เกษตรฯ จับมือกลุ่มมิตรผล พัฒนางานวิจัยและต่อยอดเทคโนโลยีการเกษตรเชิงพาณิชย์ระยะ 5 ปี นำร่อง 3 โครงการปลูกถั่วเขียวหลังนาทดแทนนำเข้า–เสริมทัพเกษตรอินทรีย์-พัฒนาคุณภาพดิน

อังคาร ๑๖ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๕๖
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา และต่อยอดเทคโนโลยีการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. กับ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และบริษัทในเครือ ว่า การลงนามความร่วมมือระหว่างกันครั้งนี้จะเป็นการร่วมมือแบบประชารัฐเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ สภาพสังคม โดยในช่วงที่ผ่านมางบประมาณด้านการวิจัยพัฒนาน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความพร้อม โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยี เป็นการทำงานในลักษณะประชารัฐ ที่กระทรวงเกษตรฯ คาดหวังว่าจะเป็นแบบอย่างให้กับงานอื่นๆ ในอนาคตด้วย

สำหรับโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ในช่วงแรก ระยะ 5 ปี จะมีความร่วมมือในงานวิจัย 3 โครงการ คือ

1. โครงการวิจัยการปลูกพืชหลังนาเพื่อเป็นพืชหมุนเวียน และ บำรุงรักษาดิน งบประมาณ 5.4 ล้านบาท โดยพืชที่เลือกใช้ คือ ถั่วเหลือง เพราะตลาดมีความต้องการสูง แต่ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าต่อปีในปริมาณที่มาก โดยปัจจุบันไทยมีความต้องการถั่วเหลืองโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตัน แต่เราสามารถผลิตได้ในประเทศเฉลี่ยเพียงปีละ50,000 ตันเท่านั้น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการทดลองปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ สจ.5 โดยนำร่องในพื้นที่ 150 ไร่ ของ อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการปลูกถั่วเหลืองโดยวิธีเกษตรสมัยใหม่ คือ ใช้เครื่องจักรกล เทคโนโลยี ทั้งช่วงต้นฤดูฝน และ ฤดูแล้ง ในพื้นที่แปลงนาข้าวซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับทำให้มีแนวทางการปลูกพืชก่อน และหลังนา โดยใช้เครื่องจักรกลที่มีอยู่เดิม รวมถึงทำให้การปลูกถั่วเหลืองก่อนและหลังนา มีต้นทุนลดลง ผลผลิตมากขึ้น และ มีคุณภาพดีขึ้นตรงความต้องการของผู้บริโภค เกษตรกรสามารถนำการวิจัยไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ได้

2. โครงการวิจัยการป้องกันศัตรูพืชด้วยสารควบคุมศัตรูพืชที่ได้จากธรรมชาติ เป็นการส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะต้องไม่ใช้สารเคมีทำการเกษตร จึงต้องการวิจัยพัฒนาการป้องกันควบคุมแมลงศัตรูพืชที่ไม่ใช้สารเคมี โดยใช้วิธีธรรมชาติ และ นวัตกรรมอื่นๆ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจะส่งผลให้มีสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และลดการนำเข้าสารเคมี

3. โครงการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน เป็นการศึกษาวิธีการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรในพื้นที่มีผลผลิตต่ำ โดยเน้นเป็นพื้นที่เฉพาะบริเวณ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่อีกด้วย ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ย และ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๕ อัปเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ต้องรู้ 2567
๑๕:๑๐ อมาโด้ (amado) ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดคอลลาเจน คว้า 2 รางวัล จากเวทีธุรกิจ 2024 Thailand's Most Admired Brand (ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4) และรางวัล Brand Maker Award
๑๕:๒๒ ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี เติมฝันเด็กไฟ-ฟ้า ผ่านโชว์ Cover Dance คว้า 2 รางวัล จุดประกายศักยภาพและสร้างแรงบันดาลใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายที่สำคัญ
๑๕:๑๒ วว. / สสว. นำ วทน. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขัน SMEs จัดอบรมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยบรรจุภัณฑ์ ฟรี
๑๓:๕๐ เถ้าแก่น้อย ครองใจผู้บริโภคคว้า 'แบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุด' จากผลสำรวจ Thailand's Most Admired Brand
๑๓:๓๘ Bose-Backed สมาร์ทวอทช์แบรนด์ Noise เปิดตัวในไทยบน Shopee และ Lazada
๑๒:๑๗ TIDLOR ปลื้ม! หุ้นกู้ 3 ชุดใหม่ มูลค่า 4,000 ลบ. ขายหมดเกลี้ยง ขอบคุณนักลงทุนที่ร่วมสร้างผลตอบแทน พร้อมกับสร้างการเติบโตให้ธุรกิจไปด้วยกัน
๑๒:๔๗ แอล.พี.เอ็น. เปิดโมเดลซัพพอร์ทคนอยากมีบ้าน เจาะกลุ่มเรียลดีมานด์ที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 3 ล้าน ผุดแคมเปญ 'LPN ดูแลให้' และ 'LPN
๑๒:๓๗ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า 'Redmi Note 13 Series' ให้คุณกดบัตรคอนเสิร์ต '2023-2024 BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] in BANGKOK Presented by Xiaomi' รอบ
๑๒:๐๘ กรมโยธาฯ ใช้มาตรการเด็ดขาด ยกเลิกสัญญาจ้างงานที่ล่าช้าสร้างความเดือดร้อนประชาชน