สรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคม 2560

ศุกร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๖:๒๖
ผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2560 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และหลายรายการมีราคาปรับลดลงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเช่นยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และสัปปะรดโรงงาน เป็นต้น ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในต่างจังหวัดขยายตัวต่ำ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้นมากนัก

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 64.3 70.9 และ 92.7 ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนเมษายน 2560 ที่อยู่ในระดับ 65.4 71.6 และ 94.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตมากนัก

การปรับตัวลดลงของดัชนีทุกรายการดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เช่นเดียวกัน โดยอยู่ที่ระดับ 76.0 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังฟื้นตัวขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้ ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนสูง ราคาพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะราคาข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารายังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นโดยรวม

สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยอยู่ที่ระดับ 53.7 แสดงว่าผู้บริโภครู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานในปัจจุบันยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ในอนาคตปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เช่นเดียวกันโดยปรับตัวสู่ระดับ 85.3 ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในอนาคต

การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ เป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่อาจเกิดขึ้นชั่วคราวจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นควบคู่กันซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 3-6 เดือนข้างหน้าคือการปรับตัวลดลงของสินค้าเกษตรหลายรายการได้แก่ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และสัปปะรดโรงงาน ตลอดจนการทรงตัวระดับต่ำของราคาข้าว ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดซึมตัวลง ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐและเร่งรัดการลงทุนของภาครัฐให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชนทั่วประเทศจะช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการใช้จ่ายของภาคประชาชนปรับตัวดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4