สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จเป็นประธานในพิธีประทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ๑๔ พฤษภาคมนี้

ศุกร์ ๑๙ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๐๘
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นสถานการศึกษาที่ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2436 และตามพระราชดำริแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร ต่อมาในปีพุทธศักราช 2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงโปรดให้จัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เรียกว่า "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" และเมื่อพุทธศักราช 2527 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติรับรองหลักสูตรปริญญาตรีทั้ง 4 คณะ คือ คณะศาสนาและปรัชญา, คณะมนุษยศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2531 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา และสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ต่อมาในปีพุทธศักราช 2540 รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยต่อรัฐสภาและได้รับอนุมัติให้ตราพระราชบัญญัติยกขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ มีฐานนะเป็นนิติบุคคลอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2540 และในปีการศึกษา 2548 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้บัณฑิตวิทยาลัยจัดการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ปัจจุบันมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย ได้ขยายการศึกษาไปในจังหวัดต่างๆ รวม 7 วิทยาเขต 3 วิทยาลัย และได้สนองงานของสงฆ์ในการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ

ในการประทานปริญญาบัตรครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติปริญญาบัณฑิต จำนวน 1,599 รูป/คน ปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 528 รูป/คน และปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 10 รูป/คน รวม 2,137 รูป/คนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้รับความกรุณาอย่างสูงที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีเมตตามาเป็นประธานในพิธีประทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2559 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ และประทานพระโอวาทเพื่อเป็นสิริมงคลว่า

" ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอันมีเกียรติภูมิ มีประวัติความเป็นมาคู่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์ชาติไทย ย่อมมีหน้าที่ที่จะรักษาเกียรติภูมินั้นให้ดำรงอยู่กับตนเสมอ บัณฑิตที่จะก้าวออกไปปฎิบัติภารธุระ ตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบนั้น ต้องมี "ขันติธรรม" ประจำใจ ต้องรู้จักอดทนและอดกลั้นไม่ยอมตัว ยอมใจให้วู่วามไปตามเหตุการณ์ ตามอคติและอารมณ์ที่ตนชอบใจ หรือไม่ชอบใจนั้น

ความอดทนอดกลั้นย่อมก่อให้เกิดความยั้งคิด และเป็นธรรมดาของมนุษย์เราว่าเมื่อยั้งคิดได้แล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องที่ทำ คำที่พูด ทบทวนดูใหม่ได้อีกคำรบหนึ่ง ถ้าท่านทั้งหลายมีสติยับยั้ง และทบทวนการกระทำของท่านอยู่เสมอ ย่อมจะช่วยให้ท่านสามารถวินิฉัยที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ได้ละเอียดถ่องแท้ขึ้น ทำให้การพิจารณาสิ่งต่างๆเป็นไปด้วยความเข้าใจอันกระจ่างขึ้น ความคลาดเคลื่อนจากธรรมหรือบาปอกุศลย่อมจะไม่มีโอกาสกล้ำกลายมาสู่การคิด การพูด และการกระทำของผู้มีความยับยั้งชั่งใจ ถ้าท่านกระทำได้เช่นนั้น ย่อมได้ชื่อเป็นผู้รักษาเกียรติของความเป็นบัณฑิต และรักษาเกียรติของมหาวิทยาลัยได้โดยแท้ "

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4