G-ABLE หนุนความคิดคนรุ่นใหม่ ใช้ไอทียกระดับอุปกรณ์ทางการแพทย์

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๕๔
"โอกาส" เมื่อมีเข้ามาก็ต้องรีบคว้าไว้ เช่นเดียวกับ น้องๆ ทีม WELSE อีกกลุ่มเยาวชนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ชนะการแข่งขันเวที Imagine Cup Thailand 2017 จากการนำเสนออุปกรณ์ IoT แบบพกพาสำหรับการตรวจเลือดด้วยการทดสอบเชิงคลินิก (Clinical Test) และส่งผลไปยังแอปพลิเคชัน IoT Platform เพื่อการวิเคราะห์จากแพทย์เป็นลำดับต่อไป น้องๆ จะเป็นตัวแทนระดับภูมิภาคเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศเพื่อชิงถ้วย Imagine Cup ณ กรุงซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา

ดร.ศิษฏพงศ์ เศรษฐภัทร Head of Big Data Management & Advance Analytics กลุ่มบริษัท G-ABLE กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ยุคนี้เป็นยุคของ IoT และ Cloud ซึ่งในอนาคต ประเทศไทยน่าจะมีการใช้งานมากยิ่งขึ้น จีเอเบิลจึงพร้อมสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่ อย่างเช่น ทีม WELSE ในการต่อยอด Big Data ด้วยโซลูชัน IoT โดยใช้ความชำนาญและประสบการณ์ความผู้นำด้าน Big Data ของ G-ABLE สนับสนุนน้องๆ ในครั้งนี้ และนับเป็นอีกนโยบายสำคัญของบริษัทฯ ในการส่งเสริมผลงานเยาวชนรุ่นต่อไป

G-ABLE สนับสนุนนิสิตนักศึกษามาฝึกงาน ได้ลงมือทำงานจริง เรียนรู้ทำงานร่วมกับพนักงาน ทีมวิจัย ผู้เชี่ยวชาญของบริษัท เพื่อให้เด็กได้ความรู้ ประสบการณ์ทุกด้าน เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทที่จะให้ความสำคัญกับ Big Data และ IoT Cloud ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Big Data จะเข้ามาตอบโจทย์ พร้อมสนับสนุนและผลักดันผลงานของนิสิตนักศึกษาก้าวสู่ตลาด สร้างสรรค์อุปกรณ์และนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อวงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

"ปัจจุบันประเทศไทยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมน้อย ทั้งยังขาดทรัพยากรบุคคล โดยคนที่มีความรู้ความสามารถมีเยอะ แต่คนที่เข้าใจอย่างแท้จริงและนำไปใช้ประโยชน์ได้มีจำนวนจำกัด ฉะนั้น หากน้องๆ สนใจทำ Startup ก็พร้อมสนับสนุน เพื่อยกระดับการรักษาทางการแพทย์ ทำให้มาตรฐานไอทีในวงการทางการแพทย์ของไทยดีขึ้น เด็กมีแรงบันดาลใจของตนเอง และหากเขารู้วิธีการใช้พัฒนา IoT ไปต่อยอดไม่ใช่เรื่องยาก"

"ตอนนี้ การทำธุรกิจ Startup มีประสบความสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ต้องยอมรับว่า จุดอ่อน คือเรื่องการตลาด และการทำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้ได้ ซึ่งผลงานของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ล้วนเป็นความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจที่อัดแน่นไปด้วยความแปลกใหม่ ท้าทาย และต่อยอดได้ เพียงแต่ต้องหาเครือข่าย ให้คำแนะนำหลักการตลาด ใช้ประโยชน์ พัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมเข้าสู่ตลาดจริงๆ"ดร.ศิษฏพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

3 หนุ่ม จากทีม WELSE แชมป์-นายคเณศ เขมิกานิธิ, ลูกคิด-นายพสธร สุวรรณศรี และ ปังปอนด์-นายภาสกร จันทรมหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ช่วยกันเล่าถึงจุดเริ่มต้นของผลงานดังกล่าวว่า เขาทั้ง 3 คน ได้ร่วมกันทำโปรเจคจบการศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป โดยพวกเราได้มองถึงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ในชนบท อีกทั้งพวกเขา 3 คน เป็นเด็กวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ อยากได้ความรู้อะไรที่แตกต่าง และใช้ความรู้ที่เราเรียนมาบูรณาการให้เกิดเป็นผลงานที่ให้ประโยชน์ในวงการแพทย์และวงการศึกษา

"จุดเริ่มต้นของพวกเรา คือการมองหาประเด็นปัญหา หรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งส่วนตัวเสนอเพื่อนๆ ว่า อยากทำเกี่ยวกับ Healthcare เพราะรู้สึกว่าเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาในหลายด้าน แต่ด้านสุขภาพ เทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องยังไม่มาก อยากสร้างสรรค์อุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ ยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้" แชมป์ เล่า

ก่อนทำโปรเจคดังกล่าว 3 หนุ่ม ได้มีโอกาสลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งโชคดีที่พวกเขาได้ข้อมูลจากเหล่าพยาบาลอาสา ได้เห็นถึงการบริการทางการแพทย์ เข้าใจถึงปัญหา เมื่อรู้ปัญหาก็เริ่มค้นหาคำตอบ

แชมป์ เล่าต่อไปว่า ได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาค้นหาคำตอบ วางแพลตฟอร์ม หรือระบบการปฏิบัติการ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ซึ่งอุปกรณ์ที่พวกเราช่วยกันสร้างนั้น เป็นการตรวจวัดระบบเอนไซม์ในเลือด เพื่อหาค่าความผิดปกติของตับ เป็นขนาดพกพาที่ทำการย่อส่วนจากห้องแล็ปมาทำงานควบคู่กับแผ่นพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งนำของเหลวในร่างกายมาผสมกับสารเคมีให้สามารถตวงวัดความผิดปกติของร่างกายในเบื้องต้นได้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย โดยตัวอุปกรณ์จะทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทีม WELSE ซึ่งใช้เวลา 1 ปี ในการคิดค้นอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นนวัตกรรมที่ตรวจสอบเลือดเพื่อวัดระดับค่าตับแบบ Early detection จากเดิมเวลาคนไปตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโรคต้องเดินทางไปโรงพยาบาลและต้นทุนในการตรวจปกติต่อการเจาะเลือดหนึ่งครั้งตกอยู่ที่ 150 บาทต่อ 1 sample แต่ Device ของ WELSE นี้จะช่วยย่อขนาดของเครื่องตรวจเลือดเหลือเป็นเครื่องเล็กๆ ที่สามารถเข้าถึงในระดับชุมชนและชนบทที่ห่างไกลได้ และต้นทุนลดเหลือ 30 บาท ต่อ 1 sample และ 1 sample สามารถวัดค่าได้ 3 ระดับเอนไซม์ในเลือด 3 ชนิด คือ AST, ALT และ GGT

ลูกคิด เล่าเสริมว่า ตนทำส่วนซอฟต์แวร์ทั้งหมดของโปรเจค ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชัน IoT และ Cloud รวมถึง Mobile Application การทำเว็บต่างๆ ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้รับมีเยอะมาก เพราะเรียกได้ว่าเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นไปจนถึงใช้งานได้จริง โดยเริ่มต้นนั้น ต้องยอมรับว่า การทำระบบติดตั้ง การให้บริการ การใช้ Big Data ได้ขอคำแนะนำจากทาง G-ABLE ซึ่งเคยไปฝึกงานก่อนหน้า ที่ทำให้ได้เห็นมุมมองของการทำงาน การใช้ประโยชน์จาก Big Data, IoT และ Cloud รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากห้องเรียน

ขณะที่ ปังปอน เล่าว่า ตนรับผิดชอบในส่วนของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ซึ่งนอกจากได้นำองค์ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ เพราะพวกเราทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลายสิ่งที่เรียนมาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อาจจะยังไม่พอ เช่น การตรวจเลือด ต้องทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไร เป็นต้น ดังนั้น การทำงานของเรา 3 คน เป็นคนละรูปแบบ จึงต้องหาจุดร่วมกันเพื่อให้ทำงานตรงตามที่พวกเราต้องการ

"ผลงานชิ้นนี้เป็นความร่วมมือของเรา 3 คน ที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี ไม่ว่าจะเป็นทางมหาวิทยาลัย ภาคเอกชนอย่าง G-ABLE หรือ SCG ซึ่งในส่วนของกลุ่มบริษัท G-ABLE ร่วมกับ KMUTT โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ SCG Chemical ในการสร้างสรรค์ พัฒนาผลงานเพื่อให้สามารถใช้ได้จริงในโรงพยาบาลต่างๆ โดยแต่ละแห่งได้รับการสนับสนุนเงินทุน และให้คำแนะนำจากทีมวิจัยละพัฒนา เพื่อต่อยอดโครงการให้กลายเป็นบริษัท Start up นี้เป็นเป้าหมายที่พวกเราวางไว้ แต่ก็ต้องพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวไปเรื่อยๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดเป็นอุปกรณ์ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. เปิดโพล! สงกรานต์ คนไทยยังอยาก รวย อวย Soft Power เสื้อลายดอก-กางเกงช้าง ต้องใส่สาดน้ำ
๑๗ เม.ย. ฮีทสโตรก : ภัยหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิต
๑๗ เม.ย. STX เคาะราคา IPO 3.00 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 18,19 และ 22 เม.ย. นี้ ปักธงเทรด mai 26 เมษายน 67
๑๗ เม.ย. ถอดบทสัมภาษณ์คุณอเล็กซานเดอร์ ฟาบิก (Alexander Fabig) และคุณปีเตอร์ โรห์เวอร์ (Peter Rohwer) ผู้เชี่ยวชาญ
๑๗ เม.ย. HIS MSC จัดงานสัมมนา The SuperApp ERP for Hotel
๑๗ เม.ย. ที่สุดแห่งปี! ครบรอบ 20 ปี TDEX (Thailand Dive Expo) มหกรรมธุรกิจท่องเที่ยวดำน้ำระดับเอเชีย งานเดียวที่นักดำน้ำรอคอย
๑๗ เม.ย. เคทีซีเสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด เคทีซี พราว
๑๗ เม.ย. ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง CHAO เตรียมเสนอขาย IPO ไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น ระดมทุนเข้าจดทะเบียนใน SET
๑๗ เม.ย. แอร์เอเชีย บิน สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่ เริ่มต้น 1,000 บาทต่อเที่ยว* เสริมทัพหาดใหญ่ บินเลือกได้ทั้งดอนเมืองและสุวรรณภูมิ!
๑๗ เม.ย. YONG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น