ก.เกษตรฯ ลงพื้นที่ขอนแก่น ผลักดันจับคู่ซื้อขายข้าว

จันทร์ ๐๙ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๑๘
รมช.กษ. ติดตามการดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร พร้อมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการของจังหวัดขอนแก่น

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร ณ จ.ขอนแก่น ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร ทำให้มีกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก การลงพื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงการซื้อขายผลผลิตข้าวอินทรีย์จากโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าว GAP จากโครงการยาแปลงใหญ่ โดยนำเกษตรกรและผู้ประกอบการมาพูดคุยทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของการซื้อขายข้าวในโครงการเชื่อมโยงตลาดฯ อาทิ ชนิดข้าว ปริมาณผลผลิต จุดซื้อขาย เป็นต้น

หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยทำความเข้าใจกันแล้ว ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายผลผลิตข้าว (MOU) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร โดยแบ่งจุดลงนามออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โนนพริก ต.โคกสง่า อ.พล จ.ขอนแก่น ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรจากอำเภอพล อำเภอแวงใหญ่ และอำเภอโนนศิลา และ 2) สหกรณ์เครดิตยูเนียนหนองสองห้อง จำกัด ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรจากอำเภอหนองสองห้อง อำเภอบ้านฝาง อำเภอชุมแพ อำเภอพระยืน อำเภอหนองเรือ อำเภอสีชมพู อำเภอเมือง อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอซำสูง โดยมีผู้ประกอบการค้าข้าวร่วมลงนาม จำนวน 8 ราย กลุ่มเกษตรกรโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 48 กลุ่ม และกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ จำนวน 2 กลุ่ม โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ครั้งนี้

สำหรับผู้ประกอบการค้าข้าวที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้ สามารถขอให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี โดยมีระยะเวลาได้รับการชดเชยดอกเบี้ย คือ 1) ผู้ประกอบการค้าข้าวอินทรีย์ ได้รับการชดเชยดอกเบี้ย ในระยะเวลา 3 ปี และ 2) ผู้ประกอบการค้าข้าว GAP ได้รับการชดเชยดอกเบี้ย ในระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้สำหรับผู้ประกอบการที่รับซื้อข้าวอินทรีย์ จะได้รับการจัดสรรโควตาส่งออกไป EU จากกรมการค้าต่างประเทศตามสัดส่วนของพื้นที่ที่ผู้ประกอบการรับซื้อข้าวจากเกษตรกร

สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็ได้ประโยชน์จากโครงการนี้เช่นกัน ที่จะมีผู้ซื้อรองรับแน่นอน โดยสามารถขายข้าวได้ในราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป อย่างน้อย 300 - 500 บาท แล้วแต่ชนิดข้าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าว

เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร หรือผู้ประกอบการที่สนใจรับซื้อผลผลิตคุณภาพจากกลุ่มเกษตรกร สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด หน่วยงานของกรมการข้าวในพื้นที่ หรือโทรสายด่วนหมอข้าว 1170 กด 4

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest