ปภ.รายงานสถานการณ์น้ำไหลหลากใน 10 จังหวัด พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง

ศุกร์ ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๐๗
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2560 มีพื้นที่ประสบภัย รวม 44 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่และ ความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหา อำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชน ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2560 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 44 จังหวัด รวม 289 อำเภอ 1,417 ตำบล 10,487 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 495,523 ครัวเรือน 1,587,892 คน ผู้เสียชีวิต 27 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด รวม 99 อำเภอ 633 ตำบล 5,276 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 274,512 ครัวเรือน 837,896 คน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอภูพาน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอส่องดาว อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอเต่างอย และอำเภอโพนนาแก้ว รวม 115 ตำบล 1,267 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 135,044 ครัวเรือน 426,037 คน ผู้เสียชีวิต 10 ราย กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอนามน อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอยางตลาด อำเภอห้วยเม็ก อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอคำม่วง อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอสามชัย อำเภอนาคู อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย รวม 116 ตำบล 1,217 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 37,136 ครัวเรือน อพยพประชาชน 30 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 195,301 ไร่ นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอวังยาง อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์ รวม 21 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 360 ครัวเรือน ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 53 ตำบล 398 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,051 ครัวเรือน อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม รวม 52 ตำบล 426 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,956 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 58,734 ไร่ นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยาง อำเภอโนนแดง และอำเภอประทาย รวม 21 ตำบล 242 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 9,532 ครัวเรือน ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 20 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเชียงขวัญ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตน์ และอำเภอโพนทอง รวม 116 ตำบล 847 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35,965 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 4 ราย นาข้าวเสียหาย 400,139 ไร่ อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตระการพืชผล อำเภอเดชอุดม อำเภอเขื่องใน อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอนาเยีย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ รวม 65 ตำบล 450 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 14,208 ครัวเรือน หนองคาย ฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำท่วมพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ รวม 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน 117 ครัวเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบ 85 ครัวเรือน 255 คน ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำ ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 72 ตำบล 353 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,083 ครัวเรือน ทั้งนี้ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัยให้ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ให้เชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๒๒ เสนา ตอกย้ำความสำเร็จ ในการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
๐๙:๑๑ EP พร้อมเดินหน้ารับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานลม ดันผลงานปี67โตทะยาน 4 เท่า หลังได้รับการสนับสนุนเงินกู้ Project Finance จาก
๐๙:๓๘ BEST Express บุก บางบัวทอง เปิดแฟรนไซส์ขนส่งสาขาใหม่ มุ่งศึกษาพื้นที่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ตอบความต้องการตรงจุด
๐๙:๑๗ ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด
๐๙:๓๗ CPANEL APM ร่วมต้อนรับคณะนักธุรกิจชาวกัมพูชา พร้อมนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิต Precast จ.ชลบุรี
๐๘:๒๒ SCGP ทำกำไรไตรมาสแรก 1,725 ล้านบาท เดินหน้ากลยุทธ์สร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
๐๘:๐๑ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยม โชว์หลักสูตรฉุกเฉินการแพทย์
๐๘:๔๗ ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส รุ่นที่ 4 ขยายความรู้ทางการเงินสู่เครือข่ายคนรุ่นใหม่ต่อเนื่อง
๐๘:๕๓ ส่องสัญญาณฟื้นตัว ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 รับผลบวกมาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ - ยอดสั่งสร้าง
๐๘:๕๕ RSP จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห.ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.13 บ./หุ้น กำหนดจ่าย 15 พ.ค. นี้