ไขมุมภาคเกษตร กับบัตรคนจน จากนโยบายสู่การปฏิบัติ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

พฤหัส ๑๒ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๓
ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29สิงหาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้กับผู้มาลงทะเบียนรายได้น้อยที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดแล้ว โดยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการลดค่าใช้จ่ายการดำรงชีพ และส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม วงเงินทั้งหมดหากประชาชนใช้ไม่หมดจะถูกตัดยอดทันทีไม่มีการสะสมในเดือนถัดไปและถึงรอบวันที่ 1ของทุกเดือน วงเงินจะถูกปรับเป็นค่าเริ่มต้นของวงเงินแต่ละสวัสดิการเสมอขณะที่มาตรการค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้มาตรการที่เคยดำเนินการมาไปพลางก่อน โดยการจัดประชารัฐสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นการดำเนินการตามแนวนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยกำหนดให้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนที่จำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งได้เห็นชอบให้บรรจุกรอบวงเงินเพื่อการดำเนินการดังกล่าวไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (รายการกองทุนประชารัฐ เพื่อเศรษฐกิจฐานราก) ไว้เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 46,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 กระทรวงการคลังได้สรุปข้อมูลยอดผู้ลงทะเบียนมีทั้งสิ้น 14,176,170 คน โดยมีจำนวนผู้ลงทะเบียนที่ผ่านหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 11,431,681 คน แบ่งเป็นผู้ลงทะเบียนที่มีอาชีพเกษตรกร จำนวน3,322,214 คน ไม่ใช่เกษตรกร จำนวน 8,109,467 คน

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวภายใต้สมมติฐานที่ว่าในปีงบประมาณ 2561 (ต.ค. 60 - ก.ย. 61) ผู้ผ่านสิทธิ์ 11.43 ล้านคน มีการใช้จ่ายเต็มวงเงินงบประมาณในหมวดที่ 1

การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ส่วนที่เหลือเป็นงบประมาณการใช้จ่ายในหมวดที่ 2 การลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ภาพรวม พบว่า มีผู้ผ่านสิทธิ์ 11.43 ล้านคน ใช้งบประมาณ 46,000 ล้านบาท จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ประมาณ 118,077.82 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาผลกระทบในภาคเกษตร พบว่า มีเกษตรกร 3.32 ล้านคน ใช้งบประมาณ 13,368.59 ล้านบาท จะทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาคเกษตร 21,215.50 ล้านบาท แบ่งเป็น มูลค่าในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 21,134.27 ล้านบาท รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง คิดเป็นมูลค่า 70.73 ล้านบาท และส่วนลดในการซื้อก๊าซหุงต้ม คิดเป็นมูลค่า 10.50 ล้านบาท ตามลำดับ

มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการใช้สวัสดิการแห่งรัฐปี 2560

สวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 งบประมาณ (ล้านบาท) มูลค่า (ล้านบาท)

ภาคเกษตร นอกภาคเกษตร รวม ภาคเกษตร นอกภาคเกษตร รวม

หมวดที่ 1 ส่วนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

- ส่วนลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 10,687.33 26,735.59 37,422.92 21,134.27 75,156.83 96,291.10

- ส่วนลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม 598.00 1,459.70 2,057.70 10.50 3,849.72 3,860.22

หมวดที่ 2 ส่วนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

- ส่วนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 2,083.26 4,436.12 6,519.38 70.73 17,855.77 17,926.50

รวม 13,368.59 32,631.41 46,000.00 21,215.50 96,862.32 118,077.82

ที่มา: จากการคำนวณ โดยศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร

หากพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาคการเกษตรรายสาขา พบว่า สาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ สาขาการทำนา คิดเป็นมูลค่า 8,542.02 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาการเลี้ยงสัตว์ปีก คิดเป็นมูลค่า 2,753.76 ล้านบาท สาขาการเลี้ยงสุกร คิดเป็นมูลค่า 2,270.93 ล้านบาท สาขาการทำไร่พืชตระกูลถั่ว คิดเป็นมูลค่า 1,235.53 ล้านบาท และสาขาการปศุสัตว์ คิดเป็นมูลค่า 1,177.83 ล้านบาท

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พบว่า ในภาคการเกษตร ภาครัฐควรเน้นการแก้ปัญหาไปที่การพัฒนาความรู้ทักษะการประกอบอาชีพที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการบัตรสวัสดิการอาจเป็นการสร้างภาระให้กับภาครัฐในการบริหารงบประมาณจำนวนมหาศาล ดังนั้น ในระยะต่อไปควรปรับแนวคิดจาก "Welfare" ให้เป็น "Workfare" เพิ่มมากขึ้น เน้นให้ผู้เดือดร้อนที่ยังพอมีศักยภาพอยู่สามารถพัฒนาตนเองให้พึ่งตนเองได้ หรือกลับเข้าไปแข่งขันในตลาดแรงงานได้อย่างสมบูรณ์ ควรเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบข้อมูลอย่างเข้มงวด รวมไปถึงการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่แจ้งข้อมูลเท็จโดยเฉพาะกลุ่มคนในระบบภาษี ทั้งนี้ ในอนาคตควรสร้างความหลากหลายในการบริการสวัสดิการเพื่อรองรับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยต้องหาความต้องการที่แท้จริงในแต่ละกลุ่มเป้าหมายก่อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๓ เซ็นทารา เปิดตัว โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง
๑๐:๐๙ THE GAIN ยกขบวนวิทยากรระดับประเทศ มุ่งสู่งานสัมมนา การเทรดและลงทุนปี 2024
๑๐:๒๗ W เผย IFA หนุนเพิ่มทุน 2.5 พันล้านหุ้นขาย PP รับแผนเข้าถือหุ้นฟรุตต้าฯ 51% พร้อมปลดล็อก CBC
๑๐:๓๐ ผถห.TFG โหวตหนุนแจก TFG-W4 ฟรี! อัตรา 10 : 1 ราคาใช้สิทธิ 3.80 บ.พร้อมจ่ายปันผลเงินสด 0.01 บ./หุ้น ปักธงปี 67 รายได้โต 10%
๑๐:๑๙ ASIA เตรียมขายหุ้นกู้มีหลักประกัน มูลค่า 300 ลบ. อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7 - 7.20% มูลค่าหลักประกันเฉียด 1,600 ลบ. คาดเปิดจองซื้อวันที่ 27 - 29 พ.ค.
๑๐:๓๘ ไมเนอร์ โฮเทลส์ ประกาศรวมอัตลักษณ์องค์กรในระดับโลก ด้วยการรีแบรนด์ เอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป เป็น ไมเนอร์ โฮเทลส์ ยุโรป แอนด์
๑๐:๕๔ ยูนิโคล่ร่วมกับมารีเมกโกะ เปิดตัว UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน 2024 เติมเต็มความสดใสให้ซัมเมอร์ ในธีม Joyful Summer
๑๐:๔๒ TERA ฟอร์มเจ๋ง! เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 122.86% ลุยให้บริการ T.Cloud รับอนาคตธุรกิจคึกคัก ปักหมุดผลงาน 3 ปีเติบโตเฉลี่ยเกิน
๑๐:๐๙ โบรกฯ แสกน GFC ส่งซิก Q1/67 พุ่ง
๑๐:๐๐ ผถห. WINMED ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.0295 บ./หุ้น-รับเงิน 21 พ.ค.นี้ รุกตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มรายได้ประจำผถห. ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โตเกิน 20%