คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลงานการวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด ก้าวสำคัญของการรักษาประชาชนไทยอย่างทั่วถึงในอนาคต พร้อมจัดตั้ง “กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนา"

พุธ ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๔๖
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด (CU Stem Cell and Cell Therapy Research Center) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในผู้ป่วย และจัดแถลงผลงานการวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัดซึ่งได้ทำการวิจัยเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว อาทิ การสร้างแผ่นกระจกตาจากสเต็มเซลล์เพื่อรักษาโรคกระจกตา การเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ด้วยหุ่นยนต์สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม การสร้างเกร็ดเลือดแก้ไขรหัสพันธุกรรมจากสเต็มเซลล์ที่สร้างจากเซลล์ผิวหนังผู้ป่วย และยังมีโครงการอื่นๆที่อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยของศูนย์ อาทิ โรคธาลัสซีเมียโรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็กโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดรุนแรงโรคพาร์กินสันการรักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยการปรับเปลี่ยนระบบคุ้มกัน(Cancer Immuneotherapy)เป็นต้น ซึ่งหลายโรคที่กล่าวถึงแม้ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการรักษามาตรฐานในอนาคตอันใกล้

การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัดหรือศูนย์วิจัยสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาแห่งนี้ที่จุดประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ขั้นสูงทัดเทียมกับศูนย์วิจัยชั้นนำในต่างประเทศสร้างห้องปฏิบัติการการเพาะเซลล์ที่มาตรฐานสากลเพื่อใช้ในการวิจัยและบริการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลในเครือข่าย วิจัยการรักษาโรคอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อไปสู่การนำไปใช้จริงในบริการอย่างครอบคลุมโดยไม่มุ่งหวังกำไรอย่างไรก็ตามการพัฒนาการรักษาใหม่ให้เกิดผลสำเร็จจนสามารถประกาศใช้เป็นการรักษามาตรฐานในประเทศนั้น ยังต้องมีการวิจัยและทำการรักษาจริงในผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ และการพัฒนาศักยภาพของศูนย์วิจัย อีกทั้งเพื่อให้บุคลลากรสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนศูนย์วิจัยฯ จึงได้ริเริ่มจัดตั้ง"กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนา" ขึ้น เพื่อประชาชนชาวไทยผู้มีจิตศรัทธาสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

การจัดตั้ง"กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์โดยสรุป คือ

- เพื่อพัฒนาวิทยาการทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีศักยภาพในการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง

ด้านเซลล์และยีนบำบัด

- สามารถให้การรักษาโรคซับซ้อนที่ไม่สามารถรักษาด้วยการรักษาทั่วไป

- สามารถผลิตเซลล์บำบัดและผลิตภัณฑ์สำหรับการรักษาที่มีมูลค่าสูงเพื่อลดการนำเข้าวิทยาการทางการแพทย์จาก ต่างประเทศ ให้ประชาชนทุกสถานภาพทางสังคม สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยเซลล์และยีนบำบัดลดค่าบริการไม่ให้สูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้

- เป็นแหล่งฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านเซลล์และยีนบำบัดของประเทศและเป็นแหล่งให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ ประชาชนทั่วไปสมดังปณิธานของการก่อตั้งโรงพยาบาล ที่มุ่งหวังให้เป็นที่พึ่งของประชาชนทั่วไปได้

ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์สเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด เผยว่า "ในปัจจุบันสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัดถือได้ว่าเป็นความหวังสำคัญสำหรับแพทย์ และผู้ป่วย ในการรักษาโรคร้ายต่างๆ มากมาย แม้ในปัจจุบันจะยังมีโรคที่การใช้ สเต็มเซลล์เป็นการรักษามาตรฐานแล้วไม่มาก แต่จากข้อมูลการวิจัยที่ก้าวหน้ารวดเร็วอย่างก้าวกระโดดในช่วง10 ปีเป็นที่เชื่อกันว่าในอนาคตอันใกล้จะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้ประโยชน์จากงานวิจัยสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัดจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเช่นโรคข้อเข่าเสื่อมที่ในประเทศมีผู้ป่วยหลายแสนคน เลือดจางธาลัสซีเมียซึ่งในประเทศไทยหนึ่งในสามเป็นพาหะโรคนี้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงกลุ่มโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งในเม็ดเลือด หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งในคนกลุ่มที่รักษาไม่หายพบว่าการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน ตัดต่อยีนมีประสิทธิภาพสูงจนกำลังจะได้รับการยอมรับจาก US FDA เซลล์ด้วยเหตุนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดตั้ง "ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้าน สเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด" เพื่อเป็นศูนย์ผลิตเซลล์บำบัดและพัฒนาการรักษาผู้ป่วยทุกสถานภาพทางสังคมด้วยเซลล์บำบัดนี้ได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพที่สุด พร้อมที่จะเป็นศูนย์วิจัยและบริการด้านเซลล์บำบัด ที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย

เมื่อกล่าวถึงเป้าหมายในการจัดตั้ง"กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนา" นี้ขึ้น ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยากล่าวว่า การริเริ่มของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ในการจัดตั้ง กองทุนนี้ มีแนวคิดสำคัญคือการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปทุกระดับชั้นจะได้รับโอกาสในการรักษาที่เป็นเลิศอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้มีการจัดให้มีส่วนนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับสเตมเซลล์ และเซลล์บำบัด เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นรูปร่างหน้าตาของเซลล์ในระดับเล็กสุดผ่านกล้องจุลทรรศน์ และให้ประชาชนเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะจึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านที่มีความสนใจร่วมชมนิทรรศการดังกล่าวได้ระหว่างวันที่ 22-24พฤษภาคม 2560 ที่ บริเวณ โซนอีเดน 3 ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิลด์ เวลา 11.00-21.00 น. หรือรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ โทร. 02 256 4000 ต่อ 80837 หรือ ส่งข้อความไปยัง Inbox ที่facebook.com/custemcells"กองทุนสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาและพัฒนา"ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัดคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8 โซน C

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้