Smart Novices สามเณรยุคศตวรรษ 21 ทำโครงงานนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชน

จันทร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๐:๔๖
ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไทยยุคใหม่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ (Digital Generation) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Sites) เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) Line (ไลน์) อินสตาแกรม (instagram) ทวิตเตอร์ (Twitter) มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต วิธีคิด ค่านิยม รูปแบบการดำเนินชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสยุคบริโภคนิยมอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เยาวชนวัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้เครือข่ายเพื่อความบันเทิงมากกว่าแสวงหาความรู้ การใช้สื่อไม่เหมาะสมหลายรูปแบบ เช่น การเปิดและรับสื่ออนาจาร การสื่อสารคำพูดรุนแรง การแบ่งปันภาพไม่เหมาะสม การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดอาชญากรรม การล่อหลวงต่างๆ สะท้อนให้เห็นการใช้เทคโนโลยีที่ ขาดการพิจารณารู้เท่าทันสื่อ อย่างไรก็ตามการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การใช้สื่อที่เหมาะสมผ่านแนวคิดการทางหลักพุทธธรรมด้วยวิธีการฝึกให้เยาวชนรู้จักคิดตามหลักโยนิสมนสิการ ฝึกให้แยกแยะคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม มองเห็นคุณและโทษของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการเรียนรู้การทำโครงงาน (Project based Learning ) เป็นการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจและการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างเยาวชนในการใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างมีคุณภาพได้

จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยสนใจศึกษาเยาวชนกลุ่มสามเณรที่ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมามักปรากฏข่าวด้านลบเกี่ยวกับการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสมของสามเณรผู้เป็นศาสนทายาท เป็นกระแสความโต้แย้งในเชิงความเหมาะสมและพฤติกรรมใช้การสื่อสังคมออนไลน์ขัดต่อพระวินัยของนักบวชหรือไม่ และยังส่งผลต่อภาพลบในความเสื่อมใสศรัทธาต่อคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยเลือกศึกษาสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริริเริ่ม "โครงการพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร"ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการช่วยให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับสูงเพื่อเป็นรากฐานชีวิตที่เข็มแข็งในการพัฒนาตนเองและนำความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ในชุมชนบ้านเกิด แต่ยังมีเด็กและเยาวชนอีกส่วนหนึ่งที่ขาดโอกาสทางการศึกษาและเลือกบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาซึ่งเปิดสอนทั้งสายสามัญตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และสายนักธรรมและบาลี ควบคู่กัน ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 15 โรงเรียนในจังหวัดน่าน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเรื่อง ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามหลักพุทธจิตวิทยาของสามเณร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักพุทธจิตวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ

1). ดำเนินการวิจัยระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาและพฤติกรรมใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสามเณร จำนวน 15 โรงเรียน พบผลสำรวจเบื้องต้นคือ สามเณรส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน๊ตเฉลี่ย 1-3 ชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาเล่นเกมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อความเพลิดเพลินและติดตามข่าวสารเพื่อนในสังคมออนไลน์

2). ดำเนินการวิจัยระยะที่ 2 คือ การฝึกอบรมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ตามหลักพุทธจิตวิทยา เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ผ่านชุดกิจกรรม 18 กิจกรรม คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนำร่อง 3 โรงเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม

3). ดำเนินการวิจัยระยะที่ 3 คือ การทำโครงงาน (Project based Learning) ในวัดหรือโรงเรียนเป็นเวลา 4 เดือน โดยได้ออกแบบการวิจัยแบบบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ เป็นชุดกิจกรรมการฝึกพัฒนาค่านิยมและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสม ใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ เช่น วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ฝึกควบคุมตนเองในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์และพัฒนาตนตามหลักพุทธธรรม จำนวน 18 กิจกรรม และทำโครงงานเพื่อพัฒนาค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 4 เดือน (Project based Learning) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สามเณรได้รู้จักตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเป็นการพัฒนาตนเองทั้งในระดับ กาย ศีล จิต และปัญญา พร้อมทั้งนำศักยภาพที่ตนเองมีอยู่มาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดผลกระทบทั่งยั่งยืนในองค์กรของตนเองด้วยการสร้างนวัตกรรมของสามเณรกระทำผ่านกระบวนการ (Project based Learning) ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกทักษะแก้ปัญหา ด้านการคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมโครงงานที่ออกแบบในแต่ละกลุ่มสอดคล้องกับการจัดประสบการการเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21

ผลวิจัยพบว่า

1.รูปแบบฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุดในพัฒนาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา คือ การฝึกให้สามเณรลงมือปฏิบัติทำโครงงาน Project based learning เป็นเวลา 4 เดือน ผ่านกิจกรรมและหัวข้อที่แต่ละกลุ่มสนใจ เผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการฝึกฝนให้สามเณรได้สำรวจปัญหาและพฤติกรรมของตัวเองและชุมชน ฝึกคิดโครงงานสร้างสรรค์เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ผ่านโครงงานและลดเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ผลวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า สามเณรมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม 4 ด้านสูงกว่าก่อนได้เข้าโครงการอบรม ได้แก่ มีเหตุผลในการคิด มีการควบคุมตนเอง มีค่านิยมพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามหลักพุทธจิตวิทยาเพิ่มสูงขึ้น

2. จากผลสำเร็จของโครงงานจากการทำกิจกรรมโครงงาน (Project based Learning) สามเณรผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เรียนรู้การสรุปความคิดรวบยอด และสามารถนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจได้ โดยในการนำเสนอผลงานโครงการ Smart Novices สามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การแสดงนิทรรศการ เวปเพจ Smart Novices จำนวน 5 โครงงาน ได้แก่ โครงงาน ไม่เหลียวไม่แลไม่แคร์บุหรี่ โครงงานธนาคารขยะรีไซเคิล โครงงานการใช้โทรศัพท์ให้ถูกที่ถูกเวลา โครงงานการปรับภูมิทัศน์ในบริเวณโรงเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง และโครงงานพุทธศิลป์ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ 1) คิดประเด็นโครงงานตามความสนใจและความถนัดของแต่ละกลุ่ม 2)นำเสนอตามขั้นตอนกระบวนการวิจัย เริ่มจากสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา เป้าหมายหรือผลที่ต้องการเมื่อสิ้นสุดโครงการ วิธีดำเนินงาน/กิจกรรมที่ทำ ธรรมะที่ใช้ในการดำเนินงาน 3) ลงมือปฏิบัติในชุมชน (โรงเรียนหรือวัด)

3. ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า สามเณรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 4 ด้านด้วยกันคือ (1) ด้านกาย มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ทำให้สุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์มากขั้น (2) ด้านศีล มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนดีขึ้น มีความสามัคคี รู้จักการสื่อสาร เพื่อชักจูงและชักนำในการพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ เกิดความรู้สึกรักและผูกพันกับสถานศึกษา เกิดสัมพันธภาพที่ดี ทำให้มีความรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน (3) ด้านจิตใจ สามเณรสามารถควบคุมตนเองได้ มีสมาธิในการเรียนดีขึ้น ผลการเรียนดีขึ้น จิตใจแจ่มใสเบิกบาน มีความกล้าในแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเองมากยิ่งขึ้น และ (4) ด้านปัญญา จากการฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมโครงงานทำให้ได้ประสบการณ์ตรงรู้จักประโยชน์ที่แท้จริงของสื่อสังคมออนไลน์ และนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ในสถานศึกษา ภายใต้โครงงาน "การใช้โทรศัพท์ให้ถูกที่ถูกเวลา"

ดังนั้น การพัฒนาค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะเหมาะ จะต้องออกแบบกิจกรรมผ่านการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยและความเปลี่ยนแปลงของบริบทของสังคม ผ่านกระบวนการฝึกฝนให้เยาวชนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ก่อให้เกิดกระบวนเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด รู้จักการควบคุมตนเอง และนำหลักธรรมมาปรับใช้กับกิจกรรมให้เกิดการตระหนักรู้เท่าทันสื่อ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีดังนี้ 1) กัลยาณมิตร ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และเพื่อนสามเณรในโรงเรียน 2) การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ เพื่อรู้จักใช้สื่อในทางสร้างสรรค์ 3) การทำโครงงาน (Project based Learning) นำไปสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4