ฝนหลวงฯ จับมือ กองทัพบก ปั้นเมล็ดพันธุ์พืชเตรียมพร้อมปฏิบัติการเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย

ศุกร์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๒๐
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมกับกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมามณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์ และมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี บูรณาการความร่วมมือปั้นเมล็ดพันธุ์พืชเตรียมปฏิบัติภารกิจเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย สานต่อพระราชปณิธานรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10

วันที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลา 10.00 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการปั้นเมล็ดพันธุ์พืช ณ มณฑลทหารบกที่ 31 ค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกล่าวว่า ตามที่ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดทำโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและเพิ่มผืนป่าทั่วประเทศไทย สานต่อพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำและเป็นแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า โดยได้มีการเตรียมความพร้อมการปั้น เมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตรกับกองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา มณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์ และมณฑลทหารบกที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับใช้โปรยในโครงการดังกล่าว ซึ่งมีชนิดเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ในโครงการและพื้นที่เป้าหมายการโปรยทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ดังนี้

- ภาคกลาง โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ขี้เหล็ก แดง พฤกษ์ มะค่าแต้ ราชพฤกษ์ (คูน) สาธร (กระเจาะ) สีเสียด (สีเสียดแก่น) และอะราง (นนทรีป่า) โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวและอุทยานแห่งชาติเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่รวกและพะยูง โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

- ภาคใต้ โปรยเมล็ดพันธุ์พืชจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ประดู่ (ตีปีก) และมะค่าโมง โดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ในพื้นที่เป้าหมายบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดนครราชสีมา

นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "9 วัน สู่วัน มหามงคล 65 วัน สืบสานพระราชปณิธาน" โดยการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศในพื้นที่แหล่งต้นน้ำบริเวณพื้นที่เดินเท้าเข้าถึงยากหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติการฝนหลวงในแต่ละวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรป่าไม้ได้ ทั้งนี้ มีหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินการ 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กองทัพบก โดยกองทัพภาคที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา มณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี และมณฑลทหารบกที่ 31 จังหวัดนครสวรรค์ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมชลประทาน กรมการปกครอง และกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกร อาสาสมัครฝนหลวง และประชาชนทั่วไปด้วย

สำหรับการเปิดตัวโครงการจะมีการจัดงานแถลงข่าวขึ้นในวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห้อง 115 และมีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ณ เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๑๗ ผู้ถือหุ้น AGE ไฟเขียวปันผล 0.20 บาท ฉลุย
๑๓:๒๙ ไทยเวียตเจ็ทเสนอ โปรส่งท้าย เที่ยวคลายร้อน ตั๋วเริ่มต้น 100 บาท
๑๓:๔๗ TERA เปิดเทรดวันแรกราคาพุ่งเหนือจอง 122.86 %
๑๓:๔๑ LINE TODAY ปักธง 'LIVE TODAY' ออนไลน์ไลฟ์แห่งชาติ เดินหน้าดันพันธมิตรโต ตอกย้ำกลยุทธ์สร้างอิมแพคให้ธุรกิจคอนเทนต์
๑๓:๒๐ Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON ต่อยอดกระเป๋ารุ่น Tabby Bag สู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาดหมาย
๑๓:๔๒ YLG ชี้ทองคำผันผวนระยะสั้นรับแรงขายทำกำไร หลังคลายกังวลเหตุปะทะตะวันออกกลาง ระยะสั้นแนะขาย ระยะยาวหาจังหวะเก็บรับเทรนด์ระยะยาว 2-3
๑๓:๒๒ สสวท. จับมือ องค์การค้าของ สกสค. อบรมครู สควค. สร้างพลังครูวิทย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๓:๐๐ บัตรเครดิต ttb ชวนมาอิ่มคุ้ม กิน 1,000.- ลด 100.- ในแคมเปญ Tasty Asian กับ 9 ร้านดังสไตล์เอเชียน
๑๓:๒๐ ปุ้มปุ้ย เปิดตัว ปลาราดพริก สูตรน้ำตาลน้อย ลุยตลาดคนรักสุขภาพ ชูทางเลือกใหม่ ได้คุณภาพ และความสะดวก ตอกย้ำที่หนึ่งผู้นำอาหารกระป๋องปรุงรส
๑๓:๔๑ ไอคอนสยาม จับมือมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดแสดงผลงานนักศึกษา Prismatic ความหลากหลายทางความคิดสู่ผลงานศิลปะที่สะท้อนตัวตน ณ ICON ART CULTURE