“ปลัดท่องเที่ยว” ชูสุดยอดเส้นทางภาคเหนือ ชวนตามรอยอารยธรรมล้านนา

อังคาร ๒๗ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๔๗
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานแถลงข่าวโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอารยธรรมล้านนาตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อคัดเลือก "ศักยภาพเส้นทางต้นแบบ The Ultimate Lanna Experience Campaign" พร้อมด้วย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายสุธน วิชัยรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ และ ดร.กรวรรณ สังขกร หัวหน้าศูนย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดึงศักยภาพในแต่ละท้องถิ่น และเป็นการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ เชียงใหม่ (คุ้มขันโตก) โดยได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ปัจจุบันเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอายธรรมล้านนา ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา และจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มีมติให้เพิ่มอีก 3 จังหวัด ในอนาคต คือ แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน เนื่องจากทั้ง 3 จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมานี้ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่คล้ายคลึงกัน และสามารถพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้ ทำให้ในอนาคตจะมีเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอายธรรมล้านนาทั้งหมด 8 จังหวัด

ปลัดฯพงษ์ภาณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า เส้นทางสุดยอดอายธรรมล้านนา ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ

1. เส้นทางมนต์เสน่ห์ล้านนา

2. เส้นทางวิถีล้านนา สุดทางรักษ์แม่น้ำโขง

3. เส้นทางหัตถกรรม หัตถ์ศิลป์ ถิ่นล้านนา

ซึ่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 "เส้นทางหัตถกรรม หัตถ์ศิลป์ ถิ่นล้านนา" ได้รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เนื่องจากได้รับคัดเลือกให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางหัตถกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์และความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น จังหวัดลำปาง ได้แก่ เซรามิก ชามตราไก่, จังหวัดลำพูน ได้แก่ ผ้าทอมือและแกะสลัก, จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ผ้าพื้นเมือง เครื่องเงิน, จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผ้าทอไทลื้อ ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชาวไทยภูเขาดอยตุง และจังหวัดพะเยา ได้แก่ ผ้าทอไทลื้อ และผลิตภัณฑ์ผักตบชวา

โดยกิจกรรมที่สำคัญของโครงการฯ ได้แก่

1. สำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว สินค้า และบริการในเส้นทางอารยธรรมล้านนา

2. จัดทำแผนแม่บท เส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอายธรรมล้านนา พ.ศ. 2560-2562

3. คัดเลือกเส้นทางต้นแบบ The Ultimate Lanna Experience Campaign

4. พัฒนารูปแบบสินค้า การบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว โดยมีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนารูปแบบสินค้า การบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว รวมถึงจัด FAM Trip ตามเส้นทางท่องเที่ยวสุดยอดอารยธรรมล้านนาและจัดทำ Web service ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยว

5. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ โดยจัดให้มี คู่มือประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวสินค้าและบริการ, การจัดทำแผ่นพับ, การประชาสัมพันธ์ผ่าน Website ด้านการท่องเที่ยว, การจัดทำคลิปวีดีโอ The Ultimate Lanna Experience Campaign และจัดงานแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาสัมผัสเส้นทางสุดยอดอารยธรรมล้านนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๓๘ โอซีซี มอบฝาขวดน้ำ เพื่อทำเก้าอี้ให้น้อง ๆ ในโรงเรียนขาดแคลน
๑๑:๑๘ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดศูนย์ทดสอบหลักสูตร CISA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๑:๓๕ 'ราชบุรี มีลาย' อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ 'ลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง
๑๑:๕๓ พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ ทิพยประกันภัย มอบความสะดวกและรวดเร็ว ซื้อประกันภัยผ่าน QR Code
๑๑:๐๙ FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น
๑๐:๑๙ รมว.อว. เป็นประธานเปิดบูธนิทรรศการผลงาน @ Thai Pavilion พร้อมให้กำลังใจนักประดิษฐ์ไทย นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่
๑๐:๔๖ BRIDGESTONE TURANZA T005 EV ยางพรีเมียมสมรรถนะสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เหนือระดับด้วยเทคโนโลยี ENLITEN(R)ได้รับเลือกเป็นยางล้อมาตรฐานติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ MG4 XPOWER
๐๙:๑๔ อพท. เปิดรับสมัคร สุดยอดนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ชิงเงินรางวัลกว่า 130,000
๐๙:๔๑ หนังสือ Royal Thai Cuisine ตำรับอาหารไทยชาววัง วิทยาลัยดุสิตธานี
๑๘ เม.ย. เด็ก ม.กรุงเทพ ยกทีม คว้าชนะเลิศครีเอทคลิปสั้นได้ใจฟูมาก