ไม่กลัวปริ! ไม่ต้องปิดจมูก! วิทยาศาสตร์ฯ มธ. โชว์นวัตกรรม "เคลือบทุเรียน" กันกลิ่น-กันแตก ส่งออกได้มาตรฐาน ยืดอายุได้เพิ่มอีกเท่าตัว

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๕๓
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ชูนวัตกรรมเกษตรสร้างชาติ "ลดกลิ่น-ลดการแตกผลทุเรียนสด" โชว์นวัตกรรมการเคลือบผลทุเรียนสดด้วยเทคนิค Active Coating ที่สามารถชะลอการสุกของผลทุเรียนแก่ ขณะขนส่งได้นานถึง 2 สัปดาห์ และจะสุกพร้อมวางขายได้ทันทีเมื่อถึงปลายทาง อีกทั้งยังต่ออายุการเก็บรักษา (Shelf Life) ได้เท่าตัว มุ่งขจัดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ของผลทุเรียนเมื่อสุก และปัญหาผลแตกขณะขนส่งหรือส่งออกต่างประเทศได้ 100%ทั้งยังคงคุณภาพและรสชาติของเนื้อทุเรียนภายใน โดยนวัตกรรมดังกล่าว เกิดจากการพัฒนาใน 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียม Active Coating และ 2) ขั้นเคลือบผิวทุเรียน นำผลทุเรียนมาเคลือบด้วย Active Coating ที่เตรียมดีแล้วให้ทั่วทั้งผล เพื่อป้องกันเปลือกทุเรียนแตกระหว่างทาง ก่อนนำไปบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์พิเศษ อย่างไรก็ดี นวัตกรรมดังกล่าว ยังไม่มีการขายสูตรในเชิงพาณิชย์ แต่สำหรับเกษตรกรสวนทุเรียนที่สนใจ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร โทรศัพท์ 0-2564-4491 และ 086-365-6451 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทรศัพท์ 02-564-4440 ถึง 59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

รศ. วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยขั้นสูง และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า "ทุเรียน" ถือเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย จนได้รับการขนานนามเป็น ราชาผลไม้ เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกผลทุเรียนสดสูงขึ้นในทุกๆ ปี โดยล่าสุด ปี 2559 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 17,468 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 31.87 % (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทองที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจาก ประเทศจีน ฮ่องกง และไต้หวัน แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน เกษตรกรในหลายพื้นที่ยังคงประสบปัญหาสำคัญในการส่งออก คือ กลิ่นไม่พึงประสงค์ของผลทุเรียนเมื่อสุก และผลแตกขณะขนส่งหรือวางจำหน่าย ณ ประเทศปลายทาง ซึ่งในแง่ของมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกนั้น ผลทุเรียนจะต้องได้ทรงมาตรฐาน อยู่ในสภาพสมบูรณ์ รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ GAP เป็นต้น

รศ. วรภัทร กล่าวต่อว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. จึงได้พัฒนา "นวัตกรรม Active Coating ลดกลิ่น-ลดแตกของผลทุเรียนสด" นวัตกรรมการเคลือบผลทุเรียนสดด้วยเทคนิค Active Coating ภายใต้การดูแล senior project ของนายประกาสิทธิ์ ชุ่มชื่น นักศึกษาปริญญาตรี ร่วมพัฒนาจนสามารถชะลอการสุกของผลทุเรียนแก่ ขณะขนส่งได้นานถึง 2 สัปดาห์ และจะสุกพร้อมวางขายได้ทันทีเมื่อถึงปลายทาง อีกทั้งยังสามารถต่ออายุการเก็บรักษา (Shelf Life) ได้เท่าตัว เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเลือกตัดผลทุเรียนแก่เพิ่มขี้นเพื่อการส่งออก แทนผลอ่อนที่เมื่อไปถึงปลายทางไม่มีคุณภาพการบริโภค หรือไม่สุกตามปกติ หรือเกิดปัญหาผลแตกเมื่อถึงปลายทาง เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออกทุเรียนของเกษตรกรไทย ให้สามารถก้าวสู่ตลาดในระดับพรีเมียมได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีทางการเกษตร สู่การพัฒนาวัสดุห่อหุ้มผลทุเรียน (Active Coating) ใน 2 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นเตรียม Active Coating นำส่วนประกอบสำคัญ 3 ชนิด อันได้แก่ เส้นใยธรรมชาติ (Fiber) ที่ผ่านการตัดแปลงโครงสร้าง และผงถ่านกัมมันต์ (Active Carbon) ผสมรวมตามสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อดูดซับกลิ่นของทุเรียน แก๊สเอทิลีน และกลิ่นไม่พึ่งประสงค์อื่นๆ ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ อาทิ Dimethyl disulfide (DMDS) และ Dimethyl trisulfide (DMTS) ฯลฯ

2. ขั้นเคลือบผิวทุเรียน – นำผลทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีอายุประมาณ 110+5 วัน หลังดอกบาน จุ่มลงในเส้นใยให้ติดทั่วทั้งผล โดยที่เปลือกของทุเรียนจะมีความหนาขึ้นประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เพื่อเป็นการป้องกันเปลือกทุเรียนแตกระหว่างทาง จากนั้นจึงนำไปบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์พิเศษ พร้อมวิเคราะห์สารประกอบกลิ่น ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 23-27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 55-65%

ทั้งนี้ จากการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมลดกลิ่น-ลดแตกของผลทุเรียนสดเป็นเวลาถึง 2 ปี พบว่า เทคนิคการเคลือบผลทุเรียนด้วยเส้นใยจากพืช สามารถลดการแพร่กระจายกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของทุเรียน และป้องกันการแตกของผลได้ 100% เมื่อเทียบกับทุเรียนที่ไม่ได้ห่อหุ้มผล อีกทั้งยังคงคุณภาพของเนื้อทุเรียนภายในได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงนับเป็นอีกก้าวสำคัญของวิทยาศาสตร์ ในการพัฒนานวัตกรรมเกษตรยุคใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรในยุค 4.0 ได้อย่างตรงจุด ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ซึ่งมีต้นทุนโดยเฉลี่ยเพียง 2-3 บาทต่อผล แต่ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังไม่มีการจำหน่ายสูตรในเชิงพาณิชย์ โดยยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว แต่สำหรับเกษตรกรสวนทุเรียนที่สนใจในนวัตกรรมข้างต้น สามารถขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย รศ. วรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร โทรศัพท์ 0-2564-4491 และ 086-365-6451 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. โทรศัพท์ 02-564-4440 ถึง 59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้