กลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง (Medium -Term Debt Management Strategy : MTDS) และแนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ

ศุกร์ ๒๙ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๑:๔๙
1. เป้าหมายในการบริหารหนี้ระยะกลาง (MTDS Target) ปีงบประมาณ 2561 –2565

คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้เห็นชอบกลยุทธ์การบริหารหนี้ระยะกลางโดยกำหนดเป้าหมายสัดส่วนหนี้(Target Debt Composition) ระยะกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ 2561-2565) และตัวชี้วัด 1 ปี (ปีงบประมาณ 2561)เพื่อใช้ในการกำกับการกู้เงินและบริหารหนี้สาธารณะให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถระดมทุนได้ครบเต็มจำนวน มีต้นทุนการกู้เงินต่ำในระยะยาวและอยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและเพื่อเป็นการควบคุมตัวชี้วัดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ รายละเอียดปรากฏตามตารางข้างล่าง ดังนี้

ตารางเป้าหมายในการบริหารหนี้ระยะกลางสำหรับปีงบประมาณ 2561-2565และตัวชี้วัดความเสี่ยงของหนี้รัฐบาลประจำปี2561

ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด 5 ปี(MTDS) ตัวชี้วัด 1 ปี

(ปีงบประมาณ2561-2565) (ปีงบประมาณ2561)

ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน • ปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อสภาวะตลาดเอื้ออำนวย

(Foreign Exchange Risk) • การกู้ใหม่ควรปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทันที

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย(Interest Rate Risk) • คงสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ85ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่

• คงสัดส่วนหนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย(Debt re-fixing)ใน 1 ปีให้อยู่ในกรอบร้อยละ18 -24 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ85ของหนี้ทั้งหมด

ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย(Debt re-fixing)ใน 1 ปีให้อยู่ในกรอบร้อยละ15– 20

ของหนี้ทั้งหมด

ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้(Refinancing Risk) • ขยายอายุเฉลี่ยของหนี้(Average time to maturity)ของหนี้รัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 14 ปี • ขยายอายุเฉลี่ยของหนี้(Average time to maturity)ของหนี้รัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 12 ปี

• คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ10-14 ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ8 -12 ของหนี้ทั้งหมด

• คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 3 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ25-30 ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 3 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ30 -35 ของหนี้ทั้งหมด

Inflation-Linked Bond (ILB) • คงสัดส่วนไม่เกินร้อยละ5 ของหนี้ทั้งหมด

2. แนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ (SOEs Debt Management Strategy)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจเพื่อประโยชน์ในการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจให้มีแนวทางการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรกำหนดแนวทางการบริหารหนี้รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset-Liability Management: ALM) โดยบริหารกระแสเงินสดจากสินทรัพย์และหนี้สินให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านหนี้ของรัฐวิสาหกิจอาจส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งรวมถึงภาระในการชำระหนี้แทนและการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจ การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมจะช่วยลดความผันผวนของภาระหนี้และลดความเสี่ยงต่อภาระทางการคลังของรัฐบาลได้ รัฐวิสาหกิจแต่ละรายจึงควรมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

• กรณีรัฐวิสาหกิจมีรายได้เป็นเงินบาทและไม่มีสินทรัพย์หรือรายได้อื่นๆ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้รัฐวิสาหกิจเร่งปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้ต่างประเทศ (โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆเช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) การซื้อเงินตราต่างประเทศและฝากไว้ในบัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign currency deposit: FCD) หรือการแปลงหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นหนี้สกุลเงินบาท (Cross currency swap)) และหากมีการก่อหนี้ใหม่ในสกุลเงินต่างประเทศ ควรดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทันที

• กรณีรัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์หรือรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจควรบริหารสัดส่วนสกุลเงินของรายได้และรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกัน (Natural Hedge) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

• รัฐวิสาหกิจควรบริหารสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต้นทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด

• รัฐวิสาหกิจควรประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยต่อภาระหนี้ในแต่ละปี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือกู้เงินให้เหมาะสม

ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้

• รัฐวิสาหกิจควรพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือกู้เงินให้สอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุนของโครงการ เช่น การลงทุนในโครงการระยะยาว ควรใช้เงินกู้ที่มีระยะเวลาสอดคล้องกัน

• รัฐวิสาหกิจควรกระจายภาระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในแต่ละปีไม่ให้กระจุกตัวมากจนเกินไป โดยเฉพาะหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะ 1-3 ปี เพื่อลดความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้และควรคำนึงถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจตามสภาวะตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา