ปภ. วางแผนจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือ – พัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ประสบภัย

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๑๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดำเนินการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยชนิดปรับระดับฐานล้อยกสูง พร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด สนับสนุนให้ศูนย์ ปภ.เขต ซึ่งได้ยึดการปฏิบัติตามระเบียบการจัดหาพัสดุราชการทุกขั้นตอน ทั้งการเผยแพร่ รับฟังความคิดเห็น การยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค การพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการส่งมอบงาน บนหลักการเปิดเผย โปร่งใส ภายใต้กลไกการแข่งขันด้านราคาอย่างเป็นธรรม โดยเครื่องจักรกลดังกล่าวสามารถใช้งานได้ทั้งบนพื้นราบ ที่ลาดชัน เนินเขา และพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งในภาวะวิกฤติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ส่วนในภาวะปกติ ปภ.ได้นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ ปภ. อปท. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนปภ.ชาติ พ.ศ. 2558 และกรอบการปฏิบัติงานในระดับสากล รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและบริหารจัดการสาธารณภัยของภาครัฐ

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สาธารณภัยของประเทศทวีความรุนแรงและมีรูปแบบซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และอาคารถล่ม ปภ.จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัย โดย ปภ. ได้จัดทำแผนการจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ระยะ 4 ปี โดยวางแผนจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยชนิดปรับระดับฐานล้อยกสูงพร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด สนับสนุนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์ฯ เขต ซึ่งแต่ละศูนย์ฯ เขต มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 – 5 จังหวัด แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ปภ.ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 ในการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ เพียงจำนวน 6 คัน โดยได้จัดสรรให้ศูนย์ปภ.เขต 6 แห่ง ซึ่ง ปภ. จะได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ สนับสนุนให้ศูนย์ ปภ. เขต ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป กรณีเกิดสาธารณภัยนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ฯ เขต ดังกล่าว สามารถเคลื่อนย้ายรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ไปปฏิบัติการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับการดำเนินการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ปภ.ได้ยึดการปฏิบัติตามระเบียบการจัดหาพัสดุราชการทุกขั้นตอน ทั้งการเผยแพร่ รับฟังความคิดเห็น การยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค การพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการส่งมอบงาน บนหลักการเปิดเผย โปร่งใส ภายใต้กลไกการแข่งขันด้านราคาอย่างเป็นธรรม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามระเบียบการจัดหาพัสดุของราชการ พร้อมได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านเครื่องจักรกลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยได้มีการจัดประชุมพิจารณาการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ (Spec) ด้านเทคนิคและราคากลาง โดยเปรียบเทียบสมรรถนะและคุณสมบัติของเครื่องจักรกลจากผู้ผลิตหลายบริษัท ซึ่งเป็นตัวแทนที่นำเข้าครุภัณฑ์จากต่างประเทศ รวมถึงได้มีการเผยแพร่รับฟังความคิดเห็นร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาทางเว็บไซต์กรมบัญชีกลางและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีผู้สนใจขอรับเอกสารฯ จำนวน 12 ราย ซึ่งผู้เสนองานที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคู่สัญญาได้เสนอราคาในวงเงินงบประมาณ ซึ่งต่ำกว่าราคากลางจำนวน 6 ล้านบาท ทั้งนี้ รถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากรถขุดตักล้อยางทั่วไป โดยสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพพื้นที่ ทั้งบนพื้นราบ ที่ลาดชัน เนินเขา และในพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องดำเนินการผ่านตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ส่วนการกำหนดราคากลางของรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ได้อ้างอิงราคาของตัวแทนผู้จำหน่ายภายในประเทศไม่น้อยกว่า 3 ราย โดยมีเจตนาเพื่อเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามแนวทางการจัดหาพัสดุของราชการ โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจสอบรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ที่ได้รับการส่งมอบแล้ว พบว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาและข้อกำหนดใน TOR ทุกประการ ซึ่ง ปภ.ได้จัดสรรรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ดังกล่าว ให้ศูนย์ ปภ.เขต 6 แห่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทั้งนี้ ปภ.ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่มีการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน โดยเฉพาะความโปร่งใสในการทำงาน และการยึดการปฏิบัติตามระเบียบทางราชการ พร้อมขอเรียนยืนยันว่า ปภ.มีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยไว้ประจำหน่วยงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยใช้ในการฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์แก่เจ้าหน้าที่ ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และกรอบการปฏิบัติงานในระดับสากล ช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและบริหารจัดการสาธารณภัยของภาครัฐ รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4