับมหาวิทยาลัยมากที่สุดและประชาชนไม่เชื่อมั่นรัฐว่าแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาได้

ระบบการศึกษา ถือเป็นแหล่งผลิตและพัฒนากำลังคนและสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยมีปัญหาด้านการคอร์รัปชั่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ทั้งในด้านจำนวนเงินหรืองบประมาณที่ต้องสูญเสียไป และยังส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพการจัดการศึกษา รวมถึงกระทบต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความเท่าเทียม และโอกาสเข้าถึงการศึกษาของประเทศไทยอีกด้วย

สำนักโพลไอเอฟดี ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,191 คน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับความคิดเห็นการคอร์รัปชั่นในวงการศึกษาไทย พบว่าประชาชนคิดเห็นว่า ระบบการศึกษาไทยมีการคอร์รัปชั่นที่ระดับคะแนน 6.75 (จากคะแนนเต็ม 10) และเมื่อถามต่อไปว่า มีการคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาในระดับใดมากที่สุด ประชาชนคิดเห็นว่า แวดวงมหาวิทยาลัยมีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด รองลงมาคือ การอาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐานตามลำดับ

และเมื่อถามประชาชนเพิ่มเติม เกี่ยวกับความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลนี้จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นในวงการศึกษาไทยได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชนให้คะแนนเพียง 6.86 แสดงนัยยะว่าประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาได้

จากผลสำรวจ ประชาชนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษา ตามลำดับดังนี้ อันดับแรก คือ แก้ไขบทลงโทษสถานหนักแก่ผู้ทุจริต อันดับ 2 คือ แก้กฎหมายให้ภาคประชาชนมีอำนาจตรวจสอบการทุจริตในสถาบันการศึกษา อันดับ 3 คือ ต้องเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังและรวดเร็ว อันดับ 4 คือ สนับสนุนให้ผู้บริหารมือสะอาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารของสถาบันการศึกษา และอันดับสุดท้าย คือ ใช้ ม. 44 ปลดคณะผู้บริหารของสถาบันการศึกษาที่มีปัญหา

จากผลการสำรวจ ประชาชนมีความกังวลต่อการคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาโดยเฉพาะการคอร์รัปชั่นในระดับมหาวิทยาลัย โดยประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นในแวดวงการศึกษาได้ ดังนั้น รัฐจึงต้องดำเนินการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจังและเข้มข้น โดยปฏิรูปวงการศึกษาให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยไม่มุ่งเน้นการใช้ ม. 44 ในการจัดการแก้ปัญหา แต่ต้องดำเนินการแก้ไขบทลงโทษในสถานหนักแก่ผู้ทุจริต และให้ภาคประชาชนมีอำนาจตรวจสอบการทุจริตในสถาบันการศึกษาได้มากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่การให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ ย่อมทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในการสร้างความร่วมมือเพื่อร่วมกันแก้ไขและบรรเทาปัญหาการทุจริตในแวดวงการศึกษาไทยได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4