เกษตรฯ เดินหน้าแผนพัฒนาภาคกลาง หนุนนาแปลงใหญ่ ขยายผล ศพก. และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลาง

จันทร์ ๑๘ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๘:๒๐
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการลงพื้นที่เดินทางไปตรวจราชการ จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของคณะนายกรัฐมนตรี และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่าง 18 - 19 ก.ย. นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอข้อมูล 3ส่วนหลัก คือ "ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง" ผ่านวีดีทัศน์ การยกระดับการปลูกข้าวนาแปลงใหญ่ ศพก. และ โครงการ 9101ฯ และโครงการเปิดน้ำเข้านา - ปล่อยปลาเข้าทุ่ง และ การบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลาง ณ ปตร.บ้านแพน ต.บ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

สำหรับเนื้อหาในวิดิทัศน์ "ทิศทางการพัฒนาภาคกลาง" ของกระทรวงเกษตรฯ ได้สรุปแนวทางการพัฒนาด้านกาเกษตร เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ ของรัฐบาล อาทิ การบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำเพียงพอ และ ลดความเสี่ยง การยึดคืนพื้นที่ ส.ป.ก. พร้อมพัฒนา และจัดสรรให้เกษตรกรที่ยากไร้ ลดความเหลื่อมล้ำ การเสริมสร้าง ศพก. ให้เข้มแข็ง การส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่ การปรับเปลี่ยนการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้/ผลผลิต โครงการ 9101ฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน และ วางรากฐานการพัฒนาภาคการเกษตร เป็นต้น

ขณะที่โรงเรียนชาวนา จ.สุพรรณบุรี ซึ่งทางจังหวัดได้ดำเนินการโรงเรียนชาวนา จ.สุพรรณบุรี ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ภายในศูนย์วิจัย ข้าวสุพรรณบุรี ตั้งแต่ปี 2558 โดยนักเรียนมาจากเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกร ศพก., เกษตรกรแกนนำ, ครูบัญชีอาสา, ผู้ใหญ่บ้าน และ เกษตรกรทั่วไป โดยเน้นการศึกษาระบบนิเวศในแปลงนา ได้แก่ การเก็บตัวอย่างดิน การคัดเมล็ดพันธุ์ การใช้ยาคุมยาฆ่าหญ้า การ ผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา, สารสะเดา/ฮอร์โมนไข่, โรคพืช,การบวนการ GAP และ การวิเคราะห์ต้นทุน - กำไร ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า นาแปลงใหญ่ ลดต้นทุน จาก 5,505 บาท/ไร่ เหลือ 4,405 บาท/ไร่ ศพก. ลดต้นทุน จาก 5,505 บาท/ไร่ เหลือ 4,405 บาท/ไร่ เกษตรกรแกนนำลดต้นทุน เหลือ 2,800 - 3,500 บาท/ไร่ เกษตรกรทั่วไป ลดต้นทุน จาก 5,705 บาท/ไร่ เหลือ 4,546 บาท/ไร่ ขณะที่การเกษตรแบบแปลงใหญ่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีแปลงใหญ่ จำนวน 30 แปลง แบ่งเป็น แปลงข้าว จำนวน 26 แปลง รวมพื้นที่ 42,045 ไร่ เกษตรกร 1,622 ราย แปลงผัก จำนวน 3 แปลง รวมพื้นที่ 532 ไร่ เกษตรกร 164 ราย แปลงปศุสัตว์ (พืชอาหารสัตว์) จำนวน 1 แปลง พื้นที่ 358 ไร่ เกษตรกร 26 ราย ซึ่งในส่วนของการทำนาแปลงข้าวเกษตรกรเริ่มทำการเพาะปลูกตั้งแต่เดือน เม.ย. 60 ตามแผนการปรับระยะเวลาการปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันก่อนน้ำหลาก สามารถใช้ทุ่งเป็นพื้นที่รับน้ำหลากได้ และมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต ตั้งแต่ เดือน ส.ค. - ธ.ค. 60 โดยเป็นพันธุ์ข้าวคุณภาพเหมาะแก่การบริโภค 5 พันธุ์ และ มีผลผลิตข้าวเปลือกรวม 13,955.92 ตัน ดังนี้ 1. ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิต 276.65 ตัน 2. ข้าวปทุมธานี 1 ผลผลิต 3,552.32 ตัน 3. ข้าวชัยนาท 1 ผลผลิต 589.97 ตัน 4. ข้าวพิษณุโลก 2 ผลผลิต 3,309.04 ตัน 5. ข้าว กข. 31 ผลผลิต 6,227.94 ตัน แปลงใหญ่ข้าว ได้มีการทำ MOU ระหว่างประธานแปลงใหญ่กับผู้ประกอบโรงสี ซึ่งหลังจากเก็บ เกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรขายผลผลิตให้กับโรงสีที่ทำ MOU และ โรงสีในพื้นที่ใกล้เคียง

สำหรับการบริหารจัดการน้ำภาคกลาง ในปี 2557 – 2560 มีการดำเนินการรวม 238 โครงการ แบ่งเป็น การแก้ปัญหาน้ำแล้ง 193 โครงการ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 297,751 ไร่ เพิ่มน้ำ 125 ล้าน ลบ.ม. แก้ปัญหาน้าท่วม 45 โครงการ บรรเทาพื้นที่น้ำท่วม 400,000 ไร่ ซึ่งแผนการดำเนินการต่อไป มีเป้าหมายในการลดพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2554 จะลดได้ 1.70 - 5.04 ล้านไร่ โดยตัดยอดน้ำหลากหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ได้เพิ่มขึ้น 880 ลบ.ม./วินาที เพิ่มการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีนลงสู่ทะเลได้ 600 - 650 ลบ.ม./วินาที เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา 1200 ลบ.ม./วินาที เก็บกักน้ำหลาก ไว้ในคลองขุดใหม่ได้รวม 200 ล้าน ลบ.ม. และ ในพื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูแล้ง - โครงการที่สำคัญ โครงการบรรเทาอุทกภัยเจ้าพระยาตอนล่าง โครงการแก้ปัญหาพื้นที่แห้งรอยต่อสุพรรณบุรี - กาญจนบุรี - โครงการบรรเทาอุทกภัยเพชรบุรี และ โครงการบรรเทาอุทกภัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ขณะที่โครงการเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2561 - 2562 จำนวน 104 โครงการ เป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 500 ไร่ และ บรรเทาพื้นที่น้ำท่วม 2.5 ล้านไร่ งบประมาณ 37,645 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2561 จำนวน 5,354 ล้านบาท อาทิ การปรับปรุงคลองระพีพัฒน์ และ โครงข่ายระบบชลประทาน การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบรรเทาอุทกภัยบางสะพาน การแก้ไขปัญหาพื้นที่แห้งแล้งรอยต่อจังหวัดสุพรรณบุรี - จังหวัดกาญจนบุรี (ฝาย) การปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำสู่แก้มลิงคลองมหาชัย - คลองสนามชัย/แม่น้ำท่า จีน (สถานีสูบน้ำ/เสริมคัน โครงการคลองน้ำหลากบางบาล - บางไทร และ ปตร.คลองบางหลวง เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา