ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560

จันทร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๕
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผูอำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนมิถุนายน 2560) ว่ารัฐบาลมีรายไดนำสงคลังทั้งสิ้นจำนวน 1,742,827 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 2,257,468 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 429,681 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 285,296 ลานบาท

นายกฤษฎาฯ สรุปวา "ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 ฐานะการคลังของรัฐบาลยังอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง ส่งผลให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง"

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560

หน่วย: ล้านบาท

9 เดือน เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 1,742,827 1,808,649 (65,822) (3.6)

2. รายจ่าย 2,257,468 2,248,650 8,818 0.4

3. ดุลเงินงบประมาณ (514,641) (440,001) (74,640) (17.0)

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (71,044) (125,913) 54,869 43.6

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (585,685) (565,914) (19,771) (3.5)

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 429,681 375,180 54,501 14.5

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (156,004) (190,734) 34,730 18.2

8. เงินคงคลังปลายงวด 285,296 235,448 49,848 21.2

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูไดจาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร 0 2273 9020 ตอ 3538

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมิถุนายน 2560 และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนมิถุนายน 2560)

1. ฐานะการคลังเดือนมิถุนายน 2560

1.1 รัฐบาลมีรายไดนำสงคลัง จำนวน 324,526 ลานบาท เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นำส่งคลังต่ำกว่าเดือนเดียวกันปที่แลว 15,986 ลานบาท สาเหตุหลักมาจากการนำส่งเงินค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลในปีก่อน ซึ่งไม่มีการนำส่งเงินดังกล่าวในปีนี้

1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 224,849 ลานบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวจำนวน 39,909 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 15.1) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 212,626 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.2 ประกอบดวยรายจายประจำจำนวน 181,788 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปที่แลวรอยละ 14.0 และรายจายลงทุน 30,838 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.7 โดยมีสาเหตุหลักมาจากเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นงวดเดือนกรกฎาคมที่ปีก่อนได้มีการเร่งมาเบิกจ่ายในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปกอนจำนวน 12,223 ลานบาท ต่ำกวาเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.6

การเบิกจายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ไดแก รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง จำนวน 44,958 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 7,919 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5,662 ล้านบาท

ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนมิถุนายน 2560

หนวย: ลานบาท

เดือนมิถุนายน เปรียบเทียบ

2560 2559 จำนวน ร้อยละ

1. รายจายปปจจุบัน 212,626 250,775 (38,149) (15.2)

1.1 รายจายประจำ 181,788 211,389 (29,601) (14.0)

1.2 รายจายลงทุน 30,838 39,386 (8,548) (21.7)

2. รายจายจากงบประมาณปกอน 12,223 13,983 (1,760) (12.6)

3. รายจายรวม (1+2) 224,849 264,758 (39,909) (15.1)

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายไดนำสงคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลขางตน สงผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2560 เกินดุลจำนวน 99,677 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 71,322 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 60,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดก่อนกู้ชดเชยการขาดดุลเกินดุลจำนวน 28,355 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 25,300 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเทากับจำนวน 53,655 ล้านบาท (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2560

หน่วย: ล้านบาท

เดือนมิถุนายน เปรียบเทียบ

2560 2559 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 324,526 340,512 (15,986) (4.7)

2. รายจ่าย 224,849 264,758 (39,909) (15.1)

3. ดุลเงินงบประมาณ 99,677 75,754 23,923 31.6

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (71,322) (32,873) (38,449) (117.0)

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (๓+๔) 28,355 42,881 (14,526) (33.9)

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 25,300 8,419 16,881 200.5

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (๕+๖) 53,655 51,300 2,355 4.6

8. เงินคงคลังปลายงวด 285,296 235,448 49,848 21.2

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 -เดือนมิถุนายน 2560)

2.1 รายไดนำสงคลัง รัฐบาลมีรายไดนำสงคลังทั้งสิ้นจำนวน 1,742,827 ลานบาทเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยรายได้นำส่งคลังต่ำกวาชวงเดียวกันปที่แลวจำนวน 65,822 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 3.6) เนื่องจากในปีที่ผ่านมารัฐบาลมีรายได้พิเศษจากการประมูลคลื่นความถี่ 3G และ 4G และส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษดังกล่าว รายได้นำส่งคลังปีนี้ จะสูงกว่าปีที่แล้วจำนวน 21,379 ล้านบาท

2.2 รายจายรัฐบาล การเบิกจายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 2,257,468 ล้านบาท สูงกว่าชวงเดียวกันปที่แลวจำนวน 8,818 ลานบาท (คิดเปนรอยละ 0.4) ประกอบดวย รายจายปีปัจจุบันจำนวน 2,077,534 ลานบาท คิดเปนร้อยละ 71.1 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย (2,923,000 ล้านบาท) สูงกว่าชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.3 และรายจายจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 179,934 ล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันปที่แล้วร้อยละ 9.1 (ตารางที่ 3)

รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 2,077,534 ลานบาท ประกอบดวยรายจายประจำจำนวน 1,803,009 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 77.8 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลงจำนวน 2,316,330 ล้านบาท) สูงกวาชวงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 และรายจายลงทุนจำนวน 274,525ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 45.3 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลงจำนวน 606,670 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปที่แลวรอยละ 3.7

ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนมิถุนายน 2560)

หน่วย: ล้านบาท

9 เดือน เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จำนวน ร้อยละ

1. รายจ่ายปปจจุบัน 2,077,534 2,050,624 26,910 1.3

1.1 รายจ่ายประจำ 1,803,009 1,785,909 17,100 1.0

1.2 รายจ่ายลงทุน 274,525 264,715 9,810 3.7

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 179,934 198,026 (18,092) (9.1)

3. รายจ่ายรวม (1+2) 2,257,468 2,248,650 8,818 0.4

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุลจำนวน 585,685 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 514,641 ล้านบาท ในขณะที่เงินนอกงบประมาณขาดดุลจำนวน 71,044 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 60,000 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 429,681ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับจำนวน 156,004 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 285,296 ล้านบาท (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (เดือนตุลาคม 2559 - เดือนมิถุนายน 2560)

หน่วย: ล้านบาท

9 เดือน เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2559 จำนวน ร้อยละ

1. รายได้ 1,742,827 1,808,649 (65,822) (3.6)

2. รายจ่าย 2,257,468 2,248,650 8,818 0.4

3. ดุลเงินงบประมาณ (514,641) (440,001) (74,640) (17.0)

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ (71,044) (125,913) 54,869 43.6

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) (585,685) (565,914) (19,771) (3.5)

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 429,681 375,180 54,501 14.5

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) (156,004) (190,734) 34,730 18.2

8.เงินคงคลังปลายงวด 285,296 235,448 49,848 21.2

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนกงานเศรษฐกิจการคลัง

สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร 0 2273 9020 ต่อ 3563

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud